สธ.เผยเดือนเมษายนมีสถิติจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ยอด 5 ปีตั้งแต่ 2551-2555 รวม 2,208 คน เฉพาะ 12-16 เมษายน พบ 527 คน แหล่งน้ำที่พบบ่อยคือ สระน้ำ หนองน้ำ คลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ ชี้สาเหตุตายมากส่วนหนึ่งเกิดจากการช่วยเหลือผิดวิธี ย้ำผู้ปกครองอย่าวางใจเด็กที่ใส่ห่วงยางเป่าลม หรือปลอกแขนเป่าลม เสี่ยงเกิดอันตรายแก่เด็กได้ เพราะเป็นของเล่น ไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยชีวิต และอย่าปล่อยเด็กเล่นน้ำตามลำพัง ไม่ควรดื่มเหล้าก่อนหรือระหว่างลงเล่นน้ำ แนะวิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ ทำ 3 อย่าง ตะโกน โยน ยื่น
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนมาก ประชาชนนิยมเล่นน้ำคลายร้อน ทำให้มีสถิติผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุด ข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2551-2555 พบว่าเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำรวม 2,208 คน โดย 2 ใน 3 อายุ 15 ปีขึ้นไป และอีก 1 ใน 3 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ 12-16 เมษายน มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 527 คน ข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายน 2555 มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 450 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 130 คน เฉพาะช่วงสงกรานต์ 12-16 เมษายน มีผู้เสียชีวิต 107 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 26 คน แค่วันที่ 13 เมษายนวันเดียวมีเด็กเสียชีวิตถึง 9 ราย สูงกว่าวันปกติ 3 เท่าตัว
แหล่งน้ำที่มีผู้จมน้ำเสียชีวิตสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ สระน้ำ หนองน้ำ รองลงมาคือคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ ส่วนใหญ่เกิดในภาคอีสาน เช่น ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี แหล่งน้ำที่เกิดเหตุมากที่สุดในกลุ่มเด็ก คือคลองชลประทาน และอ่างเก็บน้ำ ดังนั้น ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำกันเองตามลำพัง แม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใกล้บ้านหรือแหล่งน้ำที่คุ้นเคย กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดประชาสัมพันธ์เตือนผู้ปกครอง และเตรียมทีมแพทย์ให้การช่วยเหลือ หากพบเห็นผู้จมน้ำสามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 ตลอดเวลา
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้จมน้ำเสียชีวิตมาก ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการช่วยเหลือเบื้องต้นผิดวิธี ประชาชนมักช่วยเหลือผู้จมน้ำโดยการอุ้มพาดบ่าให้ศีรษะต่ำ เพราะเข้าใจว่าจะช่วยให้น้ำไหลออกจากปอด ซึ่งการอุ้มผู้จมน้ำในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้จมน้ำขาดอากาศหายใจนานขึ้น ฉะนั้นในการช่วยคนจมน้ำที่ถูกวิธี ควรรีบเป่าปากและนวดหัวใจ หากคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจทันที ถ้าพบว่ายังหายใจเองได้หรือหายใจเองได้แล้ว ให้จับผู้จมน้ำให้นอนตะแคง ศีรษะหงายไปข้างหลังเพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยให้ความอบอุ่น งดน้ำและอาหาร และรีบส่งผู้ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นแต่ต้องการลงเล่นน้ำคลายร้อน ควรสวมเสื้อชูชีพตลอดเวลา ไม่ควรดื่มสุราก่อนหรือขณะลงเล่นน้ำ อาจเกิดตะคริวจากความเย็นของน้ำ หรือเมาจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นน้ำเช่น ห่วงยางเป่าลม ปลอกแขนเป่าลม เป็นของเล่นไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยชีวิตทางน้ำ และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กได้ อย่าปล่อยให้เด็กๆเล่นน้ำตามลำพัง ต้องอยู่ในสายตาผู้ปกครอง อย่าให้เด็กยืนใกล้ขอบบ่อหรือขอบสระ เพราะอาจลื่นพลัดตกลงน้ำได้
ทั้งนี้ เมื่อพบคนตกน้ำต้องไม่กระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจะถูกกอดรัดและจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกัน ควรหาอุปกรณ์ช่วยและหาคนมาช่วย จำง่ายๆ 3 ประการ ตะโกน โยน ยื่น โดย 1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนมาช่วย และโทร.แจ้ง 1669 2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำ เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ โดยโยนครั้งละหลายๆ ชิ้น 3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ ผ้าขาวม้าให้คนตกน้ำจับพยุงตัวขึ้นมาจากน้ำ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนมาก ประชาชนนิยมเล่นน้ำคลายร้อน ทำให้มีสถิติผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุด ข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2551-2555 พบว่าเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำรวม 2,208 คน โดย 2 ใน 3 อายุ 15 ปีขึ้นไป และอีก 1 ใน 3 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ 12-16 เมษายน มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 527 คน ข้อมูลล่าสุดในเดือนเมษายน 2555 มีผู้จมน้ำเสียชีวิต 450 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 130 คน เฉพาะช่วงสงกรานต์ 12-16 เมษายน มีผู้เสียชีวิต 107 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 26 คน แค่วันที่ 13 เมษายนวันเดียวมีเด็กเสียชีวิตถึง 9 ราย สูงกว่าวันปกติ 3 เท่าตัว
แหล่งน้ำที่มีผู้จมน้ำเสียชีวิตสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ สระน้ำ หนองน้ำ รองลงมาคือคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ ส่วนใหญ่เกิดในภาคอีสาน เช่น ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี แหล่งน้ำที่เกิดเหตุมากที่สุดในกลุ่มเด็ก คือคลองชลประทาน และอ่างเก็บน้ำ ดังนั้น ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำกันเองตามลำพัง แม้ว่าจะเป็นแหล่งน้ำใกล้บ้านหรือแหล่งน้ำที่คุ้นเคย กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดประชาสัมพันธ์เตือนผู้ปกครอง และเตรียมทีมแพทย์ให้การช่วยเหลือ หากพบเห็นผู้จมน้ำสามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 ตลอดเวลา
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้มีผู้จมน้ำเสียชีวิตมาก ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการช่วยเหลือเบื้องต้นผิดวิธี ประชาชนมักช่วยเหลือผู้จมน้ำโดยการอุ้มพาดบ่าให้ศีรษะต่ำ เพราะเข้าใจว่าจะช่วยให้น้ำไหลออกจากปอด ซึ่งการอุ้มผู้จมน้ำในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้จมน้ำขาดอากาศหายใจนานขึ้น ฉะนั้นในการช่วยคนจมน้ำที่ถูกวิธี ควรรีบเป่าปากและนวดหัวใจ หากคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจทันที ถ้าพบว่ายังหายใจเองได้หรือหายใจเองได้แล้ว ให้จับผู้จมน้ำให้นอนตะแคง ศีรษะหงายไปข้างหลังเพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยให้ความอบอุ่น งดน้ำและอาหาร และรีบส่งผู้ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นแต่ต้องการลงเล่นน้ำคลายร้อน ควรสวมเสื้อชูชีพตลอดเวลา ไม่ควรดื่มสุราก่อนหรือขณะลงเล่นน้ำ อาจเกิดตะคริวจากความเย็นของน้ำ หรือเมาจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นน้ำเช่น ห่วงยางเป่าลม ปลอกแขนเป่าลม เป็นของเล่นไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยชีวิตทางน้ำ และอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กได้ อย่าปล่อยให้เด็กๆเล่นน้ำตามลำพัง ต้องอยู่ในสายตาผู้ปกครอง อย่าให้เด็กยืนใกล้ขอบบ่อหรือขอบสระ เพราะอาจลื่นพลัดตกลงน้ำได้
ทั้งนี้ เมื่อพบคนตกน้ำต้องไม่กระโดดลงไปช่วย เพราะอาจจะถูกกอดรัดและจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกัน ควรหาอุปกรณ์ช่วยและหาคนมาช่วย จำง่ายๆ 3 ประการ ตะโกน โยน ยื่น โดย 1. ตะโกน คือ การเรียกให้คนมาช่วย และโทร.แจ้ง 1669 2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำ เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ โดยโยนครั้งละหลายๆ ชิ้น 3. ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ ผ้าขาวม้าให้คนตกน้ำจับพยุงตัวขึ้นมาจากน้ำ