ยอดป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิ์ 1 ปี พบข้าราชการเข้ารับบริการสูงสุด ส่วนใหญ่มาด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สปสช.เผยจ่ายชดเชยแล้ว 296 ล้านบาท ลั่นอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์ หากเกิดเหตุฉุกเฉินถึงชีวิตเข้าได้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ไม่ต้องสำรองจ่าย
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงาน 1 ปี นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ์ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว 3 กองทุน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 - 31 มี.ค. 2556 พบมีผู้ป่วยเข้าถึงบริการ 22,836 ราย จาก รพ.เอกชน 241 แห่ง เป็นสิทธิข้าราชการสูงสุด 12,054 ราย หรือร้อยละ 52.78 สิทธิหลักประกันสุขภาพ 9,252 ราย หรือร้อยละ 40.51 สิทธิประกันสังคม 1,480 ราย หรือร้อยละ 6.48 และสิทธิอื่นๆ เช่น สิทธิข้าราชการท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ ผู้มีปัญหาสถานะสิทธิ 50 ราย หรือร้อยละ 0.3 เมื่อพิจารณาแนวโน้มของสิทธิพบว่า สิทธิข้าราชการมีแนวโน้มเข้ารับบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า อาการหรือโรคที่เข้ารับบริการส่วนใหญ่คือ หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ติดเชื้อในกระแสเลือด หัวใจหยุดเต้น มีเลือดออกในสมอง เป็นต้น พื้นที่ที่ให้บริการสูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร 9,647 ราย หรือร้อยละ 42.24 โดยที่ สปสช.ทำหน้าที่เป็นหน่วยชำระเงินกลางแทน 3 กองทุน จ่ายเงินชดเชยแล้วจำนวน 16,928 ราย เป็นเงิน 296 ล้านบาท ที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการ
“สำหรับในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งมีการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก เมื่อประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ โดยแต่ละโรงพยาบาลที่ให้การรักษาให้เบิกจ่ายมายัง สปสช.ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นศูนย์กลาง ได้รับบริการเพื่อช่วยชีวิตและลดความพิการ โดยไม่ต้องถามสิทธิ์ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ เน้นในกลุ่มที่ผู้ป่วยวิกฤตคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติและเร่งด่วน เน้นบริการฉุกเฉินที่ รพ.เอกชนนอกระบบ 3 กองทุนสุขภาพ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สปสช.1330 หรือ สายด่วน 1669 ได้ทั่วประเทศ” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผลการดำเนินงาน 1 ปี นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ์ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว 3 กองทุน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2555 - 31 มี.ค. 2556 พบมีผู้ป่วยเข้าถึงบริการ 22,836 ราย จาก รพ.เอกชน 241 แห่ง เป็นสิทธิข้าราชการสูงสุด 12,054 ราย หรือร้อยละ 52.78 สิทธิหลักประกันสุขภาพ 9,252 ราย หรือร้อยละ 40.51 สิทธิประกันสังคม 1,480 ราย หรือร้อยละ 6.48 และสิทธิอื่นๆ เช่น สิทธิข้าราชการท้องถิ่น/รัฐวิสาหกิจ ผู้มีปัญหาสถานะสิทธิ 50 ราย หรือร้อยละ 0.3 เมื่อพิจารณาแนวโน้มของสิทธิพบว่า สิทธิข้าราชการมีแนวโน้มเข้ารับบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า อาการหรือโรคที่เข้ารับบริการส่วนใหญ่คือ หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ติดเชื้อในกระแสเลือด หัวใจหยุดเต้น มีเลือดออกในสมอง เป็นต้น พื้นที่ที่ให้บริการสูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร 9,647 ราย หรือร้อยละ 42.24 โดยที่ สปสช.ทำหน้าที่เป็นหน่วยชำระเงินกลางแทน 3 กองทุน จ่ายเงินชดเชยแล้วจำนวน 16,928 ราย เป็นเงิน 296 ล้านบาท ที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการ
“สำหรับในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์ ซึ่งมีการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก เมื่อประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ โดยแต่ละโรงพยาบาลที่ให้การรักษาให้เบิกจ่ายมายัง สปสช.ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นศูนย์กลาง ได้รับบริการเพื่อช่วยชีวิตและลดความพิการ โดยไม่ต้องถามสิทธิ์ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ เน้นในกลุ่มที่ผู้ป่วยวิกฤตคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติและเร่งด่วน เน้นบริการฉุกเฉินที่ รพ.เอกชนนอกระบบ 3 กองทุนสุขภาพ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สปสช.1330 หรือ สายด่วน 1669 ได้ทั่วประเทศ” เลขาธิการ สปสช.กล่าว