แพทย์ชนบทเผย มีหมอลาออกมากขึ้นจากการจ่ายค่าตอบแทนแบบ P4P พ้อ นายกฯปูไม่สงสารรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงหรือ ระบุแพทย์เฉพาะทาง รพ.บางบัวทอง ยื่นใบลาออกแล้วอีก 3 คน
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่ามีแพทย์เฉพาะทางของโรงพยาบาลบางบัวทอง ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปรับลดเป็นพื้นที่เขตเมืองที่เจริญจนได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าโรงพยาบาลทั่วไป เช่น รพ.เกาะสมุย ทั้งที่เป็นแค่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ทั้งที่ สธ.ไม่ได้สนับสนุนเครื่องมือและงบประมาณ ทำให้การทำงานไม่ได้สะดวกเหมือนโรงพยาบาลจังหวัดหรือเอกชน ขนาดเตียงก็เป็นเพียงแค่ 45 เตียงเท่านั้น แต่ สธ.พยายามจะสื่อกับสังคมว่า โรงพยาบาลเหล่านี้เป็นกลุ่มที่เอาเปรียบรพ.จังหวัดหรือกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่สภาพของสถานที่ทำงานไม่ได้เจริญ จนเป็นแหล่งที่มีคนอยากมาทำงานมากอย่างที่พยายามพูด
“สัปดาห์ที่ผ่านมา สธ.พยายามสื่อให้เห็นว่า รพ.ในเขตเมือง เช่น บางบัวทอง เป็นเหมือนจำเลยสังคม จนต้องนำเหตุผลนี้มาปรับลด ตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ทั้งที่เป็นเครื่องมือในการรั้งบุคลากรในสาขาขาดแคลนให้อยากมาทำงานมากขึ้น อย่างแพทย์ศัลยกรรมกระดูกท่านหนึ่งที่ขอบรรจุกลับจากภาคเอกชนเพื่อมาทำงานที่ รพ.บางบัวทอง เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา ล่าสุด วันนี้ได้ยื่นใบลาออกแล้วเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2556 ให้มีผล 1 มิ.ย. 2556ไปอยู่ รพ.เอกชนแล้ว" ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีแพทย์แผนก หู คอ จมูก ซึ่งย้ายจาก รพ.เกาะสมุย มาไม่นานก็ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2556 มีผล 1 เม.ย. 2556 ขณะที่แพทย์บางรายซึ่งพึ่งจบมาเป็นทุน รพ.บางบัวทองก็ตัดสินใจลาออกเพื่อไปศึกษาเพิ่มเติม และเมื่อจบกลับมาจะได้อยู่ รพ.เอกชนต่อไป
“ทั้งหมดนี้เป็นแพทย์ที่เพิ่งแสดงความจำนง ไม่ใช่ภาวะปกติเหมือนที่ สธ.พยายามปัดความรับผิดชอบ จากการเสนอนโยบายที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง รู้สึกสงสารประชาชน ที่จะขาดแพทย์เฉพาะทางดูแลในพื้นที่ใกล้บ้าน อยากถามว่านายกฯ ไม่ห่วงและสงสารประชาชนในชนบทที่เป็นฐานเสียง เลือกตั้งมาจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเลยหรืออย่างไร ยิ่งตัดสินใจช้าชาวบ้านจะพิการและล้มตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่ามีแพทย์เฉพาะทางของโรงพยาบาลบางบัวทอง ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปรับลดเป็นพื้นที่เขตเมืองที่เจริญจนได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าโรงพยาบาลทั่วไป เช่น รพ.เกาะสมุย ทั้งที่เป็นแค่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ทั้งที่ สธ.ไม่ได้สนับสนุนเครื่องมือและงบประมาณ ทำให้การทำงานไม่ได้สะดวกเหมือนโรงพยาบาลจังหวัดหรือเอกชน ขนาดเตียงก็เป็นเพียงแค่ 45 เตียงเท่านั้น แต่ สธ.พยายามจะสื่อกับสังคมว่า โรงพยาบาลเหล่านี้เป็นกลุ่มที่เอาเปรียบรพ.จังหวัดหรือกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่สภาพของสถานที่ทำงานไม่ได้เจริญ จนเป็นแหล่งที่มีคนอยากมาทำงานมากอย่างที่พยายามพูด
“สัปดาห์ที่ผ่านมา สธ.พยายามสื่อให้เห็นว่า รพ.ในเขตเมือง เช่น บางบัวทอง เป็นเหมือนจำเลยสังคม จนต้องนำเหตุผลนี้มาปรับลด ตัดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ทั้งที่เป็นเครื่องมือในการรั้งบุคลากรในสาขาขาดแคลนให้อยากมาทำงานมากขึ้น อย่างแพทย์ศัลยกรรมกระดูกท่านหนึ่งที่ขอบรรจุกลับจากภาคเอกชนเพื่อมาทำงานที่ รพ.บางบัวทอง เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา ล่าสุด วันนี้ได้ยื่นใบลาออกแล้วเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2556 ให้มีผล 1 มิ.ย. 2556ไปอยู่ รพ.เอกชนแล้ว" ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีแพทย์แผนก หู คอ จมูก ซึ่งย้ายจาก รพ.เกาะสมุย มาไม่นานก็ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2556 มีผล 1 เม.ย. 2556 ขณะที่แพทย์บางรายซึ่งพึ่งจบมาเป็นทุน รพ.บางบัวทองก็ตัดสินใจลาออกเพื่อไปศึกษาเพิ่มเติม และเมื่อจบกลับมาจะได้อยู่ รพ.เอกชนต่อไป
“ทั้งหมดนี้เป็นแพทย์ที่เพิ่งแสดงความจำนง ไม่ใช่ภาวะปกติเหมือนที่ สธ.พยายามปัดความรับผิดชอบ จากการเสนอนโยบายที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง รู้สึกสงสารประชาชน ที่จะขาดแพทย์เฉพาะทางดูแลในพื้นที่ใกล้บ้าน อยากถามว่านายกฯ ไม่ห่วงและสงสารประชาชนในชนบทที่เป็นฐานเสียง เลือกตั้งมาจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเลยหรืออย่างไร ยิ่งตัดสินใจช้าชาวบ้านจะพิการและล้มตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว