เครือข่ายงดเหล้า หนุน “ปู พงษ์สิทธิ์” สร้างบรรทัดฐานคอนเสิร์ตปลอดเหล้า ลดการเมาคึกคะนองจนก่อเหตุอาชญากรรม ทะเลาะวิวาท ชี้การเป็นสปอนเซอร์จัดงานต้องทำตามกฎหมาย แนะศิลปินและผู้จัดงานเปลี่ยนแนวคิด ไม่เมาก็มันได้
วันนี้ (30 มี.ค.) นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวถึงกรณีที่นายพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ หรือปู นักร้องเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง เตรียมจัดเวทีแสดงคอนเสิร์ตใหญ่โดยประกาศว่าภายในงานจะไม่มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด ว่า การที่ศิลปินและผู้จัดงานออกมายืนยันเจตนาจะคุมเข้มไม่ให้มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในงาน ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันความปลอดภัย ป้องกันปัญหาชกต่อยทะเลาะวิวาท อาชญากรรม ทำให้ผู้เข้าชมงานเกิดความสบายใจต่อชีวิตและทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม หากดูจากบทเรียนครั้งที่ผ่านมาพบว่าในงานคอนเสิร์ตมีทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตเพราะเมาแล้วเกิดความคึกคะนอง และกลับกันจากบทเรียนหลายพื้นที่ เมื่อเปลี่ยนมาเป็นงานปลอดเหล้าปัญหาทุกอย่างลดลง เช่น งานช้างสุรินทร์ ซึ่งมีดนตรีแนวร็อก มีคนเสียชีวิตแทบทุกปีเพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงาน
นายธีระกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าน้ำเมาเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่างๆ โดยเฉพาะในการจัดงานที่มีคนจำนวนมาก เช่น งานกาชาด งานท่องเที่ยว งานกีฬา และงานดนตรี ซึ่งงานเหล่านี้เป็นเป้าหมายของธุรกิจที่จะสนับสนุนงบประมาณ และถือโอกาสในการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม อีกทั้งยังโฆษณาทางตรงและแฝงซึ่งผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เพราะถูกมองว่าเป็นสินค้าบาปจึงต้องหาทางในการทำการตลาดที่แอบแฝงแบบนี้ แต่ผู้จัดงานหรือศิลปินก็มีทางเลือกน้อยเพราะขาดสปอนเซอร์ที่ยินดีจ่ายไม่อั้นแบบธุรกิจน้ำเมา
“เมื่อศิลปินและผู้จัดงานได้ยอมรับแล้วว่าต้องลดปัจจัยเสี่ยงลงเพื่อควบคุมปัญหา และขอให้เชื่อว่าไม่เมาก็มันได้ โดยเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้ธุรกิจน้ำเมาที่เป็นสปอนเซอร์ ต้องทำตามกฎหมาย หากมีเจตนาในการสร้างสรรค์สังคมที่แท้จริง” นายธีระกล่าว
วันนี้ (30 มี.ค.) นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวถึงกรณีที่นายพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ หรือปู นักร้องเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง เตรียมจัดเวทีแสดงคอนเสิร์ตใหญ่โดยประกาศว่าภายในงานจะไม่มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด ว่า การที่ศิลปินและผู้จัดงานออกมายืนยันเจตนาจะคุมเข้มไม่ให้มีการขายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในงาน ถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันความปลอดภัย ป้องกันปัญหาชกต่อยทะเลาะวิวาท อาชญากรรม ทำให้ผู้เข้าชมงานเกิดความสบายใจต่อชีวิตและทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม หากดูจากบทเรียนครั้งที่ผ่านมาพบว่าในงานคอนเสิร์ตมีทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตเพราะเมาแล้วเกิดความคึกคะนอง และกลับกันจากบทเรียนหลายพื้นที่ เมื่อเปลี่ยนมาเป็นงานปลอดเหล้าปัญหาทุกอย่างลดลง เช่น งานช้างสุรินทร์ ซึ่งมีดนตรีแนวร็อก มีคนเสียชีวิตแทบทุกปีเพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงาน
นายธีระกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าน้ำเมาเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่างๆ โดยเฉพาะในการจัดงานที่มีคนจำนวนมาก เช่น งานกาชาด งานท่องเที่ยว งานกีฬา และงานดนตรี ซึ่งงานเหล่านี้เป็นเป้าหมายของธุรกิจที่จะสนับสนุนงบประมาณ และถือโอกาสในการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจก แถม อีกทั้งยังโฆษณาทางตรงและแฝงซึ่งผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เพราะถูกมองว่าเป็นสินค้าบาปจึงต้องหาทางในการทำการตลาดที่แอบแฝงแบบนี้ แต่ผู้จัดงานหรือศิลปินก็มีทางเลือกน้อยเพราะขาดสปอนเซอร์ที่ยินดีจ่ายไม่อั้นแบบธุรกิจน้ำเมา
“เมื่อศิลปินและผู้จัดงานได้ยอมรับแล้วว่าต้องลดปัจจัยเสี่ยงลงเพื่อควบคุมปัญหา และขอให้เชื่อว่าไม่เมาก็มันได้ โดยเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้ธุรกิจน้ำเมาที่เป็นสปอนเซอร์ ต้องทำตามกฎหมาย หากมีเจตนาในการสร้างสรรค์สังคมที่แท้จริง” นายธีระกล่าว