เปิดงานวิจัยแพทย์ฉุกเฉินขาดแคลนเป็นจำนวนมาก ชี้เกิดสมองไหลเหตุค่าตอบแทนน้อย-งานหนัก พร้อมเผยอัตรากำลังที่เหมาะสมเพื่อให้การทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินมีประสิทธิภาพ
นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวระหว่างการเสวนาในหัวข้อ “แนวโน้มกำลังคนในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” ในจัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปี 2556 (National EMS FORUM 2013) ซึ่ง สพฉ.ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ตอนหนึ่งว่า ใน การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้ได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญใน 3 ด้าน คือ การวางระบบที่ดี อุปกรณ์เครื่องมือที่พร้อม และที่สำคัญที่สุดคือบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ต้องมีอย่างเพียงพอและมีศักยภาพ แต่ปัจจุบันสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกำลังคนในส่วนนี้มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ หรือมีการโอนย้ายเป็นจำนวนมาก ขณะทีแนวโน้มการปฏิบัติการกลับมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในส่วนของแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลห้องฉุกเฉิน ซึ่งในประเด็นนี้ สพฉ.ได้มีการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อหาแนวทางพัฒนาและป้องกัน ซึ่งในเบื้องต้นก็ได้มีการแก้ปัญหาโดยการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ รพ.เอกชน ด้วยเพื่อทดแทนอัตรากำลังคนที่ขาดแคลน
ด้าน ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ นักวิจัยสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ได้นำเสนองานวิจัยเรื่อง “แนวโน้มกำลังคนในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” ว่า จากการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของกำลังคนด้านการแพทย์ฉุกเฉินในระยะเวลา 5 ปี และคาดการณ์กำลังคนรองรับของกำลังคนประเภทต่างๆ โดยศึกษาผ่านพื้นที่ต้นแบบ 6 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นที่ยอมรับ โดยผลการศึกษาในเบื้องต้นในปี 2555 พบว่า แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินมีเพียง 247 คน และในปี 2552 พบว่ามีแพทย์เฉพาะทางเพียงร้อยละ35.45 ที่ปฏิบัติงานในต่างจังหวัด และเมื่อมองในด้านศักยภาพการผลิตของโรงเรียนแพทย์สามารถผลิตแพทย์ได้ปี 100 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเข้าสู่ระบบได้น้อยมาก และในด้านพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินนั้นพบว่ามีความขาดแคลนมาก แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการผลิตบุคลากรให้มารองรับกับตำแหน่งเหล่านี้แล้ว แต่ส่วนหนึ่งไม่ได้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทำให้การปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง โดยพนักงานฉุกเฉินทางการแพทย์ (EMT-B) เหลือเพียง 873คน
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่กำลังคนขาดแคลน อาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ (FR) จึงเป็นกำลังคนที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งบทบาทของสมาคมกู้ชีพกู้ภัย และอาสาสมัครจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่สิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องเผชิญเหมือนกันคือบางแห่งใช้การจ้างงานเฉพาะภารกิจ บางแห่งใช้การบูรณาการเข้ากับงานประจำของงานกู้ภัย จึงทำให้เจอปัญหาความไม่ชัดเจนของการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่ชัดเจนของผู้ตรวจสอบการเงิน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กก็มีความจำกัดในด้านทรัพยากรจึงไม่สามารถเข้าร่วมดำเนินการได้
ดร.นงลักษณ์ กล่าวต่อว่า จากสถิติที่ได้ทำการรวบรวมพบว่าแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 1 คน ต้องปฏิบัติงาน 300ชั่วโมงต่อเดือน และอีก 80 เปอร์เซ็นต์มีงานเสริมอยู่ โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเท่ากับแพทย์ 1 คนจะทำงานมากกว่าข้าราชการ 2.5 เท่า และสิ่งที่เป็นปัญหาที่คือแพทย์หลายคนเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย บางคนย้ายไปทำงานในโรงพยาบาลที่มีความเพียบพร้อมมากกว่า จึงทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์สาขานี้ ทั้งนี้เหตุผลที่แพทย์แจ้งเมื่อต้องการเปลี่ยนงาน ก็คือค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอ โอกาสในการพัฒนาตนเองก็มีน้อย และไม่มีการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ซึ่งตนมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มค่าตอบแทนให้กับแพทย์ฉุกเฉินตามจำนวนของภารกิจที่ปฏิบัติงาน และให้แพทย์มีความเป็นอิสระในการทำงานมากขึ้น
“สำหรับอัตรากำลังคนในส่วนของแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสีแดง จะต้องมีจำนวน 500 คนเป็นอย่างต่ำ และเฉพาะผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินสีแดงและสีเหลืองจะต้องมีจำนวน 300 คน ส่วนแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยทั้งแดง สีเหลือง และสีเขียวจะต้องมีจำนวน400 คน ส่วนพยาบาลห้องฉุกเฉินจะต้องมีจำนวน 1,400-1,500 คน พนักงาน EMT-B จำนวน 2,994 คน จึงจะเพียงพอต่อการให้บริการ” ดร.นงลักษณ์ กล่าว
ด้าน นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ผู้แทนแพทยสภา กล่าวว่า การดำเนินการจัดการในส่วนของการแพทย์ฉุกเฉิน อยากให้ความสำคัญกับศัลยแพทย์ฉุกเฉินด้วย เพราะถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้ แต่กำลังคนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ยังมีน้อยมา โดยกำลังการผลิตในแต่ละปีมีเพียง80 คน เท่านั้น ดังนั้นอยากวิงวอนให้ภาครัฐช่วยกันส่งเสริมและผลิตศัลยแพทย์มารองรับในส่วนนี้ด้วย
นพ.ประจักษวิช เล็บนาค รักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวระหว่างการเสวนาในหัวข้อ “แนวโน้มกำลังคนในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” ในจัดการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ประจำปี 2556 (National EMS FORUM 2013) ซึ่ง สพฉ.ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ตอนหนึ่งว่า ใน การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้ได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญใน 3 ด้าน คือ การวางระบบที่ดี อุปกรณ์เครื่องมือที่พร้อม และที่สำคัญที่สุดคือบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ต้องมีอย่างเพียงพอและมีศักยภาพ แต่ปัจจุบันสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือกำลังคนในส่วนนี้มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ หรือมีการโอนย้ายเป็นจำนวนมาก ขณะทีแนวโน้มการปฏิบัติการกลับมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในส่วนของแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลห้องฉุกเฉิน ซึ่งในประเด็นนี้ สพฉ.ได้มีการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อหาแนวทางพัฒนาและป้องกัน ซึ่งในเบื้องต้นก็ได้มีการแก้ปัญหาโดยการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ รพ.เอกชน ด้วยเพื่อทดแทนอัตรากำลังคนที่ขาดแคลน
ด้าน ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ นักวิจัยสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ได้นำเสนองานวิจัยเรื่อง “แนวโน้มกำลังคนในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน” ว่า จากการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของกำลังคนด้านการแพทย์ฉุกเฉินในระยะเวลา 5 ปี และคาดการณ์กำลังคนรองรับของกำลังคนประเภทต่างๆ โดยศึกษาผ่านพื้นที่ต้นแบบ 6 จังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินเป็นที่ยอมรับ โดยผลการศึกษาในเบื้องต้นในปี 2555 พบว่า แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินมีเพียง 247 คน และในปี 2552 พบว่ามีแพทย์เฉพาะทางเพียงร้อยละ35.45 ที่ปฏิบัติงานในต่างจังหวัด และเมื่อมองในด้านศักยภาพการผลิตของโรงเรียนแพทย์สามารถผลิตแพทย์ได้ปี 100 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเข้าสู่ระบบได้น้อยมาก และในด้านพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินนั้นพบว่ามีความขาดแคลนมาก แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการผลิตบุคลากรให้มารองรับกับตำแหน่งเหล่านี้แล้ว แต่ส่วนหนึ่งไม่ได้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทำให้การปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง โดยพนักงานฉุกเฉินทางการแพทย์ (EMT-B) เหลือเพียง 873คน
อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่กำลังคนขาดแคลน อาสาสมัครฉุกเฉินทางการแพทย์ (FR) จึงเป็นกำลังคนที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งบทบาทของสมาคมกู้ชีพกู้ภัย และอาสาสมัครจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่สิ่งที่ทุกหน่วยงานต้องเผชิญเหมือนกันคือบางแห่งใช้การจ้างงานเฉพาะภารกิจ บางแห่งใช้การบูรณาการเข้ากับงานประจำของงานกู้ภัย จึงทำให้เจอปัญหาความไม่ชัดเจนของการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่ชัดเจนของผู้ตรวจสอบการเงิน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กก็มีความจำกัดในด้านทรัพยากรจึงไม่สามารถเข้าร่วมดำเนินการได้
ดร.นงลักษณ์ กล่าวต่อว่า จากสถิติที่ได้ทำการรวบรวมพบว่าแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 1 คน ต้องปฏิบัติงาน 300ชั่วโมงต่อเดือน และอีก 80 เปอร์เซ็นต์มีงานเสริมอยู่ โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเท่ากับแพทย์ 1 คนจะทำงานมากกว่าข้าราชการ 2.5 เท่า และสิ่งที่เป็นปัญหาที่คือแพทย์หลายคนเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย บางคนย้ายไปทำงานในโรงพยาบาลที่มีความเพียบพร้อมมากกว่า จึงทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์สาขานี้ ทั้งนี้เหตุผลที่แพทย์แจ้งเมื่อต้องการเปลี่ยนงาน ก็คือค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอ โอกาสในการพัฒนาตนเองก็มีน้อย และไม่มีการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ซึ่งตนมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มค่าตอบแทนให้กับแพทย์ฉุกเฉินตามจำนวนของภารกิจที่ปฏิบัติงาน และให้แพทย์มีความเป็นอิสระในการทำงานมากขึ้น
“สำหรับอัตรากำลังคนในส่วนของแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสีแดง จะต้องมีจำนวน 500 คนเป็นอย่างต่ำ และเฉพาะผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินสีแดงและสีเหลืองจะต้องมีจำนวน 300 คน ส่วนแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยทั้งแดง สีเหลือง และสีเขียวจะต้องมีจำนวน400 คน ส่วนพยาบาลห้องฉุกเฉินจะต้องมีจำนวน 1,400-1,500 คน พนักงาน EMT-B จำนวน 2,994 คน จึงจะเพียงพอต่อการให้บริการ” ดร.นงลักษณ์ กล่าว
ด้าน นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ผู้แทนแพทยสภา กล่าวว่า การดำเนินการจัดการในส่วนของการแพทย์ฉุกเฉิน อยากให้ความสำคัญกับศัลยแพทย์ฉุกเฉินด้วย เพราะถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้ แต่กำลังคนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ยังมีน้อยมา โดยกำลังการผลิตในแต่ละปีมีเพียง80 คน เท่านั้น ดังนั้นอยากวิงวอนให้ภาครัฐช่วยกันส่งเสริมและผลิตศัลยแพทย์มารองรับในส่วนนี้ด้วย