โดย...สุกัญญา แสงงาม
ทันทีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติให้คณะรัฐมนตรีทุกคนถอดเสื้อสูท แล้วหันมาใส่ผ้าไทย เพื่อประหยัดพลังงาน สนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เด้งรับลูก ขอรับหน้าเสื่อดีไซน์ชุดผ้าไทย โดยใช้ผ้าพื้นถิ่นมาใช้ในการตัดเย็บ
ล่าสุด วธ.ได้เสนอแบบผ้าไทย 5 แบบ ซึ่งออกแบบโดย วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการของ สศร.เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวด Mango Fashion Awards 2012 ณ นครบาร์เซโลนา ประเทศสเปน
วิชระวิชญ์ อธิบายให้ฟังว่า การออกแบบผ้าไทยครั้งนี้ ใช้ผ้าไทยสีโทนกึ่งคลาสสิก เหมาะสำหรับทุกคน ทุกสรีระ ใส่ได้หลายครั้ง โดยทั้ง 5 แบบจะออกแบบกลางๆ สามารถปรับเพิ่มความยาวหรือลดให้สั้นลงได้ เพื่อให้เหมาะกับสรีระของผู้ใส่ อย่างไรก็ตาม การออกแบบครั้งนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ไม่ได้บังคับให้ใช้สีเดียวกันหรือแบบเดียวกันทุกคน
และเพื่อให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บอกว่า เดือนเมษายน วธ.ได้เชิญดีไซเนอร์ชั้นนำของ 10 ประเทศอาเซียนมาร่วมกันออกแบบผ้าไทยตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ออกแบบในสไตล์อาเซียน จะทำให้ผ้าไทยเป็นที่ยอมรับมีแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ส่วนผ้าจะเลือกคุณสมบัติที่ใส่สบายๆ ไม่ร้อน อย่างผ้าฝ้ายทอลายลูกแก้วสีส้ม ซึ่งเป็นหนึ่งในหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง ของเกาะยอ จ.สงขลา ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในแบบของชุดกึ่งทางการ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้สวมใส่โดยประยุกต์มาจากเสื้อพระราชนิยม สำหรับผ้าทอลายผ้าขาวม้า ปักธงชัย จ.นครราชสีมา และผ้าย้อมสี ของชาวไทยลื้อ ไทยทรงดำ จ.เชียงใหม่ เหมาะเป็นชุดลำลอง และชุดใส่ทำงาน อย่างไรก็ดี นักออกแบบจะใช้วิธีวางลายผ้าให้ดูทันสมัย เน้นการตัดเย็บด้วยความประณีต
วิชระวิชญ์ บอกว่า จริงๆ แล้วบ้านเรามีผ้าท้องถิ่นมากมาย ซึ่งแต่ละแห่งจะมีเอกลักษณ์ มีลวดลาย โดดเด่นแตกต่างกันไป หากนำผ้าท้องถิ่นมาดีไซน์ผสมผสานกับผ้าสมัยใหม่ ชุดนั้นจะเก๋ไก๋ไม่เหมือนใครอยากเน้นใช้ผ้าที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการตัดเย็บให้มากที่สุด หากคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านนำผ้าท้องถิ่นของตนเองมาดีไซน์แล้วสวมใส่บ่อยๆ จะเป็นการกระตุ้นปลุกกระแสให้หันมาใส่ผ้าไทยมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างรายได้และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่กับท้องถิ่นต่อไป
...ถ้าจะให้ดีคณะรัฐมนตรีควรใส่ผ้าไทย อย่างต่อเนื่อง ภาพการใส่ผ้าไทยได้ถูกเผยแพร่สู่สายตาพี่น้องชาวไทย ตลอดจนต่างชาติ ยิ่งช่วยยกระดับผ้าไทยให้ได้รับความนิยมมากขึ้น
เชื่อว่านักออกแบบชั้นนำเหล่านี้ นำผลงานที่ดีไซน์ผ้าไทยสไตล์ของแต่ละประเทศ กลับไปแสดงแฟชั่นโชว์ในประเทศของตัวเองด้วย จะทำให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักในประชาคมอาเซียน โดยปีนี้จะมีผ้าไทย ให้ดีไซเนอร์ได้ออกแบบหลากหลายมากขึ้น เพราะได้ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ เลือกเฟ้นผ้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง มาให้ดีไซเนอร์อาเซียนใช้ในการออกแบบชุดได้หลากไสต์ สามารถใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย
“อย่างปีที่แล้ว มีดีไซเนอร์ชาวมาเลเชีย เกาหลี เดินทางมาร่วมออกแบบผ้าไทย บางคนออกแบบผ้าไทยผสมกับผ้าประจำชาติของเขา ผสมกับผ้าสมัยใหม่ ที่สำคัญเมื่อออกแบบเสร็จแล้วเขาได้นำผลงานที่ตนเองออกแบบไปจัดแสดงแฟชั่นโชว์ด้วย” ปริศนา บอกว่า ครั้งนี้ดีไซเนอร์คงนำไปโชว์เหมือนปีที่แล้ว
ทันทีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติให้คณะรัฐมนตรีทุกคนถอดเสื้อสูท แล้วหันมาใส่ผ้าไทย เพื่อประหยัดพลังงาน สนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เด้งรับลูก ขอรับหน้าเสื่อดีไซน์ชุดผ้าไทย โดยใช้ผ้าพื้นถิ่นมาใช้ในการตัดเย็บ
ล่าสุด วธ.ได้เสนอแบบผ้าไทย 5 แบบ ซึ่งออกแบบโดย วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการของ สศร.เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวด Mango Fashion Awards 2012 ณ นครบาร์เซโลนา ประเทศสเปน
วิชระวิชญ์ อธิบายให้ฟังว่า การออกแบบผ้าไทยครั้งนี้ ใช้ผ้าไทยสีโทนกึ่งคลาสสิก เหมาะสำหรับทุกคน ทุกสรีระ ใส่ได้หลายครั้ง โดยทั้ง 5 แบบจะออกแบบกลางๆ สามารถปรับเพิ่มความยาวหรือลดให้สั้นลงได้ เพื่อให้เหมาะกับสรีระของผู้ใส่ อย่างไรก็ตาม การออกแบบครั้งนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ไม่ได้บังคับให้ใช้สีเดียวกันหรือแบบเดียวกันทุกคน
และเพื่อให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม บอกว่า เดือนเมษายน วธ.ได้เชิญดีไซเนอร์ชั้นนำของ 10 ประเทศอาเซียนมาร่วมกันออกแบบผ้าไทยตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ออกแบบในสไตล์อาเซียน จะทำให้ผ้าไทยเป็นที่ยอมรับมีแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ส่วนผ้าจะเลือกคุณสมบัติที่ใส่สบายๆ ไม่ร้อน อย่างผ้าฝ้ายทอลายลูกแก้วสีส้ม ซึ่งเป็นหนึ่งในหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง ของเกาะยอ จ.สงขลา ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในแบบของชุดกึ่งทางการ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้สวมใส่โดยประยุกต์มาจากเสื้อพระราชนิยม สำหรับผ้าทอลายผ้าขาวม้า ปักธงชัย จ.นครราชสีมา และผ้าย้อมสี ของชาวไทยลื้อ ไทยทรงดำ จ.เชียงใหม่ เหมาะเป็นชุดลำลอง และชุดใส่ทำงาน อย่างไรก็ดี นักออกแบบจะใช้วิธีวางลายผ้าให้ดูทันสมัย เน้นการตัดเย็บด้วยความประณีต
วิชระวิชญ์ บอกว่า จริงๆ แล้วบ้านเรามีผ้าท้องถิ่นมากมาย ซึ่งแต่ละแห่งจะมีเอกลักษณ์ มีลวดลาย โดดเด่นแตกต่างกันไป หากนำผ้าท้องถิ่นมาดีไซน์ผสมผสานกับผ้าสมัยใหม่ ชุดนั้นจะเก๋ไก๋ไม่เหมือนใครอยากเน้นใช้ผ้าที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการตัดเย็บให้มากที่สุด หากคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านนำผ้าท้องถิ่นของตนเองมาดีไซน์แล้วสวมใส่บ่อยๆ จะเป็นการกระตุ้นปลุกกระแสให้หันมาใส่ผ้าไทยมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างรายได้และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่กับท้องถิ่นต่อไป
...ถ้าจะให้ดีคณะรัฐมนตรีควรใส่ผ้าไทย อย่างต่อเนื่อง ภาพการใส่ผ้าไทยได้ถูกเผยแพร่สู่สายตาพี่น้องชาวไทย ตลอดจนต่างชาติ ยิ่งช่วยยกระดับผ้าไทยให้ได้รับความนิยมมากขึ้น
เชื่อว่านักออกแบบชั้นนำเหล่านี้ นำผลงานที่ดีไซน์ผ้าไทยสไตล์ของแต่ละประเทศ กลับไปแสดงแฟชั่นโชว์ในประเทศของตัวเองด้วย จะทำให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักในประชาคมอาเซียน โดยปีนี้จะมีผ้าไทย ให้ดีไซเนอร์ได้ออกแบบหลากหลายมากขึ้น เพราะได้ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ เลือกเฟ้นผ้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง มาให้ดีไซเนอร์อาเซียนใช้ในการออกแบบชุดได้หลากไสต์ สามารถใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย
“อย่างปีที่แล้ว มีดีไซเนอร์ชาวมาเลเชีย เกาหลี เดินทางมาร่วมออกแบบผ้าไทย บางคนออกแบบผ้าไทยผสมกับผ้าประจำชาติของเขา ผสมกับผ้าสมัยใหม่ ที่สำคัญเมื่อออกแบบเสร็จแล้วเขาได้นำผลงานที่ตนเองออกแบบไปจัดแสดงแฟชั่นโชว์ด้วย” ปริศนา บอกว่า ครั้งนี้ดีไซเนอร์คงนำไปโชว์เหมือนปีที่แล้ว