แพทย์รามาฯ แนะ ศธ.ปรับหลักสูตรวิชาสุขศึกษา เน้นสอนโรคที่เกิดขึ้นใกล้ตัว เกิดจากพฤติกรรม หวังเด็กมีแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นผลดีต่อการป้องกันโรค
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา เนื่องจากเนื้อหาสาระในปัจจุบันมุ่งเน้นสอนให้เด็กเรียนรู้ในโรคที่ค่อนข้างไกลตัวเด็ก หรือโรคที่พบจำนวนผู้ป่วยไม่มากในไทย เช่น โรคไข้เหลือง เป็นต้น จึงควรเน้นให้เด็กได้เรียนรู้โรคที่มีอุบัติการณ์พบผู้ป่วยมากขึ้น โรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของประชาชนเอง และโรคที่สามารถป้องกันได้หากมีการหยุด หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการบรรจุไว้ในหลักสูตรสุขศึกษา ทั้งที่คนไทยป่วยโรคนี้ในอัตราสูงและเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายลำดับหนึ่งของประชากรโลก
“อย่างโรคความดันโลหิตสูงที่พบคนป่วยจำนวนมากและอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรสอนให้เด็กรู้ว่าโรคนี้มีสาเหตุจากอะไรบ้าง เช่น เกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็มจัด ซึ่งคนไทยบริโภคถึง 10.8 กรัม สูงเป็น 2 เท่าของที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน เป็นต้น หากนักเรียนได้เรียนรู้และรับทราบข้อมูลเหล่านี้ตั้งแต่เด็ก เขาก็จะทราบว่าพฤติกรรมการบริโภคหรือวิถีชีวิตเช่นไร จะทำให้เกิดโรคอะไรขึ้นได้บ้าง เพื่อที่จะได้เลือกแนวทางปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตั้งแต่เด็ก ซึ่งจะให้ผลดีในการป้องกันโรค” ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าว
ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวอีกว่า หากมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตั้งแต่อายุน้อย เช่น เขาจะได้รู้ว่าเมื่อลดปริมาณการรับประทานเกลือลงครึ่งหนึ่ง หรือไม่ทานอาหารรสเค็มจัด ก็จะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แต่หากเขาไม่ได้เรียนรู้ก็จะไม่รู้ว่าอาหารรสเค็มทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ก็จะไม่มีการระมัดระวังในการบริโภคเหมือนเช่นปัจจุบันที่ยังมีการบริโภคเกลือในอัตราสูง
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา เนื่องจากเนื้อหาสาระในปัจจุบันมุ่งเน้นสอนให้เด็กเรียนรู้ในโรคที่ค่อนข้างไกลตัวเด็ก หรือโรคที่พบจำนวนผู้ป่วยไม่มากในไทย เช่น โรคไข้เหลือง เป็นต้น จึงควรเน้นให้เด็กได้เรียนรู้โรคที่มีอุบัติการณ์พบผู้ป่วยมากขึ้น โรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของประชาชนเอง และโรคที่สามารถป้องกันได้หากมีการหยุด หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการบรรจุไว้ในหลักสูตรสุขศึกษา ทั้งที่คนไทยป่วยโรคนี้ในอัตราสูงและเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายลำดับหนึ่งของประชากรโลก
“อย่างโรคความดันโลหิตสูงที่พบคนป่วยจำนวนมากและอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรสอนให้เด็กรู้ว่าโรคนี้มีสาเหตุจากอะไรบ้าง เช่น เกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็มจัด ซึ่งคนไทยบริโภคถึง 10.8 กรัม สูงเป็น 2 เท่าของที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน เป็นต้น หากนักเรียนได้เรียนรู้และรับทราบข้อมูลเหล่านี้ตั้งแต่เด็ก เขาก็จะทราบว่าพฤติกรรมการบริโภคหรือวิถีชีวิตเช่นไร จะทำให้เกิดโรคอะไรขึ้นได้บ้าง เพื่อที่จะได้เลือกแนวทางปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตั้งแต่เด็ก ซึ่งจะให้ผลดีในการป้องกันโรค” ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าว
ศ.นพ.ปิยะมิตร กล่าวอีกว่า หากมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตั้งแต่อายุน้อย เช่น เขาจะได้รู้ว่าเมื่อลดปริมาณการรับประทานเกลือลงครึ่งหนึ่ง หรือไม่ทานอาหารรสเค็มจัด ก็จะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แต่หากเขาไม่ได้เรียนรู้ก็จะไม่รู้ว่าอาหารรสเค็มทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ก็จะไม่มีการระมัดระวังในการบริโภคเหมือนเช่นปัจจุบันที่ยังมีการบริโภคเกลือในอัตราสูง