“อุทุมพร” แนะ สทศ.ปรับระบบจัดสอบ O-Net ใหม่ทั้งหาคนไว้ใจได้รับผิดชอบทุกขั้นตอน เชื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำอีก
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ในฐานะอดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) เปิดเผยว่า ปัญหาความผิดพลาดของแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net) ประจำปี 2555 ที่เกิดซ้ำถึง 2 ครั้ง ในการสอบ O-Net ชั้น ม.3 และ ม.6 นั้น สาเหตุของปัญหาเพราะไม่มีการกำกับเวลาของกิจกรรมแต่ละขั้นตอนให้เสร็จสิ้นได้ตามแผน เมื่อกิจกรรมแรกเสร็จล่าช้า ส่งผลให้กิจกรรมสุดท้ายล่าช้าตาม สุดท้ายก็ไม่มีเวลาตรวจทานข้อสอบ จึงไม่ได้รู้ล่วงหน้า เมื่อมีข้อสอบผิดพลาดขึ้น
“กิจกรรมแรก คือ การออกข้อสอบบางวิชานั้น ออกข้อสอบล่าช้า ถึงกำหนดต้องส่งข้อสอบในวันนี้แล้ว ก็ยังไม่สามารถส่งข้อสอบให้โรงพิมพ์ได้ ทั้งๆ ที่โรงพิมพ์เขาก็มีแผนการทำงานของเขา เพราะข้อสอบวิชาหนึ่ง ประมาณ 2 แสนฉบับ ต้องใช้เวลาในการพิมพ์พอสมควร วิธีแก้ไจ คือ ต้องการคนออกข้อสอบเก่งๆ ออกข้อสอบมา สามารถนำไปใช้ได้ ไม่ต้องไปออกข้อสอบใหม่มาแทน” ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า วิธีการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำอีกนั้น สทศ.ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ และพยายามกำกับให้ทุกกิจกรรมเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ ต้องหาคนรับผิดชอบกิจกรรมทุกขั้นตอนให้ชัดเจน ที่สำคัญ สอศ.ต้องไม่บริหารงานด้วยความรู้สึกกลัวจนเกิดเหตุ ทำให้ สทศ.ตัดสินใจจำกัดวงใช้คนจำนวนน้อย ๆ ในทุกขั้นตอน และต้องมีคนที่ไว้ใจได้ดูแลทุกขั้นตอน สมัยที่ตนเป็น ผอ.สทศ.จะแต่งตั้งคนที่ไว้ใจได้ 3 คน มาอ่านตรวจทานข้อสอบทั้งหมด เพื่อดูว่า มีข้อผิดพลาดใดบ้าง ก็จะช่วยลดความผิดพลาดของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นได้
ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ในฐานะอดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) เปิดเผยว่า ปัญหาความผิดพลาดของแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-Net) ประจำปี 2555 ที่เกิดซ้ำถึง 2 ครั้ง ในการสอบ O-Net ชั้น ม.3 และ ม.6 นั้น สาเหตุของปัญหาเพราะไม่มีการกำกับเวลาของกิจกรรมแต่ละขั้นตอนให้เสร็จสิ้นได้ตามแผน เมื่อกิจกรรมแรกเสร็จล่าช้า ส่งผลให้กิจกรรมสุดท้ายล่าช้าตาม สุดท้ายก็ไม่มีเวลาตรวจทานข้อสอบ จึงไม่ได้รู้ล่วงหน้า เมื่อมีข้อสอบผิดพลาดขึ้น
“กิจกรรมแรก คือ การออกข้อสอบบางวิชานั้น ออกข้อสอบล่าช้า ถึงกำหนดต้องส่งข้อสอบในวันนี้แล้ว ก็ยังไม่สามารถส่งข้อสอบให้โรงพิมพ์ได้ ทั้งๆ ที่โรงพิมพ์เขาก็มีแผนการทำงานของเขา เพราะข้อสอบวิชาหนึ่ง ประมาณ 2 แสนฉบับ ต้องใช้เวลาในการพิมพ์พอสมควร วิธีแก้ไจ คือ ต้องการคนออกข้อสอบเก่งๆ ออกข้อสอบมา สามารถนำไปใช้ได้ ไม่ต้องไปออกข้อสอบใหม่มาแทน” ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า วิธีการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำอีกนั้น สทศ.ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ และพยายามกำกับให้ทุกกิจกรรมเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ ต้องหาคนรับผิดชอบกิจกรรมทุกขั้นตอนให้ชัดเจน ที่สำคัญ สอศ.ต้องไม่บริหารงานด้วยความรู้สึกกลัวจนเกิดเหตุ ทำให้ สทศ.ตัดสินใจจำกัดวงใช้คนจำนวนน้อย ๆ ในทุกขั้นตอน และต้องมีคนที่ไว้ใจได้ดูแลทุกขั้นตอน สมัยที่ตนเป็น ผอ.สทศ.จะแต่งตั้งคนที่ไว้ใจได้ 3 คน มาอ่านตรวจทานข้อสอบทั้งหมด เพื่อดูว่า มีข้อผิดพลาดใดบ้าง ก็จะช่วยลดความผิดพลาดของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นได้