xs
xsm
sm
md
lg

ยาชื่อสามัญ ยาคุณภาพดี ราคาไม่หนักกระเป๋า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โดย...รศ ดร ภญ นุศราพร เกษสมบูรณ์

เราเคยได้ยินความเห็นเหล่านี้หรือไม่ ถึง “ยานอก” จะแพง แต่คุณภาพดีกว่า “ยาใน” ไม่มีของดี ราคาถูก ในโลกนี้หรอก “ยาไทย” กินแล้วไม่หาย
รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
คำว่า “ยาใน” หรือ “ยาไทย” ในที่นี้ขอจัดอยู่ในกลุ่มยาชื่อสามัญ โดยยาชื่อสามัญที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมายถึง ผลิตภัณฑ์ยาที่ประกอบด้วย ตัวยาสำคัญ รูปแบบยา และขนาดความแรงของตัวยาสำคัญเหมือนกับผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบ และผ่านการประกันคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิผลตามข้อบ่งใช้แล้ว

เราในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่งจะให้ความเชื่อมั่นต่อยาชื่อสามัญ ซึ่งมีราคาถูกกว่ายาต้นแบบได้อย่างไร?

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพยาที่มีการใช้ในโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งยาชื่อสามัญและยาต้นแบบ มาตั้งแต่ ปี 2545 ล่าสุดได้เผยแพร่ข้อมูลรายชื่อผลิตภัณฑ์ยาที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพใน GREEN BOOK เล่มที่ 8 ในปี 2554 ดังนั้น ผู้บริโภคหากต้องการทราบว่ายาของผู้ผลิตรายใดที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพสามารถดูรายชื่อได้ที่ http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/drug/index.stm

ตัวอย่างเช่น ยาเม็ด Clopidogrel bisulfate ซึ่งเป็นยาต้านเกล็ดเลือด ใช้ป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันซ้ำหลังใส่ขดลวดค้ำยันในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผลการวิเคราะห์ใน GREEN BOOK 8 ระบุว่ายาชื่อสามัญผ่านมาตรฐานเช่นเดียวกับยาต้นแบบ ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยการใช้ยา Clopidogrel ในผู้ป่วย 713 ราย หลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยัน ในโรงพยาบาลศูนย์หัวใจระดับ 3 จำนวน 9 แห่ง ในประเทศไทย ระหว่างปี 2551-2552 ผลการวิจัยสรุปว่า การใช้ยาต้นแบบหรือยาชื่อสามัญให้ผลการรักษาทางคลินิกไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ยาชื่อสามัญมีราคาต่ำกว่ายาต้น แบบถึง 50 เท่า

แล้วทำไมเราไม่ใช้ยาชื่อสามัญ ซึ่งมีคุณภาพดีไม่แพ้กัน แต่ราคาไม่หนักกระเป๋า กันเล่าจ้ะ
กำลังโหลดความคิดเห็น