ปลัด กทม.เตรียมหารือ สทศ.ขอเลื่อนสอบ GAT/PAT ให้เด็กนักเรียนไปใช้สิทธิเลือกผู้ว่าฯ เผยไม่ทราบมาก่อนว่ามีสอบวันดังกล่าว ขณะที่วันที่ 2 ไม่มีผู้มาสมัครเพิ่ม ระบุ หากไปใช้สิทธิไม่ได้ให้แจ้งล่วงหน้าก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน และภายใน 7 วัน นับแต่เลือกตั้ง
วันนี้ (22 ม.ค.) ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (ผอ.กกต.ทถ.กทม.) เปิดเผยว่า ตามที่ กทม.กำหนดเปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21-25 ม.ค.2556 นั้น ขณะนี้มีจำนวนผู้สมัครเท่าเดิม คือ 18 รายที่ยื่นใบสมัครในวันแรก สำหรับวันนี้ยังไม่มีผู้ใดมายื่นใบสมัครเพิ่มเติม ซึ่งในการเปิดรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.แต่ละครั้งผู้สมัครส่วนใหญ่จะมายื่นใบสมัครในวันแรกและวันสุดท้ายของการเปิดรับสมัคร ทั้งนี้ จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ไม่น่าจะเกิน 25 คน
ส่วนกรณีวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำหนดไว้ในวันที่ 3 มี.ค.2556 ตรงกับวันสอบ GAT/PAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และมีนักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องเข้าสอบประมาณ 6,000 คน ทั้งนี้ กทม.ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการสอบในวันนั้น โดยส่วนตัวอยากให้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครบ 100% ซึ่งจะมีการหารือกับ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับแนวทางการเลื่อนวันสอบว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพื่อให้นักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ก็ให้แจ้งเหตุไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน และภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อที่จะไม่เสียสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ การที่จะมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดมีปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การประชาสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เองที่จะลงพื้นที่หาเสียง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ของ กทม.และการเผยแพร่ข่าวสารความเคลื่อนไหวของสื่อมวลชนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
วันนี้ (22 ม.ค.) ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (ผอ.กกต.ทถ.กทม.) เปิดเผยว่า ตามที่ กทม.กำหนดเปิดรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21-25 ม.ค.2556 นั้น ขณะนี้มีจำนวนผู้สมัครเท่าเดิม คือ 18 รายที่ยื่นใบสมัครในวันแรก สำหรับวันนี้ยังไม่มีผู้ใดมายื่นใบสมัครเพิ่มเติม ซึ่งในการเปิดรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.แต่ละครั้งผู้สมัครส่วนใหญ่จะมายื่นใบสมัครในวันแรกและวันสุดท้ายของการเปิดรับสมัคร ทั้งนี้ จำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ไม่น่าจะเกิน 25 คน
ส่วนกรณีวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำหนดไว้ในวันที่ 3 มี.ค.2556 ตรงกับวันสอบ GAT/PAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และมีนักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องเข้าสอบประมาณ 6,000 คน ทั้งนี้ กทม.ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการสอบในวันนั้น โดยส่วนตัวอยากให้มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครบ 100% ซึ่งจะมีการหารือกับ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับแนวทางการเลื่อนวันสอบว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพื่อให้นักเรียนที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียง อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ก็ให้แจ้งเหตุไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน และภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อที่จะไม่เสียสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ การที่จะมีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดมีปัจจัยหลายอย่าง อาทิ การประชาสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เองที่จะลงพื้นที่หาเสียง การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ของ กทม.และการเผยแพร่ข่าวสารความเคลื่อนไหวของสื่อมวลชนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง