มทร.ธัญบุรี เตรียมทุ่มงบกว่า 1 พันล้าน อัดฉีดอาจารย์-นักศึกษาสร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มทร.ธัญบุรี ได้จัดงานครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยประจำปี 2556 พร้อมจัดกิจกรรมเปิดบ้านโชว์ “มทร.ธัญบุรี สร้างสรรค์วิชาการ สร้างงานสู่สังคม” ซึ่งกิจกรรมภายในงานมีการโชว์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์งานวิจัย อบรมทางวิชาการ และผลงาน การแข่งขันต่างๆ ของคณาจารย์ นักศึกษา เพื่อเผยแพร่ให้แก่ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไปได้รับชม กระตุ้นการเรียนโดยเฉพาะในส่วนของงานวิจัย ทางมหาวิทยาลัยได้มีการนำผลงานนักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากทั้งใน และต่างประเทศ อาทิ งานวิจัย สีที่สกัดและการย้อมสีจากการสกัดกะเพรา เครื่องช่วยอ่านอักษรเบลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น
อธิการ มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม มทร.ธัญบุรี ได้วางแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยและนักศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่จะดำเนินการในปี 2556 โดยจะจัดสรรงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ และนักศึกษาผลิตผลงานวิจัย-สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำความรู้มาบูรณาการให้เกิดผลิตภัณฑ์ สินค้าที่สร้างมูลค่า เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประเทศ เพราะงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยส่งเสริมต้องเป็นงานวิจัยที่สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยจะเน้นส่งเสริมผลิตผลงานวิจัย-สิ่งประดิษฐ์ทุกสาขาวิชา รวมถึงนวัตกรรมด้านพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอ และงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้าน ผศ.จุฑามาศ เจริญพงษ์มาลา อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า แต่ละปีมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย อย่างน้อยปีละ 1 ชิ้น และพยายามกระตุ้น ส่งเสริมให้อาจารย์นำงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดการแข่งขันทั้งระดับในประเทศ และนานาชาติ ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้อาจารย์ทำงานวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มเติมความรู้ให้แก่อาจารย์อย่างมาก เช่น ตนจัดทำโครงการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่ผสมสารสกัดมังคุดสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่นอกจากจะช่วยเหลือผู้พิการสามารถอ่านรายละเอียดในผลิตภัณฑ์ได้แล้ว ยังนำมาใช้เป็นตัวอย่าง ประยุกต์ในการเรียนการสอนได้อีกด้วย
“อยากฝากทางมหาวิทยาลัย และรัฐบาลสนับสนุน ส่งเสริมการทำงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาจารย์ รวมถึงนักศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณ เพราะหากมีงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ดีๆ จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย” ผศ.จุฑามาศ กล่าว
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มทร.ธัญบุรี ได้จัดงานครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยประจำปี 2556 พร้อมจัดกิจกรรมเปิดบ้านโชว์ “มทร.ธัญบุรี สร้างสรรค์วิชาการ สร้างงานสู่สังคม” ซึ่งกิจกรรมภายในงานมีการโชว์นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์งานวิจัย อบรมทางวิชาการ และผลงาน การแข่งขันต่างๆ ของคณาจารย์ นักศึกษา เพื่อเผยแพร่ให้แก่ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไปได้รับชม กระตุ้นการเรียนโดยเฉพาะในส่วนของงานวิจัย ทางมหาวิทยาลัยได้มีการนำผลงานนักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากทั้งใน และต่างประเทศ อาทิ งานวิจัย สีที่สกัดและการย้อมสีจากการสกัดกะเพรา เครื่องช่วยอ่านอักษรเบลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น
อธิการ มทร.ธัญบุรี กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม มทร.ธัญบุรี ได้วางแผนการพัฒนามหาวิทยาลัยและนักศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่จะดำเนินการในปี 2556 โดยจะจัดสรรงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ และนักศึกษาผลิตผลงานวิจัย-สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำความรู้มาบูรณาการให้เกิดผลิตภัณฑ์ สินค้าที่สร้างมูลค่า เพิ่มขีดความสามารถให้แก่ประเทศ เพราะงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยส่งเสริมต้องเป็นงานวิจัยที่สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน โดยจะเน้นส่งเสริมผลิตผลงานวิจัย-สิ่งประดิษฐ์ทุกสาขาวิชา รวมถึงนวัตกรรมด้านพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอ และงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้าน ผศ.จุฑามาศ เจริญพงษ์มาลา อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า แต่ละปีมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย อย่างน้อยปีละ 1 ชิ้น และพยายามกระตุ้น ส่งเสริมให้อาจารย์นำงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดการแข่งขันทั้งระดับในประเทศ และนานาชาติ ซึ่งการที่มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้อาจารย์ทำงานวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มเติมความรู้ให้แก่อาจารย์อย่างมาก เช่น ตนจัดทำโครงการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่ผสมสารสกัดมังคุดสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่นอกจากจะช่วยเหลือผู้พิการสามารถอ่านรายละเอียดในผลิตภัณฑ์ได้แล้ว ยังนำมาใช้เป็นตัวอย่าง ประยุกต์ในการเรียนการสอนได้อีกด้วย
“อยากฝากทางมหาวิทยาลัย และรัฐบาลสนับสนุน ส่งเสริมการทำงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอาจารย์ รวมถึงนักศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณ เพราะหากมีงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ดีๆ จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย” ผศ.จุฑามาศ กล่าว