อนาถ! ผลสำรวจไอคิว-อีคิวเด็กไทย ต่ำกว่ามาตรฐานทั้งคู่ พบอีสานไอคิวน้อยสุดที่ 95.99 จุด ขณะที่ระดับอีคิวนักเรียนทั่วประเทศถอยหลังลงคลองทุกปี สธ.ก้นร้อนเตรียมขยายมาตรการพัฒนา เชื่อ สำรวจอีกครั้งปี 2559 คะแนนฉลุยผ่านเกณฑ์แน่
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากผลสำรวจความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว :IQ) ของนักเรียนไทยทั่วประเทศ เมื่อปี 2554 พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย 98.59 จุด ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลยุคปัจจุบัน คือ 100 จุด โดยในเขตกรุงเทพมหานคร มีระดับไอคิวเฉลี่ยสูงสุด 104.5 จุด รองลงมาคือ ภาคกลาง 101.29 จุด ภาคเหนือ 100.11 จุด ภาคใต้ 96.85 จุด และภาคอีสานน้อยที่สุด คือ 95.99 จุด ดังนั้น ปี 2556 สธ.จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เด็กมีไอคิวสูงขึ้น โดยเน้นพื้นที่ดำเนินงาน 3 ส่วน คือ 1.คลินิกเด็กสุขภาพดีโรงพยาบาลทั่วประเทศ 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประมาณ 20,000 แห่งทั่วประเทศ และ 3.สอนพ่อแม่ให้มีความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวติดต่อกัน 6 เดือน ซึ่งจะทำให้พ่อแม่มีส่วนร่วมดูแลเสริมสร้างไอคิวลูก สามารถสังเกต เฝ้าระวังความผิดปกติ หรือพัฒนาการที่ล่าช้าของลูก เพื่อเร่งแก้ไขให้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยในปี 2559 สธ.จะทำการสำรวจไอคิวเด็กไทยอีกครั้ง มั่นใจว่า ไอคิวของเด็กไทยจะเข้าสู่มาตรฐานสากลคือ 100 จุด
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สธ.ได้ทำการสำรวจการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว :EQ) เมื่อปี 2554 พบว่า เด็กนักเรียนไทยอายุ 6-11 ปี ค่าคะแนนอีคิวเฉลี่ยพื้นฐานระดับประเทศอยู่ที่ 45.12 ซึ่งระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยเด็กที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนอีคิวพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 50 ขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 28 โดยมีเด็กที่มีคะแนนต่ำกว่าปกติ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนามีร้อยละ 80 เพื่อให้ครบองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ดี เก่ง สุข ประเด็นที่น่าเป็นห่วง และพบว่ามีคะแนนต่ำที่สุดคือ มุ่งมั่นพยายามและกล้าแสดงออก อย่างละร้อยละ 43 และรื่นเริงเบิกบาน ร้อยละ 45
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า เมื่อนำผลรวมของคะแนนอีคิว ที่ได้มาจากการประเมินของครูฉบับเดียวกันในปี 2545 และปี 2550 พบว่า คะแนนดิบอีคิวของเด็กไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในปี 2554 อยู่ที่ 170 ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งได้ 180 และในปี 2545 ได้ 186 และมีค่าคะแนนอีคิวทั้งองค์ประกอบด้านดี เก่ง สุข และด้านย่อยทุกด้านนั้นปี 2554 ต่ำสุดเช่นกัน ดังนั้น ในปี 2556 กรมสุขภาพจิต จึงเร่งเสริมสร้างความมุ่งมั่นพยายามให้กับเด็กทั้ง 3 กลุ่มวัยคือ เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน และวัยรุ่น ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อนำเด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน คาดหวังว่า อีคิวเด็กไทยจะดีขึ้นเมื่อสำรวจอีกครั้งในปี 2559
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากผลสำรวจความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว :IQ) ของนักเรียนไทยทั่วประเทศ เมื่อปี 2554 พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย 98.59 จุด ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลยุคปัจจุบัน คือ 100 จุด โดยในเขตกรุงเทพมหานคร มีระดับไอคิวเฉลี่ยสูงสุด 104.5 จุด รองลงมาคือ ภาคกลาง 101.29 จุด ภาคเหนือ 100.11 จุด ภาคใต้ 96.85 จุด และภาคอีสานน้อยที่สุด คือ 95.99 จุด ดังนั้น ปี 2556 สธ.จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เด็กมีไอคิวสูงขึ้น โดยเน้นพื้นที่ดำเนินงาน 3 ส่วน คือ 1.คลินิกเด็กสุขภาพดีโรงพยาบาลทั่วประเทศ 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประมาณ 20,000 แห่งทั่วประเทศ และ 3.สอนพ่อแม่ให้มีความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวติดต่อกัน 6 เดือน ซึ่งจะทำให้พ่อแม่มีส่วนร่วมดูแลเสริมสร้างไอคิวลูก สามารถสังเกต เฝ้าระวังความผิดปกติ หรือพัฒนาการที่ล่าช้าของลูก เพื่อเร่งแก้ไขให้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยในปี 2559 สธ.จะทำการสำรวจไอคิวเด็กไทยอีกครั้ง มั่นใจว่า ไอคิวของเด็กไทยจะเข้าสู่มาตรฐานสากลคือ 100 จุด
ด้าน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สธ.ได้ทำการสำรวจการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว :EQ) เมื่อปี 2554 พบว่า เด็กนักเรียนไทยอายุ 6-11 ปี ค่าคะแนนอีคิวเฉลี่ยพื้นฐานระดับประเทศอยู่ที่ 45.12 ซึ่งระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยเด็กที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนอีคิวพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 50 ขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 28 โดยมีเด็กที่มีคะแนนต่ำกว่าปกติ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนามีร้อยละ 80 เพื่อให้ครบองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ดี เก่ง สุข ประเด็นที่น่าเป็นห่วง และพบว่ามีคะแนนต่ำที่สุดคือ มุ่งมั่นพยายามและกล้าแสดงออก อย่างละร้อยละ 43 และรื่นเริงเบิกบาน ร้อยละ 45
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า เมื่อนำผลรวมของคะแนนอีคิว ที่ได้มาจากการประเมินของครูฉบับเดียวกันในปี 2545 และปี 2550 พบว่า คะแนนดิบอีคิวของเด็กไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ในปี 2554 อยู่ที่ 170 ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งได้ 180 และในปี 2545 ได้ 186 และมีค่าคะแนนอีคิวทั้งองค์ประกอบด้านดี เก่ง สุข และด้านย่อยทุกด้านนั้นปี 2554 ต่ำสุดเช่นกัน ดังนั้น ในปี 2556 กรมสุขภาพจิต จึงเร่งเสริมสร้างความมุ่งมั่นพยายามให้กับเด็กทั้ง 3 กลุ่มวัยคือ เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน และวัยรุ่น ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อนำเด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน คาดหวังว่า อีคิวเด็กไทยจะดีขึ้นเมื่อสำรวจอีกครั้งในปี 2559