“ชัยพฤกษ์” เซ็ง! สพฐ.ไม่ลดจำนวนรับ นร.ลงทำยอดเด็กเลือกเรียนอาชีวะ ไม่กระเตื้อง ชี้ การสู่เป้าหมาย 70:30 ตามนโยบายรัฐในปี 61 ทำได้ยาก พร้อมตั้งเป้าหมายใหม่ปี 59 จะดันให้สัดส่วนอาชีวะและสามัญอยู่ 50:50
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายกำหนดสัดส่วนนักเรียนสายสามัญและสายอาชีพ ให้อยู่ที่ 70:30 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2561 อาจเป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบันสัดส่วนนักเรียนสายสามัญและสายอาชีพ อยู่ที่ 60:40 ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พยายามทำโครงการเพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนสายอาชีพให้มากขึ้น เช่น โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาอำเภอ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ หรือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาหลักสูตรอินเตอร์ เป็นต้น ขณะที่กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ยังมีเท่าเดิม คือ ประมาณ 500,000 คน
“เพราะฉะนั้นถ้า สอศ.จะเพิ่มจำนวนนักเรียนสายอาชีพได้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็จะต้องมีนโยบายลดจำนวนนักเรียนสายสามัญลงด้วย แต่จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา สพฐ.ยังไม่เคยมีนโยบายที่จะลดจำนวนนักเรียนสาย สามัญลงเลย ทั้งที่หากต้องการจะเดินไปตามเป้าหมายที่ 70:30 ภายในปี พ.ศ.2561 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนการรับนักเรียนร่วมกัน ซึ่งหาก สพฐ.ไม่ปรับแผนการรับนักเรียนลง เป้าหมายดังกล่าวก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ขณะนี้ สอศ.จึงวางแผนและกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนใหม่ ว่า ภายในปี 2559 สัดส่วนการรับเรียนสายอาชีพกับสายสามัญจะต้องเป็น 50:50 เท่านั้น จากเดิมที่กำหนดไว้ว่าในปี 2559 สัดส่วนการรับนักเรียนจะต้องอยู่ที่ 60:40 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่ก็เข้าใจว่า ต้องการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายไว้ก่อน” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตนได้ชี้แจงถึงปัญหาดังกล่าว ซึ่ง นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ซึ่งกำกับดูแล สอศ.และ สพฐ.ได้รับเรื่อง และบอกว่า จะไปพิจารณารายละเอียด เพราะหาก สพฐ.ไม่ลดการรับเด็กลง ยอดนักเรียนสายอาชีพก็คงไม่มีทางเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สพฐ.จะต้องแนะแนวการศึกษา พร้อมกับดูว่าเด็กมีพื้นฐานทางด้านใด เพื่อส่งเสริมให้เขาได้เรียนในสิ่งที่ถนัด รวมถึงจะต้องแนะแนวอาชีพที่เหมาะสมในอนาคตให้ด้วย
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายกำหนดสัดส่วนนักเรียนสายสามัญและสายอาชีพ ให้อยู่ที่ 70:30 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2561 อาจเป็นไปได้ยาก เพราะปัจจุบันสัดส่วนนักเรียนสายสามัญและสายอาชีพ อยู่ที่ 60:40 ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) พยายามทำโครงการเพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนสายอาชีพให้มากขึ้น เช่น โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาอำเภอ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ หรือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาหลักสูตรอินเตอร์ เป็นต้น ขณะที่กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ยังมีเท่าเดิม คือ ประมาณ 500,000 คน
“เพราะฉะนั้นถ้า สอศ.จะเพิ่มจำนวนนักเรียนสายอาชีพได้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็จะต้องมีนโยบายลดจำนวนนักเรียนสายสามัญลงด้วย แต่จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา สพฐ.ยังไม่เคยมีนโยบายที่จะลดจำนวนนักเรียนสาย สามัญลงเลย ทั้งที่หากต้องการจะเดินไปตามเป้าหมายที่ 70:30 ภายในปี พ.ศ.2561 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนการรับนักเรียนร่วมกัน ซึ่งหาก สพฐ.ไม่ปรับแผนการรับนักเรียนลง เป้าหมายดังกล่าวก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ขณะนี้ สอศ.จึงวางแผนและกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนใหม่ ว่า ภายในปี 2559 สัดส่วนการรับเรียนสายอาชีพกับสายสามัญจะต้องเป็น 50:50 เท่านั้น จากเดิมที่กำหนดไว้ว่าในปี 2559 สัดส่วนการรับนักเรียนจะต้องอยู่ที่ 60:40 ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่ก็เข้าใจว่า ต้องการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายไว้ก่อน” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตนได้ชี้แจงถึงปัญหาดังกล่าว ซึ่ง นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ซึ่งกำกับดูแล สอศ.และ สพฐ.ได้รับเรื่อง และบอกว่า จะไปพิจารณารายละเอียด เพราะหาก สพฐ.ไม่ลดการรับเด็กลง ยอดนักเรียนสายอาชีพก็คงไม่มีทางเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน สพฐ.จะต้องแนะแนวการศึกษา พร้อมกับดูว่าเด็กมีพื้นฐานทางด้านใด เพื่อส่งเสริมให้เขาได้เรียนในสิ่งที่ถนัด รวมถึงจะต้องแนะแนวอาชีพที่เหมาะสมในอนาคตให้ด้วย