ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ฯ เผยพบผู้ติดเชื้อเอชไอวี 3.6 % จากการออกหน่วยบริการ “ตรวจเพื่อก้าวต่อ” ในวันเอดส์โลก ย้ำรัฐต้องสนับสนุนให้คนเข้าถึงการรักษาและการป้องกันเพื่อแก้ปัญหาเอดส์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการออกหน่วยบริการตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ ในช่วงวันเอดส์โลก 30 พ.ย.-1 ธ.ค. ของกระทรวงสาธารณสุข สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 สภากาชาดไทย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และองค์การแพธ ภายใต้ชื่อ “เอชไอวี ตรวจ...เพื่อก้าวต่อ” ที่ห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง คือ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน สาขาบางกะปิ สาขาบางแค และที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาพระราม 2 และพระราม 3 พบว่ามีผู้มารับบริการ 688 ราย เป็นชาย 432 ราย หญิง 256 ราย ในจำนวนนี้พบว่าติดเชื้อเอชไอวี 25 ราย คิดเป็น 3.6% ถือว่าสูงกว่าอัตราการติดเชื้อในภาพรวมของประเทศซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1%
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จำนวนผู้รับบริการดังกล่าวถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่ว่าคนไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการรู้ผลเลือดของตัวเอง โดยกล้าและมั่นใจที่จะเดินออกมาตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งมองว่าการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องปกติเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้รับบริการเองที่จะได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วหากตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อ หากไม่ติดเชื้อก็จะได้รับการปรึกษาเพื่อการป้องกันต่อไป อย่างไรก็ตาม เห็นว่าตัวเลขการติดเชื้อของผู้มารับบริการ 3.6% นั้นค่อนข้างสูง โดยสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ 1% จากการเฝ้าระวัง สุ่มตรวจในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีลดลงให้ได้ แนวทางหนึ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ก็คือ ประเมินความเสี่ยงของตัวเอง และหากมีความเสี่ยงก็สามารถไปใช้บริการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปีละ 2 ครั้ง หรือโทร.ปรึกษาได้ที่ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์ตั้งแต่ 10.00-20.00 น.ทุกวัน
ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 กล่าวว่า การรณรงค์เพื่อทำให้คนเห็นความสำคัญของการรู้ผลเลือดตัวเองนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสถานการณ์เรื่องเอดส์ในสังคมไทย และการทำงานเพื่อทำให้คนที่ผลเลือดเป็นลบรักษาสถานะการไม่ติดเชื้อเอชไอวีของตัวเองได้ตลอดไปนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และคิดว่าภาครัฐต้องสนับสนุนทั้งในเรื่องของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การออกหน่วยบริการปรึกษาและตรวจเลือดเคลื่อนที่ และการกำหนดนโยบายเรื่องการทำงานเอดส์ให้ชัดเจน
“มาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์นั้น ผมคิดว่ารัฐทำได้ดีโดยจะเห็นว่าการให้สิทธิประโยชน์การดูแลรักษาแก่ประชาชนทุกสิทธิ ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากเอดส์ลดลงมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐจะต้องทำควบคู่ไปด้วย คือ การสนับสนุนงานด้านป้องกัน โดยการปรับกระบวนการทำงานเรื่องเอดส์ ให้ความสำคัญเรื่องการจัดงบประมาณที่เพียงพอต่องานส่งเสริมการป้องกัน ที่สำคัญต้องหาองค์กรหลัก ที่จะเป็นแม่ทัพ เป็นเจ้าภาพที่จะสร้างความมีส่วนร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในการทำงานเรื่องนี้ ถ้ารัฐบาลทำได้ก็จะถือว่าได้มอบของขวัญชิ้นใหญ่ให้แก่คนทั้งประเทศ หากปีใหม่นี้ทำไม่ทันก็เป็นช่วงวาเลนไทน์ก็ได้” นายนิมิตร์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการออกหน่วยบริการตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ ในช่วงวันเอดส์โลก 30 พ.ย.-1 ธ.ค. ของกระทรวงสาธารณสุข สายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 สภากาชาดไทย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และองค์การแพธ ภายใต้ชื่อ “เอชไอวี ตรวจ...เพื่อก้าวต่อ” ที่ห้างสรรพสินค้า 5 แห่ง คือ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน สาขาบางกะปิ สาขาบางแค และที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาพระราม 2 และพระราม 3 พบว่ามีผู้มารับบริการ 688 ราย เป็นชาย 432 ราย หญิง 256 ราย ในจำนวนนี้พบว่าติดเชื้อเอชไอวี 25 ราย คิดเป็น 3.6% ถือว่าสูงกว่าอัตราการติดเชื้อในภาพรวมของประเทศซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1%
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จำนวนผู้รับบริการดังกล่าวถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่ว่าคนไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการรู้ผลเลือดของตัวเอง โดยกล้าและมั่นใจที่จะเดินออกมาตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งมองว่าการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเป็นเรื่องปกติเหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้รับบริการเองที่จะได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วหากตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อ หากไม่ติดเชื้อก็จะได้รับการปรึกษาเพื่อการป้องกันต่อไป อย่างไรก็ตาม เห็นว่าตัวเลขการติดเชื้อของผู้มารับบริการ 3.6% นั้นค่อนข้างสูง โดยสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ 1% จากการเฝ้าระวัง สุ่มตรวจในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีลดลงให้ได้ แนวทางหนึ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ก็คือ ประเมินความเสี่ยงของตัวเอง และหากมีความเสี่ยงก็สามารถไปใช้บริการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปีละ 2 ครั้ง หรือโทร.ปรึกษาได้ที่ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์ตั้งแต่ 10.00-20.00 น.ทุกวัน
ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสายด่วนปรึกษาเอดส์ 1663 กล่าวว่า การรณรงค์เพื่อทำให้คนเห็นความสำคัญของการรู้ผลเลือดตัวเองนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสถานการณ์เรื่องเอดส์ในสังคมไทย และการทำงานเพื่อทำให้คนที่ผลเลือดเป็นลบรักษาสถานะการไม่ติดเชื้อเอชไอวีของตัวเองได้ตลอดไปนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และคิดว่าภาครัฐต้องสนับสนุนทั้งในเรื่องของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การออกหน่วยบริการปรึกษาและตรวจเลือดเคลื่อนที่ และการกำหนดนโยบายเรื่องการทำงานเอดส์ให้ชัดเจน
“มาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์นั้น ผมคิดว่ารัฐทำได้ดีโดยจะเห็นว่าการให้สิทธิประโยชน์การดูแลรักษาแก่ประชาชนทุกสิทธิ ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากเอดส์ลดลงมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐจะต้องทำควบคู่ไปด้วย คือ การสนับสนุนงานด้านป้องกัน โดยการปรับกระบวนการทำงานเรื่องเอดส์ ให้ความสำคัญเรื่องการจัดงบประมาณที่เพียงพอต่องานส่งเสริมการป้องกัน ที่สำคัญต้องหาองค์กรหลัก ที่จะเป็นแม่ทัพ เป็นเจ้าภาพที่จะสร้างความมีส่วนร่วมกับองค์กรอื่นๆ ในการทำงานเรื่องนี้ ถ้ารัฐบาลทำได้ก็จะถือว่าได้มอบของขวัญชิ้นใหญ่ให้แก่คนทั้งประเทศ หากปีใหม่นี้ทำไม่ทันก็เป็นช่วงวาเลนไทน์ก็ได้” นายนิมิตร์กล่าว