สวนดุสิตโพล เผย ปชช.ส่วนใหญ่พอใจการทำงานของ จนท.ในการอำนวยความสะดวกช่วงปีใหม่ ขณะที่ 44.83% เห็นว่าอุบัติเหตุที่เกิดมาจากผู้ขับขี่ประมาท อีกทั้ง 36.93% สาเหตุจากเมาแล้วขับ
จากที่รัฐบาลมีมาตรการลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย แต่จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุ 3,176 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 365 ราย ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว และบาดเจ็บ 3,329 ราย ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการแก้ปัญหา จำนวน 1,285 คน ระหว่างวันที่ 3-5 มกราคม 2556 สรุปผลดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชนกับการเกิดอุบัติเหตุในช่วงวันหยุดปีใหม่
อันดับ 1 อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากตัวผู้ขับขี่เองที่ประมาท ไม่เคารพกฎจราจร เมาแล้วขับ 44.83% อันดับ 2 เป็นเรื่องปกติในช่วงปีใหม่ที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวันมักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ ทั้งที่มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการขับขี่อย่างปลอดภัยอยู่แล้วก็ตาม 21.07% อันดับ 3 นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจของครอบครัวที่ต้องสูญเสียคนที่รักไป 20.69% อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ต้องทำงานอย่างหนัก แต่ก็ยังดูแลไม่ทั่วถึงเนื่องจากมีประชาชนใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก 13.41%
2. สาเหตุที่ทำให้การเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ ไม่ลดลง อันดับ 1 ขับรถขณะเมาสุรา/เมาแล้วขับ/หลับใน 36.93% อันดับ 2 ขับรถเร็ว/ประมาท 27.83% อันดับ 3 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่สวมหมวกกันน็อก/ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 21.34% อันดับ 4 สภาพเครื่องยนต์ชำรุด มีปัญหา 13.90%
3. ความพึงพอใจของประชาชนในภาพรวม ต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแล ให้บริการและอำนวย ความสะดวกต่างๆ แก่ประชาชนในช่วงปีใหม่ อันดับ 1 พึงพอใจ 64.78% เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความเสียสละ ทำงานหนัก คอยให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนตลอดช่วงวันหยุดปีใหม่ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่พึงพอใจ 35.22% เพราะจากที่พบเห็นในบางจุดไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ให้บริการแก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง ฯลฯ
4. วิธีป้องกัน แก้ไขการเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ที่เป็นรูปธรรมหรือได้ผลมากที่สุด อันดับ 1 ตัวผู้ขับขี่เองจะต้องตระหนัก คิดถึงคนอื่น และเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากขึ้น 34.75% อันดับ 2 ติดตั้งป้ายจราจร ป้ายเตือนต่างๆ ให้ชัดเจน ไฟสัญญาณจราจรใช้งานได้ ไฟฟ้าตามทางต้องสว่าง 30.79% อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้มงวดกวดขัน มีบทลงโทษที่เด็ดขาด 26.27% อันดับ 4 ต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้ขับขี่ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ประมาท 8.19%
จากที่รัฐบาลมีมาตรการลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย แต่จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุ 3,176 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 365 ราย ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว และบาดเจ็บ 3,329 ราย ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการแก้ปัญหา จำนวน 1,285 คน ระหว่างวันที่ 3-5 มกราคม 2556 สรุปผลดังนี้
1. ความคิดเห็นของประชาชนกับการเกิดอุบัติเหตุในช่วงวันหยุดปีใหม่
อันดับ 1 อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากตัวผู้ขับขี่เองที่ประมาท ไม่เคารพกฎจราจร เมาแล้วขับ 44.83% อันดับ 2 เป็นเรื่องปกติในช่วงปีใหม่ที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวันมักมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ ทั้งที่มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการขับขี่อย่างปลอดภัยอยู่แล้วก็ตาม 21.07% อันดับ 3 นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจของครอบครัวที่ต้องสูญเสียคนที่รักไป 20.69% อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ต้องทำงานอย่างหนัก แต่ก็ยังดูแลไม่ทั่วถึงเนื่องจากมีประชาชนใช้รถใช้ถนนจำนวนมาก 13.41%
2. สาเหตุที่ทำให้การเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ ไม่ลดลง อันดับ 1 ขับรถขณะเมาสุรา/เมาแล้วขับ/หลับใน 36.93% อันดับ 2 ขับรถเร็ว/ประมาท 27.83% อันดับ 3 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่สวมหมวกกันน็อก/ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 21.34% อันดับ 4 สภาพเครื่องยนต์ชำรุด มีปัญหา 13.90%
3. ความพึงพอใจของประชาชนในภาพรวม ต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแล ให้บริการและอำนวย ความสะดวกต่างๆ แก่ประชาชนในช่วงปีใหม่ อันดับ 1 พึงพอใจ 64.78% เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความเสียสละ ทำงานหนัก คอยให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนตลอดช่วงวันหยุดปีใหม่ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่พึงพอใจ 35.22% เพราะจากที่พบเห็นในบางจุดไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ให้บริการแก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง ฯลฯ
4. วิธีป้องกัน แก้ไขการเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ที่เป็นรูปธรรมหรือได้ผลมากที่สุด อันดับ 1 ตัวผู้ขับขี่เองจะต้องตระหนัก คิดถึงคนอื่น และเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากขึ้น 34.75% อันดับ 2 ติดตั้งป้ายจราจร ป้ายเตือนต่างๆ ให้ชัดเจน ไฟสัญญาณจราจรใช้งานได้ ไฟฟ้าตามทางต้องสว่าง 30.79% อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้มงวดกวดขัน มีบทลงโทษที่เด็ดขาด 26.27% อันดับ 4 ต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้ขับขี่ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ประมาท 8.19%