“พินิติ” รับคำสั่ง “พงศ์เทพ” ติดตามผลกองทุนตั้งตัวได้ ร่อนแบบสอบถามทดลองถึงมหา’ลัย วิทยาลัย คาดได้ข้อมูลกลับมากลางเดือน ม.ค.ก่อนจะปรับปรุงส่งต่ออีกครั้ง
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ให้ตรวจและติดตามนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งที่ผ่านมา ตนและคณะทำงานได้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับเรื่องกองทุนตั้งตัวได้จำนวน 28 ชุด และนำไปทดลองสอบถามผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 13 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 15 แห่ง โดยประเด็นสอบถาม เช่น จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่สมัครกองทุนตัังตัวได้ สถาบันการศึกษามีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกองทุนตั้งตัวได้หรือไม่ อย่างไร มีการกำหนดแผนงานหรือแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายหรือไม่ สถานศึกษามีการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่อย่างไร และปัญหาอุปสรรค การแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ และข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต้นสังกัด หรือ ศธ.เพื่อเน้นการสนับสนุนให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จได้อย่างดีอย่างไร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ช่วงกลางเดือน ม.ค.แบบสอบถามทดลองน่าจะส่งกับมาที่ ศธ.จากนั้นตนจะดูว่าผลการสอบถามเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ได้เชิงประจักษ์หรือไม่ คำถามครอบคลุมแล้วหรือไม่อย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุงแบบสอบถามสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งไม่เกินปลายเดือน ม.ค.น่าจะส่งแบบสอบถามกลับไปสอบถามผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศอีกครั้ง โดยสอบถามผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน 15 แห่ง และสถาบันอุดศึกษาสังกัด สอศ.ทั้งหมด คาดว่า กลางเดือน ก.พ.สถาบันอุดมศึกษาจะส่งแบบสอบถามกลับมาที่ ศธ.และสรุปผลแบบสอบถามเสร็จ เพื่อนำผลแบบสอบถามเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ต่อไป
รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ให้ตรวจและติดตามนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งที่ผ่านมา ตนและคณะทำงานได้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับเรื่องกองทุนตั้งตัวได้จำนวน 28 ชุด และนำไปทดลองสอบถามผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 13 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 15 แห่ง โดยประเด็นสอบถาม เช่น จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่สมัครกองทุนตัังตัวได้ สถาบันการศึกษามีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกองทุนตั้งตัวได้หรือไม่ อย่างไร มีการกำหนดแผนงานหรือแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายหรือไม่ สถานศึกษามีการสำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่อย่างไร และปัญหาอุปสรรค การแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ และข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต้นสังกัด หรือ ศธ.เพื่อเน้นการสนับสนุนให้นโยบายนี้ประสบความสำเร็จได้อย่างดีอย่างไร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ช่วงกลางเดือน ม.ค.แบบสอบถามทดลองน่าจะส่งกับมาที่ ศธ.จากนั้นตนจะดูว่าผลการสอบถามเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ได้เชิงประจักษ์หรือไม่ คำถามครอบคลุมแล้วหรือไม่อย่างไร เพื่อนำมาปรับปรุงแบบสอบถามสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งไม่เกินปลายเดือน ม.ค.น่าจะส่งแบบสอบถามกลับไปสอบถามผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศอีกครั้ง โดยสอบถามผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน 15 แห่ง และสถาบันอุดศึกษาสังกัด สอศ.ทั้งหมด คาดว่า กลางเดือน ก.พ.สถาบันอุดมศึกษาจะส่งแบบสอบถามกลับมาที่ ศธ.และสรุปผลแบบสอบถามเสร็จ เพื่อนำผลแบบสอบถามเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนตั้งตัวได้ต่อไป