แพทย์ชี้ เหตุสังหารหมู่เกิดจากปม “แค้นสังคม” เลือกฆ่าคนเป็นการกลบแผลในใจ เตือนคนไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เหตุเครียดภาวะแวดล้อมมาก หวั่นเป็นภัยร้ายในยุคหน้า แนะครอบครัวสอนด้วยการกระทำเป็นตัวอย่างที่ดี ทบทวนสิ่งผิดพลาดในอดีต และใช้ความรักความเมตตาเป็นฐาน
นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวถึงกรณีหนุ่มวัยรุ่นอเมริกันก่อเหตุกระหน่ำยิงเด็กนักเรียนชั้นประถมและถึงผู้ใหญ่ตาย 27 ราย ในรัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายฝ่ายหวั่นจะเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ว่า ในโลกนี้มีคนอยู่ 2 กลุ่มที่รู้สึกถึงปีที่ผ่านไป โดยกลุ่มแรก คือ คนที่รู้สึกเหมือนคนทั่วๆ ไป มียินดีมีเฉยๆ บ้าง ส่วนอีกกลุ่ม คือ คนที่อยากให้ผ่านไปเร็วๆ เพราะรู้สึกชีวิตสิ้นหวังเหลือเกินแล้วจะอยู่หรือตายก็ใกล้ๆ กัน คนกลุ่มหลังน่าห่วง เพราะมันเป็นอาการหนึ่งของ “ซึมเศร้าแฝง” ที่อาจกระตุ้นให้คนคนนั้นทำร้ายตัวเองหรือดึงคนอื่นไปเป็นอันตรายด้วยก็ได้
นพ.กฤษดา กล่าวว่า ประเทศไทยเองก็มีผู้ที่เครียดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาก ถ้าเป็นมากเข้าจะมีอาการจิตป่วยซึมเศร้า หดหู่ไปจนถึงก้าวร้าว เรียกว่าป่วยด้วยปมแค้นสังคม แล้วก็อยากแก้แค้นให้สาสมใจทำร้ายใครไม่ได้ก็ทำร้ายตัวเอง เช่น อดอาหาร ไม่กินยา ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ไปทำงาน ฯลฯ แต่ถ้ามีความก้าวร้าวและชอบรุนแรงอยู่ในดวงจิตด้วยแล้วอาจไม่หยุดแค่นั้น คนกลุ่มนี้มีแรงขับสูงเป็นพลังก้าวร้าวที่อยู่ในตัวก็จะลามไปถึงขั้นฆ่าคนอื่นที่ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อได้เพื่อให้สะใจในการแก้แค้นสังคม
นพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า ในฐานะนักค้นคว้าประวัติศาสตร์คนหนึ่ง รู้ดีว่าเหตุการณ์สะเทือนใจสามารถกลับมาซ้ำรอยเดิมอีกได้ จึงอยากให้เข้าใจและรู้ทันไว้ก่อนเป็นการไม่ประมาท เพราะเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องเศร้า ข่าวร้าย และความรุนแรงเป็นของชอบของหลายคน เพราะมันสนองสัญชาตญาณดิบส่วนลึกของเรา มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณดิบอยู่ในสมอง โดยสมองส่วนเถื่อนถ้ำนี้อยู่ลึกและถูกกดไว้โดยเปลือกสมองที่ศิวิไลซ์กว่า ดังนั้น เรื่องประเภทข่าวร้ายหน้าหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่เตะสมองคนได้มากกว่าอย่างไม่น่าแปลกใจ ไม่ใช่ความผิดปกติแต่หากชอบจนติดหรือถึงขั้นใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ร้ายเสียเองนั่นจึงจะเรียกว่าร้ายของจริง
“แม้คนเราจะแอบมีจิตซาดิสต์อยู่ลึกๆ บ้าง แต่ในวิญญูชนมันจะถูกเก็บกวาดออกไปหมดด้วยสมองส่วนเหตุและผล ดังนั้น จะว่าความโหดร้ายเป็นเรื่องธรรมดาก็คงไม่ใช่แน่นอน คนที่มีสิทธิ์จะทำเรื่องเลวร้ายที่สุดจากจิตสั่งอาจเป็นคนบุคลิกเรียบร้อย ไม่มีปากเสียง หน้านิ่ง แต่วันหนึ่งก็กระโดดโผงขึ้นมาฆ่าคนอย่างเป็นผักปลาไปก็ได้” นพ.กฤษดา กล่าว
นพ.กฤษดา กล่าวด้วยว่า สำหรับเทคนิคสังเกตคนที่เข้าข่ายสุ่มเสี่ยง คือ 1.เป็นคนมีปม ซึ่งคนที่ลุกขึ้นมาฆ่ามนุษย์บริสุทธิ์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันได้ จะต้องมีปมในใจชนิดไม่ธรรมดา บางคนอาจมีปมที่บ้านว่าเกิดเป็นลูกที่ถูกทอดทิ้ง ถูกเฆี่ยนตี ซึ่งปมแต่เด็กนี้เจอได้บ่อย หรือบางรายเป็นปมที่ถูกล้อเลียนแบบจี้ใจดำถูกจุดในเรื่องรูปร่าง เชื้อชาติ นิสัย ฯลฯ จากเพื่อนและคนใกล้ตัวบ่อยๆ รวมถึงถูกกลั่นแกล้งอย่างรุนแรงทางกาย อันนี้ก็ทำให้คนธรรมดากลายเป็นคนบ้าจากแผลในใจที่ไม่ปล่อยวางได้ 2.เก็บกด เมื่อมีปมไปแล้วถ้ายังคลายปมไม่ได้ก็กลายเป็นเก็บกด เข้าสู่กระบวนการปกป้องจิตใจตัวเอง ซึ่งเป็นกลไกทางจิตที่ช่วยเยียวยารักษาหัวใจให้ไม่ทุกข์กับโลกแห่งความจริงมากนัก มีตั้งแต่การระบายด้วยคำพูด ทำร้ายสัตว์หรือเด็กที่อ่อนแอกว่าและคิดรุนแรงสร้างภาพในหัวอยู่อย่างเดียวว่าถ้าแก้แค้นสังคมได้ก็คงดี เรื่องนี้มีทางแก้ง่ายๆ คือ ใช้การระบายอย่างสร้างสรรค์เช่นการออกกำลังกาย หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงช่วยดูแลอาบน้ำให้ ก็จะช่วยล้างพลังลบที่ถูกกลบอยู่ในใจได้
3.ครอบครัวหดหู่และแตกแยก เพราะมีแต่เรื่องราวให้หนักหัว เช่น ทะเลาะกันไม่เว้นวัน มีคนติดเหล้าติดยาเสพติดในบ้าน มีการนอกใจกันหรือมีปัญหาเศรษฐกิจมีชีวิตลำบากทั้งการอยู่การกิน ส่งผลทำร้ายจิตใจสมาชิกในครอบครัวแบบซึมลึกเก็บกดไปเรื่อยๆ นั่งกินข้าวก็เครียด คุยกันก็ไม่แคล้วทะเลาะกลายเป็นอยู่นอกบ้านสบายใจกว่า ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยเข้าแล้วก็จะทำให้สมาชิกบางคนที่มีความเสี่ยงป่วยจิตอยู่แล้วเกิดอาการซึมเศร้า ก้าวร้าวไปจนถึงอารมณ์รุนแรงอยากแกล้งสังคมเพื่อเป็นการระบายเพราะมองอะไรก็เห็นแย่ไปหมด ถ้าเป็นเด็กอาจแกล้งเพื่อน แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วก็อาจเข้าขั้นฆาตกรสังหารหมู่ได้ และ 4.แรงกดดันมหาศาล คนที่มีแนวโน้มจะก้าวร้าวนั้นมักมีแรงดันอันเป็นพลังดิบข้างในที่มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจเป็นได้จากพันธุกรรม หรือพูดง่ายว่าดิบจากในดีเอ็นเอ แต่ก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัวว่าจะพ้นจากภาวะนั้นไม่ได้ เพราะต้นทุนอีกครึ่งหนึ่งคือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ถ้าคนรอบตัวเติมแรงกดดันให้ เช่น ทะเลาะกัน เอาแต่ใจ บังคับ แกล้งกัน การบังคับหัวใจเช่นนี้จะเป็นปุ๋ยเร่งแรงดันชั้นดีให้ระเบิด ทะลุการควบคุมออกมา
“การแก้ไขความหยาบกระด้าง นอกจากจะใช้ความรักและเมตตาแล้ว ยังมีสิ่งภายนอกที่จะช่วยได้ง่ายๆ และทุกคนช่วยกันทำได้ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน เปลี่ยนบ้านให้เป็นที่พักใจ ใช้เราเป็นตัวอย่าง สอนด้วยการกระทำ ทำเพื่อคนอื่นก่อน ดูตัวอย่างที่ผิดพลาดในอดีต เป็นต้น” ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์ฯ กล่าว
นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวถึงกรณีหนุ่มวัยรุ่นอเมริกันก่อเหตุกระหน่ำยิงเด็กนักเรียนชั้นประถมและถึงผู้ใหญ่ตาย 27 ราย ในรัฐคอนเนกติคัต สหรัฐอเมริกา ซึ่งหลายฝ่ายหวั่นจะเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ว่า ในโลกนี้มีคนอยู่ 2 กลุ่มที่รู้สึกถึงปีที่ผ่านไป โดยกลุ่มแรก คือ คนที่รู้สึกเหมือนคนทั่วๆ ไป มียินดีมีเฉยๆ บ้าง ส่วนอีกกลุ่ม คือ คนที่อยากให้ผ่านไปเร็วๆ เพราะรู้สึกชีวิตสิ้นหวังเหลือเกินแล้วจะอยู่หรือตายก็ใกล้ๆ กัน คนกลุ่มหลังน่าห่วง เพราะมันเป็นอาการหนึ่งของ “ซึมเศร้าแฝง” ที่อาจกระตุ้นให้คนคนนั้นทำร้ายตัวเองหรือดึงคนอื่นไปเป็นอันตรายด้วยก็ได้
นพ.กฤษดา กล่าวว่า ประเทศไทยเองก็มีผู้ที่เครียดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาก ถ้าเป็นมากเข้าจะมีอาการจิตป่วยซึมเศร้า หดหู่ไปจนถึงก้าวร้าว เรียกว่าป่วยด้วยปมแค้นสังคม แล้วก็อยากแก้แค้นให้สาสมใจทำร้ายใครไม่ได้ก็ทำร้ายตัวเอง เช่น อดอาหาร ไม่กินยา ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ไปทำงาน ฯลฯ แต่ถ้ามีความก้าวร้าวและชอบรุนแรงอยู่ในดวงจิตด้วยแล้วอาจไม่หยุดแค่นั้น คนกลุ่มนี้มีแรงขับสูงเป็นพลังก้าวร้าวที่อยู่ในตัวก็จะลามไปถึงขั้นฆ่าคนอื่นที่ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อได้เพื่อให้สะใจในการแก้แค้นสังคม
นพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า ในฐานะนักค้นคว้าประวัติศาสตร์คนหนึ่ง รู้ดีว่าเหตุการณ์สะเทือนใจสามารถกลับมาซ้ำรอยเดิมอีกได้ จึงอยากให้เข้าใจและรู้ทันไว้ก่อนเป็นการไม่ประมาท เพราะเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องเศร้า ข่าวร้าย และความรุนแรงเป็นของชอบของหลายคน เพราะมันสนองสัญชาตญาณดิบส่วนลึกของเรา มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณดิบอยู่ในสมอง โดยสมองส่วนเถื่อนถ้ำนี้อยู่ลึกและถูกกดไว้โดยเปลือกสมองที่ศิวิไลซ์กว่า ดังนั้น เรื่องประเภทข่าวร้ายหน้าหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่เตะสมองคนได้มากกว่าอย่างไม่น่าแปลกใจ ไม่ใช่ความผิดปกติแต่หากชอบจนติดหรือถึงขั้นใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ร้ายเสียเองนั่นจึงจะเรียกว่าร้ายของจริง
“แม้คนเราจะแอบมีจิตซาดิสต์อยู่ลึกๆ บ้าง แต่ในวิญญูชนมันจะถูกเก็บกวาดออกไปหมดด้วยสมองส่วนเหตุและผล ดังนั้น จะว่าความโหดร้ายเป็นเรื่องธรรมดาก็คงไม่ใช่แน่นอน คนที่มีสิทธิ์จะทำเรื่องเลวร้ายที่สุดจากจิตสั่งอาจเป็นคนบุคลิกเรียบร้อย ไม่มีปากเสียง หน้านิ่ง แต่วันหนึ่งก็กระโดดโผงขึ้นมาฆ่าคนอย่างเป็นผักปลาไปก็ได้” นพ.กฤษดา กล่าว
นพ.กฤษดา กล่าวด้วยว่า สำหรับเทคนิคสังเกตคนที่เข้าข่ายสุ่มเสี่ยง คือ 1.เป็นคนมีปม ซึ่งคนที่ลุกขึ้นมาฆ่ามนุษย์บริสุทธิ์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันได้ จะต้องมีปมในใจชนิดไม่ธรรมดา บางคนอาจมีปมที่บ้านว่าเกิดเป็นลูกที่ถูกทอดทิ้ง ถูกเฆี่ยนตี ซึ่งปมแต่เด็กนี้เจอได้บ่อย หรือบางรายเป็นปมที่ถูกล้อเลียนแบบจี้ใจดำถูกจุดในเรื่องรูปร่าง เชื้อชาติ นิสัย ฯลฯ จากเพื่อนและคนใกล้ตัวบ่อยๆ รวมถึงถูกกลั่นแกล้งอย่างรุนแรงทางกาย อันนี้ก็ทำให้คนธรรมดากลายเป็นคนบ้าจากแผลในใจที่ไม่ปล่อยวางได้ 2.เก็บกด เมื่อมีปมไปแล้วถ้ายังคลายปมไม่ได้ก็กลายเป็นเก็บกด เข้าสู่กระบวนการปกป้องจิตใจตัวเอง ซึ่งเป็นกลไกทางจิตที่ช่วยเยียวยารักษาหัวใจให้ไม่ทุกข์กับโลกแห่งความจริงมากนัก มีตั้งแต่การระบายด้วยคำพูด ทำร้ายสัตว์หรือเด็กที่อ่อนแอกว่าและคิดรุนแรงสร้างภาพในหัวอยู่อย่างเดียวว่าถ้าแก้แค้นสังคมได้ก็คงดี เรื่องนี้มีทางแก้ง่ายๆ คือ ใช้การระบายอย่างสร้างสรรค์เช่นการออกกำลังกาย หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงช่วยดูแลอาบน้ำให้ ก็จะช่วยล้างพลังลบที่ถูกกลบอยู่ในใจได้
3.ครอบครัวหดหู่และแตกแยก เพราะมีแต่เรื่องราวให้หนักหัว เช่น ทะเลาะกันไม่เว้นวัน มีคนติดเหล้าติดยาเสพติดในบ้าน มีการนอกใจกันหรือมีปัญหาเศรษฐกิจมีชีวิตลำบากทั้งการอยู่การกิน ส่งผลทำร้ายจิตใจสมาชิกในครอบครัวแบบซึมลึกเก็บกดไปเรื่อยๆ นั่งกินข้าวก็เครียด คุยกันก็ไม่แคล้วทะเลาะกลายเป็นอยู่นอกบ้านสบายใจกว่า ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยเข้าแล้วก็จะทำให้สมาชิกบางคนที่มีความเสี่ยงป่วยจิตอยู่แล้วเกิดอาการซึมเศร้า ก้าวร้าวไปจนถึงอารมณ์รุนแรงอยากแกล้งสังคมเพื่อเป็นการระบายเพราะมองอะไรก็เห็นแย่ไปหมด ถ้าเป็นเด็กอาจแกล้งเพื่อน แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วก็อาจเข้าขั้นฆาตกรสังหารหมู่ได้ และ 4.แรงกดดันมหาศาล คนที่มีแนวโน้มจะก้าวร้าวนั้นมักมีแรงดันอันเป็นพลังดิบข้างในที่มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งอาจเป็นได้จากพันธุกรรม หรือพูดง่ายว่าดิบจากในดีเอ็นเอ แต่ก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัวว่าจะพ้นจากภาวะนั้นไม่ได้ เพราะต้นทุนอีกครึ่งหนึ่งคือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ถ้าคนรอบตัวเติมแรงกดดันให้ เช่น ทะเลาะกัน เอาแต่ใจ บังคับ แกล้งกัน การบังคับหัวใจเช่นนี้จะเป็นปุ๋ยเร่งแรงดันชั้นดีให้ระเบิด ทะลุการควบคุมออกมา
“การแก้ไขความหยาบกระด้าง นอกจากจะใช้ความรักและเมตตาแล้ว ยังมีสิ่งภายนอกที่จะช่วยได้ง่ายๆ และทุกคนช่วยกันทำได้ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน เปลี่ยนบ้านให้เป็นที่พักใจ ใช้เราเป็นตัวอย่าง สอนด้วยการกระทำ ทำเพื่อคนอื่นก่อน ดูตัวอย่างที่ผิดพลาดในอดีต เป็นต้น” ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์ฯ กล่าว