15 ชุมชน ฝั่งธนฯ ร่วมตัวจัดกิจกรรม อนุรักษ์วิถีฝังธนฯ หนุนร่าง พ.ร.บ.กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ฉบับประชาชน ย้ำ เป็นเครื่องมือ ต่อลมหายใจสื่อพื้นบ้าน หวังสร้างเด็กเยาวชนรุ่นใหม่สืบทอด หลังถูกสังคมทุนนิยมรุกหนัก สร้างปัญหาให้เด็กและชุมชน พ้อรัฐไม่ค่อยให้ความสำคัญ
วันนี้ (15 ธ.ค.) ที่วัดโพธิ์เรียง กทม.15 ชุมชนฝั่งธนบุรี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรม ตามหาของดีวิถีชุมชนฝั่งธนบุรี ตอน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฯ (ฉบับประชาชน) ต่อลมหายใจสื่อพื้นบ้าน เพื่อแสดงพลังและถ่ายทอดวิถีชุมชนที่อยู่และสืบทอดมานับร้อยๆ ปี รวมทั้งเป็นโซนชุมชนที่สร้างศิลปินแห่งชาติสาขาต่างๆ นับ 10 ท่าน
ด้าน นายนรินทร์ แป้นประเสริฐ แกนนำชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย กล่าวว่า ชุมชนฝั่งธนฯ เป็นชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิม ชาวบ้านยังรักษาขนบธรรมเนียม วิถีประเพณีอยู่อย่างเหนียวแน่น แต่ด้วยความเจริญของสังคมเมือง และระบบเศรษฐกิจและการย้ายถิ่นของประชาชน ทำให้วัฒนธรรมประเพณีถูกรุกราน ละเลย ไม่ให้ความสำคัญ อีกทั้งศิลปวัฒนธรรมดีๆ หลายอย่างก็สูญหายตายไปกับปราชญ์ผู้รู้ ขาดการถ่ายทอด สู่ลูกหลาน เราจัดงานนี้เพื่ออนุรักษ์รักษา และเตือนความทรงจำให้กับคนในชุมชนให้ร่วมรักษาสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดีๆ ของเราไว้ เพราะที่ผ่านมา รัฐเองก็ละเลย ไม่ค่อยสนใจที่จะอนุรักษ์อย่างจริงจัง เราอยากให้ กทม.และ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิมอย่างยั่งยืน
ด้านนายอนุชา เกื้อจรูญ ปราชญ์ชุมชน ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ชุมชนตรอกข้าวเม่า กล่าวว่า ประเพณี วัฒนธรรม ที่คนโบราณเขาคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ล้วนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวของยุคสมัย และวิถีการดำรงอยู่ของผู้คน ตลอดจนเป็นการสื่อความถึงจารีตวัฒนธรรม และข้อปฏิบัติของยุคสมัยชุมชนนั้นๆ ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น สื่อพื้นบ้าน ในชุมชนถูกละเลย ขาดการสืบสานต่อ ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของชุมชนในการสร้างเกราะป้องกันให้กับเด็กเยาวชน ชุมชน ดังตัวอย่างที่เรานำมาโชว์วันนี้ ว่า ศิลปวัฒนธรรม สามารถจับต้องได้ เข้าถึงเด็กๆ ได้ ช่วยป้องกันเด็กไม่ให้หลุดไปอยู่ในพื้นที่อโคจรที่เป็นภัยต่อเขา คาดหวังว่า ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์(ฉบับประชาชน) ที่กำลังเข้าสภา จะเป็นกลไกและเครื่องมือสนับสนุนการดำรงอยู่ของสื่อพื้นบ้านและศิลปวัฒนธรรมชุมชนให้มีความยั่งยืนได้
ทั้งนี้ กิจกรรมในวันนี้ ได้มี อาจารย์ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ มาร่วมเป็นวิทยากร และประชาชนจากชุมชนวัดโพธิ์เรียงกว่า 200 คน มาร่วมทำกิจกรรมตามฐานต่างๆ เช่น ฐานทำข้าวเม่าโบราณ ฐานตอนต้นไม้ ฐานทำว่าว ฐานทำเรือจากกากมะพร้าว และซุ้มกิจกรรม อาทิ ซุ้มทำม้าก้านกล้วย ซุ้มระบายสี ซุ้มแป้งปัน ซุ้มทำกล่องอเนกประสงค์ ซุ้มทำกระเป๋าผ้า
วันนี้ (15 ธ.ค.) ที่วัดโพธิ์เรียง กทม.15 ชุมชนฝั่งธนบุรี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรม ตามหาของดีวิถีชุมชนฝั่งธนบุรี ตอน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฯ (ฉบับประชาชน) ต่อลมหายใจสื่อพื้นบ้าน เพื่อแสดงพลังและถ่ายทอดวิถีชุมชนที่อยู่และสืบทอดมานับร้อยๆ ปี รวมทั้งเป็นโซนชุมชนที่สร้างศิลปินแห่งชาติสาขาต่างๆ นับ 10 ท่าน
ด้าน นายนรินทร์ แป้นประเสริฐ แกนนำชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย กล่าวว่า ชุมชนฝั่งธนฯ เป็นชุมชนเก่าแก่ดั้งเดิม ชาวบ้านยังรักษาขนบธรรมเนียม วิถีประเพณีอยู่อย่างเหนียวแน่น แต่ด้วยความเจริญของสังคมเมือง และระบบเศรษฐกิจและการย้ายถิ่นของประชาชน ทำให้วัฒนธรรมประเพณีถูกรุกราน ละเลย ไม่ให้ความสำคัญ อีกทั้งศิลปวัฒนธรรมดีๆ หลายอย่างก็สูญหายตายไปกับปราชญ์ผู้รู้ ขาดการถ่ายทอด สู่ลูกหลาน เราจัดงานนี้เพื่ออนุรักษ์รักษา และเตือนความทรงจำให้กับคนในชุมชนให้ร่วมรักษาสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดีๆ ของเราไว้ เพราะที่ผ่านมา รัฐเองก็ละเลย ไม่ค่อยสนใจที่จะอนุรักษ์อย่างจริงจัง เราอยากให้ กทม.และ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิมอย่างยั่งยืน
ด้านนายอนุชา เกื้อจรูญ ปราชญ์ชุมชน ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ชุมชนตรอกข้าวเม่า กล่าวว่า ประเพณี วัฒนธรรม ที่คนโบราณเขาคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา ล้วนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวของยุคสมัย และวิถีการดำรงอยู่ของผู้คน ตลอดจนเป็นการสื่อความถึงจารีตวัฒนธรรม และข้อปฏิบัติของยุคสมัยชุมชนนั้นๆ ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น สื่อพื้นบ้าน ในชุมชนถูกละเลย ขาดการสืบสานต่อ ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของชุมชนในการสร้างเกราะป้องกันให้กับเด็กเยาวชน ชุมชน ดังตัวอย่างที่เรานำมาโชว์วันนี้ ว่า ศิลปวัฒนธรรม สามารถจับต้องได้ เข้าถึงเด็กๆ ได้ ช่วยป้องกันเด็กไม่ให้หลุดไปอยู่ในพื้นที่อโคจรที่เป็นภัยต่อเขา คาดหวังว่า ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์(ฉบับประชาชน) ที่กำลังเข้าสภา จะเป็นกลไกและเครื่องมือสนับสนุนการดำรงอยู่ของสื่อพื้นบ้านและศิลปวัฒนธรรมชุมชนให้มีความยั่งยืนได้
ทั้งนี้ กิจกรรมในวันนี้ ได้มี อาจารย์ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ มาร่วมเป็นวิทยากร และประชาชนจากชุมชนวัดโพธิ์เรียงกว่า 200 คน มาร่วมทำกิจกรรมตามฐานต่างๆ เช่น ฐานทำข้าวเม่าโบราณ ฐานตอนต้นไม้ ฐานทำว่าว ฐานทำเรือจากกากมะพร้าว และซุ้มกิจกรรม อาทิ ซุ้มทำม้าก้านกล้วย ซุ้มระบายสี ซุ้มแป้งปัน ซุ้มทำกล่องอเนกประสงค์ ซุ้มทำกระเป๋าผ้า