ไม่ฟังธง! แก้เกณฑ์สอบคัดเลือกครูผู้ช่วยใหม่นำการสอบสัมภาษณ์มาใช้อีกครั้ง หลังจากเพิ่งแก้ไขตามนโยบาย “สุชาติ” ที่ให้ตัดการสอบสัมภาษณ์ทิ้ง เพราะห่วงปัญหาทุจริต เล่นพรรคเล่นพวก ด้าน บอร์ด ก.ค.ศ.เห็นท่าไม่ดีมีมติแขวนเรื่องดังกล่าวและเรื่องการกำหนดคุณสมบัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ อายุเกิน 70 ปีแต่มีแรงทำงานให้มาเป็น ทปอ.อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ได้รอเสนอให้ “พงศ์เทพ” ตัดสินใจในการประชุมเดือน ธ.ค.
วันนี้ (29 พ.ย.) นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการสอบแข่งขัน และหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เสนอให้เพิ่มการสอบภาค ค คือ ความเหมาะสมกับวิชาชีพโดยการสัมภาษณ์ เนื่องจากปัจจุบันหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นมีการตัดการสอบภาค ค ออก ซึ่งทำให้ได้ข้าราชการครูที่มีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นพ่อพิมพ์หรือแม่พิมพ์ที่ดีได้ ขณะเดียวกัน การสอบสัมภาษณ์ นั้นจะเป็นขั้นตอนที่สามารถทำให้เห็นปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ อาการทางจิตที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในลึกๆ รวมถึงเจตคติที่เกี่ยวกับความมั่นคงของผู้ที่ผ่านเข้ามาสู่การสอบสัมภาษณ์ได้ โดยเฉพาะกรณีต้องไปเป็นครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการอภิปรายเรื่องดังกล่าวอย่างขว้างขวาง และมีมติให้แขวนเรื่องนี้ไว้ก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องนโยบายที่ รมว.ศึกษาธิการ จะต้องพิจารณาตัดสิน
“เพิ่งมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ฯ ที่ตัดการสอบภาค ค ในปีนี้ในสมัย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ที่มีนโยบายให้กำหนดการสอบคัดเลือกเหลือเพียงการสอบภาค ก ความรอบรู้และความสามารถทั่วไป ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู และความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู และการสอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งวิชาเอกเท่านั้น เพราะเห็นว่าการสอบสัมภาษณ์จะก่อให้เกิดการทุจริต หรือเล่นพรรคเล่นพวกกัน ซึ่งขณะนี้ก็มีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างให้มีการสอบสัมภาษณ์กับไม่สอบสัมภาษณ์ ซึ่งก็จะนำผลดังกล่าวเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการพิจารณาประกอบด้วย” นางพนิตา กล่าวและว่า ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องคุณสมบัติของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาให้ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปแต่ยังมีความสามารถ และแข็งแรง สามารถเป็นที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการได้ แต่ที่ประชุมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องนโยบายเช่นกัน จึงได้แขวนไว้ และจะมีการหยิบยกทั้งสองเรื่องมาพิจารณาในการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งหน้าที่จะมีการประชุมในปลายเดือน ธ.ค.นี้
วันนี้ (29 พ.ย.) นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการสอบแข่งขัน และหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เสนอให้เพิ่มการสอบภาค ค คือ ความเหมาะสมกับวิชาชีพโดยการสัมภาษณ์ เนื่องจากปัจจุบันหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นมีการตัดการสอบภาค ค ออก ซึ่งทำให้ได้ข้าราชการครูที่มีบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นพ่อพิมพ์หรือแม่พิมพ์ที่ดีได้ ขณะเดียวกัน การสอบสัมภาษณ์ นั้นจะเป็นขั้นตอนที่สามารถทำให้เห็นปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ อาการทางจิตที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในลึกๆ รวมถึงเจตคติที่เกี่ยวกับความมั่นคงของผู้ที่ผ่านเข้ามาสู่การสอบสัมภาษณ์ได้ โดยเฉพาะกรณีต้องไปเป็นครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการอภิปรายเรื่องดังกล่าวอย่างขว้างขวาง และมีมติให้แขวนเรื่องนี้ไว้ก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องนโยบายที่ รมว.ศึกษาธิการ จะต้องพิจารณาตัดสิน
“เพิ่งมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ฯ ที่ตัดการสอบภาค ค ในปีนี้ในสมัย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ที่มีนโยบายให้กำหนดการสอบคัดเลือกเหลือเพียงการสอบภาค ก ความรอบรู้และความสามารถทั่วไป ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู และความถนัดและเจตคติต่อวิชาชีพครู และการสอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งวิชาเอกเท่านั้น เพราะเห็นว่าการสอบสัมภาษณ์จะก่อให้เกิดการทุจริต หรือเล่นพรรคเล่นพวกกัน ซึ่งขณะนี้ก็มีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างให้มีการสอบสัมภาษณ์กับไม่สอบสัมภาษณ์ ซึ่งก็จะนำผลดังกล่าวเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการพิจารณาประกอบด้วย” นางพนิตา กล่าวและว่า ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องคุณสมบัติของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาให้ผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปแต่ยังมีความสามารถ และแข็งแรง สามารถเป็นที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการได้ แต่ที่ประชุมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องนโยบายเช่นกัน จึงได้แขวนไว้ และจะมีการหยิบยกทั้งสองเรื่องมาพิจารณาในการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งหน้าที่จะมีการประชุมในปลายเดือน ธ.ค.นี้