กระทรวงสาธารณสุขไทย ประชุมร่วมกับประเทศเมียนมาร์และองค์กรระหว่างประเทศแก้ไขปัญหามาลาเรียตามแนวชายแดน เผยสถานการณ์ล่าสุดไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ในปี 2554 กว่า 30,000 ราย เสียชีวิต 12 ราย กว่าครึ่งเป็นต่างชาติ ร้อยละ 70 อยู่ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ พร้อมถ่ายทอดเทคนิคการตรวจรักษาด้วยยาเพียง 3 วันให้ครบ 100 เปอร์เซนต์แก่เมียนมาร์ ป้องกันปัญหาดื้อยา
วันนี้ (27 ต.ค.) ที่โรงแรมเทวมันตรา รีสอร์ท แอนด์สปา จ.กาญจนบุรี นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ ร่วมกับองค์กรนานาชาติมาลาเรียอาร์บีเอ็ม (Roll Back Malaria Partnership : RBM)โดยมี ดร.ฟาตูมาทา นาโฟ-ทราโอเร ผู้อำนวยการใหญ่อาร์บีเอ็มและคณะ ผู้บริหารระดับสูงประเทศเมียนมาร์ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้บริหารและนักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุขไทยและผู้แทนภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ(USAID)องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency :TICA) เข้าร่วมประชุมรวม 160 คน
นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวว่า คณะผู้บริหารโครงการมาลาเรียนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่องค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหามาลาเรียทั่วโลก ได้มอบหมายให้ประเทศไทยให้การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เช่นพม่า กัมพูชา ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรียซึ่งเป็นโรคประจำเขตร้อนชื้น รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ให้พร้อมต่อการเปิดประเทศของพม่าอีกด้วย เนื่องจากไทยมีผลสำเร็จในการดำเนินงาน และมีวิสัยทัศน์ให้ประเทศปลอดมาลาเรียภายในปี 2563โดยสามารถยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียอย่างถาวรครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80ของประเทศ อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้พื้นที่ในประเทศปลอดโรคเป็นผลสำเร็จ จะต้องสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานของประเทศเพื่อนบ้านด้วย เนื่องจากยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะนำโรคสามารถบินข้ามประเทศและยังมีปัญหาการเคลื่อนย้ายประชากรแรงงานอาจนำเชื้อมาแพร่ได้ โดยการประชุมครั้งนี้จะนำคณะที่เข้าประชุมดูงานใน อ.ไทรโยค ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัยเชื้อ การรักษา การเก็บข้อมูล ระบบการส่งต่อผู้ป่วย การป้องกันโรค และสื่อให้ความรู้ 2 ภาษา
นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า ผลการป้องกันควบคุมมาลาเรียของไทยตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาได้ผลดี สามารถลดจำนวนผู้ป่วยจากปี 2541 ลงเกือบ 4 เท่าตัว กล่าวคือจากจำนวน 125,000 ราย ลดลงเหลือ 34,002 รายในปี 2554 ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 55 เป็นชาวต่างชาติจำนวน 18,606 ราย ปัญหาสำคัญขณะนี้ก็คือ การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียตามแนวชายแดนพบมากที่สุดที่แนวชายแดนด้านเมียนมาร์ สาเหตุเกิดจากกินยาไม่ครบตามสูตร ทำให้อัตราการหายขาดลดต่ำลง จากเดิมเคยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จะเหลือ 80-90 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้ปรับสูตรยารักษาโรคมาลาเรียเป็นสูตรผสมมีประจำหน่วยมาลาเรียทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้เวลารักษาสั้นลงเหลือเพียง 3 วัน จากเดิมเคยกิน 14 วัน โดยให้เจ้าหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่อหน้าถึงบ้านซึ่งได้ผลดี ก็จะถ่ายทอดประสบการณ์ให้เมียนม่าร์ด้วย เพราะเชื้อมาลาเรียที่พบเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน ส่วนใหญ่ มี 2 ตัวคือพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)ซึ่งเป็นชนิดรุนแรง ทำให้เสียชีวิตและพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์(Plasmodiumvivax)
ทั้งนี้ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุดในปี 2553 พบผู้ป่วยมาลาเรียทั่วโลกประมาณ 216 ล้านราย เสียชีวิต 655,000 ราย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 25 โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมี 11 ประเทศ มีผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากอาฟริกา คาดว่ามีผู้ป่วยมาลาเรีย 28 ล้านราย เสียชีวิต 38,000 ราย กว่าร้อยละ 90 ของอยู่ใน 3 ประเทศคืออินเดีย อินโดนีเซียและเมียนมาร์ ทั้งนี้ โครงการมาลาเรียนานาชาติได้ตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2558 จะลดการเสียชีวิตจากโรคนี้ให้ใกล้ศูนย์ ลดจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียลงร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ป่วยในปี 2543 ที่มีประมาณ 300 ล้านคน
ด้าน ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปี 2554 จำนวนผู้ป่วยมาลาเรียของไทยจะอยู่ใน 30 จังหวัดชายแดนประมาณร้อยละ 93 ของผู้ป่วยทั้งประเทศ มากที่สุดคือด้านชายแดนเมียนม่าร์ 10 จังหวัดพบผู้ป่วย 10,970 ราย คิดเป็นประมาณร้อยละ 71 เช่น ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง รองลงมาคือด้านชายแดนไทย-กัมพูชา 6 จังหวัดเช่น จันทบุรี ตราด 1,678 ราย ชายแดนไทย-มาเลเซีย 4 จังหวัด มีผู้ป่วย 1,361 ราย ชายแดนไทย-ลาว 10 จังหวัด 308 ราย จุดแข็งในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียของประเทศไทย คือการเน้นการทำงานเชิงรุก ตั้งหน่วยมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงทั้งหมดรวม 760 แห่งทั่วประเทศ และค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงได้แก่ในสวนยางพารา แนวชายแดน ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเป็นการบริการฟรีทั้งหมดตั้งแต่เจาะเลือดตรวจ รู้ชนิดเชื้อภายใน 15นาที และการให้ยารักษาทันที ทำให้พบผู้ติดเชื้อได้เร็ว รักษาก่อนเกิดอาการจึงจำกัดการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และมีระบบติดตามการกินยาให้ครบเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับยุงและการควบคุมยุงอย่างต่อเนื่อง เช่นการชุบมุ้งด้วยสารป้องกันยุง เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2555 สำนักระบาดวิทยารายงานตั้งแต่ 1มกราคม - 19 ตุลาคม พบผู้ป่วยมาลาเรียทั่วประเทศ 12,124ราย เสียชีวิต 12 ราย แนวโน้มผู้ป่วยลดลงกว่าปี 2554 ประมาณร้อยละ 30 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 32 รองลงมาคือ รับจ้าง ร้อยละ 27 จังหวัดที่มีอัตราป่วยตอแสนประชากรสูงสุด 5 จังหวัดแรกได้แก่ ตาก ระนอง แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และชุมพร
วันนี้ (27 ต.ค.) ที่โรงแรมเทวมันตรา รีสอร์ท แอนด์สปา จ.กาญจนบุรี นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ ร่วมกับองค์กรนานาชาติมาลาเรียอาร์บีเอ็ม (Roll Back Malaria Partnership : RBM)โดยมี ดร.ฟาตูมาทา นาโฟ-ทราโอเร ผู้อำนวยการใหญ่อาร์บีเอ็มและคณะ ผู้บริหารระดับสูงประเทศเมียนมาร์ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้บริหารและนักวิชาการจากกระทรวงสาธารณสุขไทยและผู้แทนภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ(USAID)องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency :TICA) เข้าร่วมประชุมรวม 160 คน
นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวว่า คณะผู้บริหารโครงการมาลาเรียนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่องค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหามาลาเรียทั่วโลก ได้มอบหมายให้ประเทศไทยให้การสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เช่นพม่า กัมพูชา ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรียซึ่งเป็นโรคประจำเขตร้อนชื้น รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ให้พร้อมต่อการเปิดประเทศของพม่าอีกด้วย เนื่องจากไทยมีผลสำเร็จในการดำเนินงาน และมีวิสัยทัศน์ให้ประเทศปลอดมาลาเรียภายในปี 2563โดยสามารถยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรียอย่างถาวรครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80ของประเทศ อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้พื้นที่ในประเทศปลอดโรคเป็นผลสำเร็จ จะต้องสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานของประเทศเพื่อนบ้านด้วย เนื่องจากยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะนำโรคสามารถบินข้ามประเทศและยังมีปัญหาการเคลื่อนย้ายประชากรแรงงานอาจนำเชื้อมาแพร่ได้ โดยการประชุมครั้งนี้จะนำคณะที่เข้าประชุมดูงานใน อ.ไทรโยค ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัยเชื้อ การรักษา การเก็บข้อมูล ระบบการส่งต่อผู้ป่วย การป้องกันโรค และสื่อให้ความรู้ 2 ภาษา
นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า ผลการป้องกันควบคุมมาลาเรียของไทยตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมาได้ผลดี สามารถลดจำนวนผู้ป่วยจากปี 2541 ลงเกือบ 4 เท่าตัว กล่าวคือจากจำนวน 125,000 ราย ลดลงเหลือ 34,002 รายในปี 2554 ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 55 เป็นชาวต่างชาติจำนวน 18,606 ราย ปัญหาสำคัญขณะนี้ก็คือ การดื้อยาของเชื้อมาลาเรียตามแนวชายแดนพบมากที่สุดที่แนวชายแดนด้านเมียนมาร์ สาเหตุเกิดจากกินยาไม่ครบตามสูตร ทำให้อัตราการหายขาดลดต่ำลง จากเดิมเคยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จะเหลือ 80-90 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขไทย ได้ปรับสูตรยารักษาโรคมาลาเรียเป็นสูตรผสมมีประจำหน่วยมาลาเรียทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้เวลารักษาสั้นลงเหลือเพียง 3 วัน จากเดิมเคยกิน 14 วัน โดยให้เจ้าหน้าที่ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่อหน้าถึงบ้านซึ่งได้ผลดี ก็จะถ่ายทอดประสบการณ์ให้เมียนม่าร์ด้วย เพราะเชื้อมาลาเรียที่พบเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน ส่วนใหญ่ มี 2 ตัวคือพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)ซึ่งเป็นชนิดรุนแรง ทำให้เสียชีวิตและพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์(Plasmodiumvivax)
ทั้งนี้ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุดในปี 2553 พบผู้ป่วยมาลาเรียทั่วโลกประมาณ 216 ล้านราย เสียชีวิต 655,000 ราย อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 25 โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมี 11 ประเทศ มีผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 2 รองจากอาฟริกา คาดว่ามีผู้ป่วยมาลาเรีย 28 ล้านราย เสียชีวิต 38,000 ราย กว่าร้อยละ 90 ของอยู่ใน 3 ประเทศคืออินเดีย อินโดนีเซียและเมียนมาร์ ทั้งนี้ โครงการมาลาเรียนานาชาติได้ตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2558 จะลดการเสียชีวิตจากโรคนี้ให้ใกล้ศูนย์ ลดจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียลงร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ป่วยในปี 2543 ที่มีประมาณ 300 ล้านคน
ด้าน ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปี 2554 จำนวนผู้ป่วยมาลาเรียของไทยจะอยู่ใน 30 จังหวัดชายแดนประมาณร้อยละ 93 ของผู้ป่วยทั้งประเทศ มากที่สุดคือด้านชายแดนเมียนม่าร์ 10 จังหวัดพบผู้ป่วย 10,970 ราย คิดเป็นประมาณร้อยละ 71 เช่น ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง รองลงมาคือด้านชายแดนไทย-กัมพูชา 6 จังหวัดเช่น จันทบุรี ตราด 1,678 ราย ชายแดนไทย-มาเลเซีย 4 จังหวัด มีผู้ป่วย 1,361 ราย ชายแดนไทย-ลาว 10 จังหวัด 308 ราย จุดแข็งในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียของประเทศไทย คือการเน้นการทำงานเชิงรุก ตั้งหน่วยมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงทั้งหมดรวม 760 แห่งทั่วประเทศ และค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงได้แก่ในสวนยางพารา แนวชายแดน ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเป็นการบริการฟรีทั้งหมดตั้งแต่เจาะเลือดตรวจ รู้ชนิดเชื้อภายใน 15นาที และการให้ยารักษาทันที ทำให้พบผู้ติดเชื้อได้เร็ว รักษาก่อนเกิดอาการจึงจำกัดการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และมีระบบติดตามการกินยาให้ครบเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับยุงและการควบคุมยุงอย่างต่อเนื่อง เช่นการชุบมุ้งด้วยสารป้องกันยุง เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2555 สำนักระบาดวิทยารายงานตั้งแต่ 1มกราคม - 19 ตุลาคม พบผู้ป่วยมาลาเรียทั่วประเทศ 12,124ราย เสียชีวิต 12 ราย แนวโน้มผู้ป่วยลดลงกว่าปี 2554 ประมาณร้อยละ 30 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 32 รองลงมาคือ รับจ้าง ร้อยละ 27 จังหวัดที่มีอัตราป่วยตอแสนประชากรสูงสุด 5 จังหวัดแรกได้แก่ ตาก ระนอง แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และชุมพร