ประชุมสภาจุฬาฯ ไฟเขียวเพิ่มเงินเดือนพนักงานทั้งระบบ ดีเดย์ 1 ต.ค.นี้ สายปฏิบัติการ ป.ตรี 16,500 บาท สายอาจารย์ ป.โท 25,100 บาท และ ป.เอก 35,450 บาท ย้ำไม่มีการเพิ่มย้อนหลัง ลั่นไม่เกี่ยวนโยบายรัฐบาล เป็นการปรับภายใน เนื่องจากไม่ได้ปรับมานาน
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยภายหลังการประชุมสภามหาวิทยาลัย ว่า สภาจุฬาฯ เห็นชอบนโยบายการบริหารงานบุคคล ที่ฝ่ายบริหารได้เสนอหลังจากไม่มีการปรับใหญ่มาประมาณ 13 ปีแล้ว ซึ่งการปรับครั้งนี้จะครอบคลุมกระบวนทั้งหมด ตั้งแต่การคัดเลือกบุคลาการเข้ามาร่วมกัน การดูแลสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การประเมินผลการทำงาน รวมถึงค่าตอบแทนที่เหมาะและเป็นธรรมด้วย เพื่อให้คนเก่ง คนดี มาทำงานกับองค์กรและจะสามารถพัฒนาจุฬาฯ ไปเป็นองค์กรที่ตอบสนองความคาดหวังของสังคมและการดำเนินการจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในแต่ละปี โดยปีแรก จะค่อยๆ ปรับเรื่องการพัฒนาคน จากการประเมินผลงาน เป็นต้น
ขณะเดียวกัน สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบการปรับโครงสร้างเงินเดือน โดยนำเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการมาพิจารณาด้วย สำหรับเงินเดือนแรกเข้าของพนักงานมหาวิทยาลัยใหม่ สายปฏิบัติการ ระดับปริญญาตรี แบ่งเป็นสาขาที่ไม่ขาดแคลน เริ่มต้นที่ 16,500 บาท ส่วนสาขาขาดแคลนจะอยู่ระหว่าง 16,500-20,000 บาท จากเดิม 11,000 บาท สายอาจารย์ ระดับปริญญาเอกแรกเข้า 35,450 บาท จากเดิม 21,000 บาท ปริญญาโทเพิ่มเป็น 25,100 บาท เดิม 14,000 บาท โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 เท่ากับว่า จะมีพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 70% จากจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด ประมาณ 5,000 คน ได้รับผลประโยชน์จากมติดังกล่าว ส่วนอีก 30% ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราเงินเดือนสูงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมและตลาดภายนอกอื่นๆ
“นโยบายนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับคนที่อยู่ในระบบมาก่อน และมีฐานเงินเดือนระดับล่าง ไม่ให้ได้รับต่ำกว่าคนที่เข้ามาใหม่ ซึ่งจะมีสูตรการคิดที่วางเป็นกระบอกเงินเดือน แยกเป็นรายละเอียดของแต่ละกลุ่ม ส่วนสายบริหารจะไม่มีการปรับเพราะเพิ่งปรับไปเมื่อตอนออกนอกระบบใหม่ๆ อีกทั้งการปรับโครงสร้างเงินเดือนครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล แต่เป็นการปรับโครงสร้างเงินเดือนภายในของจุฬาฯเอง เพราะเห็นว่าถึงเวลา เพราะไม่ได้ปรับมานานพอสมควร โดยจะไม่มีการย้อนหลังและเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ซึ่งแน่ใจว่า บุคลากรจะเข้าใจนโยบายที่สภามหาวิทยาลัยคิดขึ้นมา และที่สำคัญ ต้องดูด้วยว่าเงินในกระเป๋าเรามีอยู่เท่าไหร่ เพราะจุฬาฯ ไม่สามารถทำอะไรที่เกินตัวได้” คุณหญิง สุชาดา กล่าว
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยภายหลังการประชุมสภามหาวิทยาลัย ว่า สภาจุฬาฯ เห็นชอบนโยบายการบริหารงานบุคคล ที่ฝ่ายบริหารได้เสนอหลังจากไม่มีการปรับใหญ่มาประมาณ 13 ปีแล้ว ซึ่งการปรับครั้งนี้จะครอบคลุมกระบวนทั้งหมด ตั้งแต่การคัดเลือกบุคลาการเข้ามาร่วมกัน การดูแลสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การประเมินผลการทำงาน รวมถึงค่าตอบแทนที่เหมาะและเป็นธรรมด้วย เพื่อให้คนเก่ง คนดี มาทำงานกับองค์กรและจะสามารถพัฒนาจุฬาฯ ไปเป็นองค์กรที่ตอบสนองความคาดหวังของสังคมและการดำเนินการจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในแต่ละปี โดยปีแรก จะค่อยๆ ปรับเรื่องการพัฒนาคน จากการประเมินผลงาน เป็นต้น
ขณะเดียวกัน สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบการปรับโครงสร้างเงินเดือน โดยนำเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการมาพิจารณาด้วย สำหรับเงินเดือนแรกเข้าของพนักงานมหาวิทยาลัยใหม่ สายปฏิบัติการ ระดับปริญญาตรี แบ่งเป็นสาขาที่ไม่ขาดแคลน เริ่มต้นที่ 16,500 บาท ส่วนสาขาขาดแคลนจะอยู่ระหว่าง 16,500-20,000 บาท จากเดิม 11,000 บาท สายอาจารย์ ระดับปริญญาเอกแรกเข้า 35,450 บาท จากเดิม 21,000 บาท ปริญญาโทเพิ่มเป็น 25,100 บาท เดิม 14,000 บาท โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 เท่ากับว่า จะมีพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 70% จากจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด ประมาณ 5,000 คน ได้รับผลประโยชน์จากมติดังกล่าว ส่วนอีก 30% ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราเงินเดือนสูงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมและตลาดภายนอกอื่นๆ
“นโยบายนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับคนที่อยู่ในระบบมาก่อน และมีฐานเงินเดือนระดับล่าง ไม่ให้ได้รับต่ำกว่าคนที่เข้ามาใหม่ ซึ่งจะมีสูตรการคิดที่วางเป็นกระบอกเงินเดือน แยกเป็นรายละเอียดของแต่ละกลุ่ม ส่วนสายบริหารจะไม่มีการปรับเพราะเพิ่งปรับไปเมื่อตอนออกนอกระบบใหม่ๆ อีกทั้งการปรับโครงสร้างเงินเดือนครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล แต่เป็นการปรับโครงสร้างเงินเดือนภายในของจุฬาฯเอง เพราะเห็นว่าถึงเวลา เพราะไม่ได้ปรับมานานพอสมควร โดยจะไม่มีการย้อนหลังและเริ่มต้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ซึ่งแน่ใจว่า บุคลากรจะเข้าใจนโยบายที่สภามหาวิทยาลัยคิดขึ้นมา และที่สำคัญ ต้องดูด้วยว่าเงินในกระเป๋าเรามีอยู่เท่าไหร่ เพราะจุฬาฯ ไม่สามารถทำอะไรที่เกินตัวได้” คุณหญิง สุชาดา กล่าว