เตือน 3 กลุ่มเสี่ยงเตรียมรับมือหน้าหนาว เหตุป่วยง่าย กรมควบคุมโรคแนะหลัก 5 เตรียม 5 ระวัง 5 สะอาด ย้ำ ดูแลสุขภาพผิวอย่าให้แห้ง แตก หากอักเสบมากควรพบแพทย์ทันที
วันนี้ (16 ต.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่ฤดูหนาว สภาวะอากาศเช่นนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคภัยต่างๆ แทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มเสี่ยง คือ 1.กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 2.กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จะเจ็บป่วยง่าย และเมื่อป่วยแล้ว อาการมักรุนแรงกว่าประชาชนทั่วๆไป
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ขอแนะนำประชาชนให้ปฏิบัติตาม 3 มาตรการ คือ รู้เตรียม รู้ระวัง รู้สะอาด โดยใช้หลัก 555 ได้แก่ 5 เตรียม 5 ระวัง และ 5 สะอาด ดังนี้ 1.รู้เตรียม คือ รู้จักเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว ประกอบด้วย 5 สิ่งควรเตรียม ได้แก่ เตรียมเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว เตรียมยารักษาโรคเรื้อรังที่จำเป็น เตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว เตรียมฟังข้อมูลข่าวสาร เรื่องการประกาศภัยหนาว และเตรียมตัว โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี
2.รู้ระวัง คือ รู้จักระวังสิ่งที่อยู่รอบตัวที่อาจก่อให้เกิดโรคและภัยสุขภาพ ประกอบด้วย 5 สิ่งควรระวัง ได้แก่ ระวังการแพร่กระจายโรคด้วยการสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ระวังไม่ให้ร่างกายขาดความอบอุ่นและความชุ่มชื้น ระวังไม่ดื่มสุราเพื่อแก้หนาว เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกดประสาท ทำให้มีอาการง่วงซึมเร็ว และอาจหมดสติโดยไม่รู้ตัว หากมีโรคประจำตัวจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ระวังไม่นอนในที่โล่งแจ้งลมโกรก เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว การไหลเวียนของโลหิตช้าลง ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการช็อคจนเสียชีวิตได้ และระวังไม่ผิงไฟในที่อับอากาศ ไม่นำเด็กเล็กเข้าใกล้ควันไฟหรือห่มผ้าคลุมศีรษะเด็กอ่อนจนหมด
3.รู้สะอาด คือ รู้จักรักษาความสะอาดในตังเอง 5 สิ่งควรสะอาด ได้แก่ ทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ล้างมือให้สะอาด มีสุขอนามัยที่ดีและสะอาด และควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า โรคที่เกิดจากสภาพอากาศที่แห้งก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง โดยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ ผิวหนังแห้ง แตก คัน และอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสามารถพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะเด็กเล็กผิวหนังของร่างกายยังไม่มีการพัฒนาสมบูรณ์เหมือนผิวหนังของผู้ใหญ่ จึงบางแต่จะชุ่มชื้นมากกว่าผู้ใหญ่ และในวัยผู้สูงอายุ จะมีเซลล์ผิวหนังที่เริ่มเสื่อมถอยตามอายุ ทำให้ผิวมีความบางและแห้งมากขึ้น ทำให้ผิวของคนทั้งสองวัยนี้มีโอกาสแห้งและแตกได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ เช่น บริเวณแก้มและใบหน้า แขนและขา เป็นต้น สำหรับการดูแลผิวหนัง ถ้าผิวเริ่มแตกหรืออากาศไม่หนาวเย็นแห้งมาก ก็สามารถจะใช้โลชั่นหรือครีมก็ได้ผลดี แต่ถ้าผิวแห้งมากๆ หรือผิวแตก คัน และอักเสบมาก อาจต้องใช้น้ำมันหรือขี้ผึ้งที่จะช่วยปกป้องความชุ่มชื้นของผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับการทำความสะอาด ควรดูแลผิวตามปกติ หรืออาจลดการชะล้างฟอกสบู่ลงบ้างในช่วงที่อากาศแห้งและหนาวเย็น ควรเลือกใช้สบู่เด็กที่อ่อนกว่าหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของครีมในเนื้อของสบู่ หลังอาบน้ำเสร็จควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวก็จะช่วยลดอาการผิวแห้งและแตกได้ ที่สำคัญเมื่อเกิดอาการคันที่ผิวหนัง อย่าเกา เพราะการเกามากๆ บ่อยๆ แรงๆ ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ อาจเกิดเป็นแผลที่ผิวหนังได้ และทำให้เกิดการลุกลามมากขึ้น ควรหยุดหรือชะลอการเกา ด้วยการลูบเบาๆ และตัดเล็บมือให้สั้นที่สุด
“หากประชาชนมีอาการคัน และเกิดการอักเสบที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หรือมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที และให้อาการคันหรืออักเสบบรรเทาลดน้อยลง ถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
วันนี้ (16 ต.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่ฤดูหนาว สภาวะอากาศเช่นนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคภัยต่างๆ แทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มเสี่ยง คือ 1.กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 2.กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคไต และโรคโลหิตจาง เป็นต้น เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จะเจ็บป่วยง่าย และเมื่อป่วยแล้ว อาการมักรุนแรงกว่าประชาชนทั่วๆไป
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ขอแนะนำประชาชนให้ปฏิบัติตาม 3 มาตรการ คือ รู้เตรียม รู้ระวัง รู้สะอาด โดยใช้หลัก 555 ได้แก่ 5 เตรียม 5 ระวัง และ 5 สะอาด ดังนี้ 1.รู้เตรียม คือ รู้จักเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูหนาว ประกอบด้วย 5 สิ่งควรเตรียม ได้แก่ เตรียมเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว เตรียมยารักษาโรคเรื้อรังที่จำเป็น เตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับตนเองและครอบครัว เตรียมฟังข้อมูลข่าวสาร เรื่องการประกาศภัยหนาว และเตรียมตัว โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี
2.รู้ระวัง คือ รู้จักระวังสิ่งที่อยู่รอบตัวที่อาจก่อให้เกิดโรคและภัยสุขภาพ ประกอบด้วย 5 สิ่งควรระวัง ได้แก่ ระวังการแพร่กระจายโรคด้วยการสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ระวังไม่ให้ร่างกายขาดความอบอุ่นและความชุ่มชื้น ระวังไม่ดื่มสุราเพื่อแก้หนาว เพราะฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกดประสาท ทำให้มีอาการง่วงซึมเร็ว และอาจหมดสติโดยไม่รู้ตัว หากมีโรคประจำตัวจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ระวังไม่นอนในที่โล่งแจ้งลมโกรก เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว การไหลเวียนของโลหิตช้าลง ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจส่งผลให้เกิดอาการช็อคจนเสียชีวิตได้ และระวังไม่ผิงไฟในที่อับอากาศ ไม่นำเด็กเล็กเข้าใกล้ควันไฟหรือห่มผ้าคลุมศีรษะเด็กอ่อนจนหมด
3.รู้สะอาด คือ รู้จักรักษาความสะอาดในตังเอง 5 สิ่งควรสะอาด ได้แก่ ทำความสะอาดเสื้อผ้าและผ้าห่มกันหนาว ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ล้างมือให้สะอาด มีสุขอนามัยที่ดีและสะอาด และควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า โรคที่เกิดจากสภาพอากาศที่แห้งก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง โดยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ ผิวหนังแห้ง แตก คัน และอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสามารถพบได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะเด็กเล็กผิวหนังของร่างกายยังไม่มีการพัฒนาสมบูรณ์เหมือนผิวหนังของผู้ใหญ่ จึงบางแต่จะชุ่มชื้นมากกว่าผู้ใหญ่ และในวัยผู้สูงอายุ จะมีเซลล์ผิวหนังที่เริ่มเสื่อมถอยตามอายุ ทำให้ผิวมีความบางและแห้งมากขึ้น ทำให้ผิวของคนทั้งสองวัยนี้มีโอกาสแห้งและแตกได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ เช่น บริเวณแก้มและใบหน้า แขนและขา เป็นต้น สำหรับการดูแลผิวหนัง ถ้าผิวเริ่มแตกหรืออากาศไม่หนาวเย็นแห้งมาก ก็สามารถจะใช้โลชั่นหรือครีมก็ได้ผลดี แต่ถ้าผิวแห้งมากๆ หรือผิวแตก คัน และอักเสบมาก อาจต้องใช้น้ำมันหรือขี้ผึ้งที่จะช่วยปกป้องความชุ่มชื้นของผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับการทำความสะอาด ควรดูแลผิวตามปกติ หรืออาจลดการชะล้างฟอกสบู่ลงบ้างในช่วงที่อากาศแห้งและหนาวเย็น ควรเลือกใช้สบู่เด็กที่อ่อนกว่าหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของครีมในเนื้อของสบู่ หลังอาบน้ำเสร็จควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวก็จะช่วยลดอาการผิวแห้งและแตกได้ ที่สำคัญเมื่อเกิดอาการคันที่ผิวหนัง อย่าเกา เพราะการเกามากๆ บ่อยๆ แรงๆ ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ อาจเกิดเป็นแผลที่ผิวหนังได้ และทำให้เกิดการลุกลามมากขึ้น ควรหยุดหรือชะลอการเกา ด้วยการลูบเบาๆ และตัดเล็บมือให้สั้นที่สุด
“หากประชาชนมีอาการคัน และเกิดการอักเสบที่ผิวหนังอย่างรุนแรง หรือมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที และให้อาการคันหรืออักเสบบรรเทาลดน้อยลง ถ้ามีข้อสงสัยถึงอาการของโรคและวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทรศัพท์ 0 2590 3333” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว