กมธ.สธ.วุฒิฯ สภาฯห่วงปัจจัยโภชนาการ-ครอบครัว ทำไอคิวเด็กไทยต่ำกว่าปกติ สวนทางไอทีก้าวหน้า เทียบสิงคโปร์-มาเลย์ ไม่ติด ยกกรณีศึกษา “ภูฏาน” ส่งเสริมเด็กเรียนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับประถมฯ แนะ รบ.กระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักเรื่องนี้มากขึ้น
วันนี้ (12 ต.ค) คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง “สุขภาวะของเด็กไทย การพัฒนาทางสติปัญญาเพื่อก้าวไปสู่โลกแห่งการแข่งขัน” โดยนพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขฯกล่าวว่า ปัจจุบันโลกก้าวหน้าไปมากกว่า 30-40 ปีก่อน มีไอทีเจริญก้าวหน้า โลกติดต่อกันไร้ขอบเขต มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ขณะที่เด็กทั่วโลกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ไอคิวเด็กไทยด้อยกว่าปกติ แทนที่่จะเก่งกว่ารุ่นหลังแต่กลับไม่ทันต่างประเทศ ดังนั้น เด็กไทยต้องมีปัญหาผิดปกติที่ไอคิวไม่ทันโลก ภาพรวมของเด็กไทยมีผลสำรวจออกมาแล้วต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานสากล การเสวนาวันนี้สำคัญมากเพราะมีการศึกษามาแล้ว ผลของการเสวนาจะส่งรายงานไปให้สมาชิกวุฒิสภารับรองด้วย เป็นรายงานฉบับใหญ่ส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.)ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อตระหนักเรื่องนี้ให้มากขึ้น
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วุฒิสภา กล่าวว่า ผลสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทย (ไอคิว) ปี 2554 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้สำรวจไอคิวเด็กไทยอายุ 6-15 ปีจากโรงเรียนทั่วประเทศ พบว่า นักเรียนหลายหมื่นคนไอคิวเฉลี่ยไม่ถึง 100 คะแนน ถือว่าไอคิวที่ต่ำ เพราะปกติแล้วไอคิวจะต้องเกิน 100 คะแนน หากเปรียบเทียบไอคิวของเด็กไทยเมื่อ 10 ปีก่อนเฉลี่ยไม่ถึง 100 คะแนน สะท้อนว่าแม้ผ่านมาถึง 10 ปี แต่ระดับไอคิวของเด็กไทยก็ยังไม่ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เด็กไทยไอคิวต่ำส่งผลด้านการศึกษาด้วย เพราะจะทำให้การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาลดน้อยลง ซึ่งยังส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ก็จะต่ำด้วย หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้การแข่งขัน และพัฒนากับนานาชาติก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะทรัพยากรบุคคลของเรามีไอคิวที่ต่ำกว่าประเทศอื่น หากเทียบกับไอคิวของเด็กในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เฉลี่ยสูงกว่าเด็กไทยมาก นอกจากนี้การวัดความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ของเด็กไทยก็มีแนวโน้มต่ำลงเช่นกัน เช่น เรื่องของจริยธรรมการปรับตัว และการเข้าใจคนอื่น จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขและหาทางออกอย่างจริงจัง
“ยกตัวอย่างประเทศภูฏาน แม้จะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่าประเทศไทย แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระดับสติปัญญาของเด็กมาก โดยรัฐบาลมีนโยบายสอนภาษาอังกฤษให้เด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น อีกทั้งในช่องฟรีทีวีทุกรายการจะมีคำแปลภาษาอังกฤษด้านล่างเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกัน เพราะภาษาอังกฤษถือเป็นประตูไปสู่วิชาการด้านต่างๆ ในโลก ขณะเดียวกัน รายการส่วนใหญ่เน้นสาระประโยชน์ เช่น BBC CNN สามารรถรับชมได้โดยไม่เสียค่าบริการ ขณะที่ประเทศไทยรายการที่มีสาระความรู้ ที่ผู้ปกครองควรต้องส่งเสริมให้บุตรหลานได้ดู ต้องเสียค่าบริการ ขณะเดียวกัน เด็กไทยมีทั้งอินเทอร์เน็ต และ แท็บเล็ต แต่ก็นิยมนำมาใช้เล่นเกมส์มากกว่า” พญ.พรพันธุ์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการอภิปรายหัวข้อ “สถานการณ์ด้านสติปัญญาของเด็กไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง” ว่า การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาของเด็กนักเรียนไทย ในปี 2554 ของกรมสุขภาพจิต สุ่มสำรวจนักเรียนจำนวน 72,780 คน ภาพรวมของประเทศพบว่ามีเด็กที่ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ ไอคิวต่ำกว่า 90 คะแนน ประมาณร้อยละ 28.4 หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของเด็กไทย หากแบ่งเป็นระดับจังหวัดพบว่าเด็กไอคิวมากกว่า 100 มี 18จังหวัดอันดับหนึ่ง คือ นนทบุรี ระดับไอคิวที่ 108.91 อันดับสอง จังหวัดระยอง ระดับไอคิวที่ 107.52 อันดับสาม จังหวัดลำปาง ระดับไอคิวที่ 106.62อันดับสี่คือกทม.ระดับไอคิวที่ 104.50 นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กไอคิวเท่ากับ 100 มี 20 จังหวัด และไอคิวที่ต่ำกว่า 100 มีถึง 38 จังหวัดส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส รั้งท้ายด้วย ส่วนปัจจัยที่ทำให้เด็กไทยไอคิวต่ำพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่มากกว่า6 เดือนมีไอคิวสูงกว่าดื่มนมแม่ 3 เดือน ส่วนอาหารก็มีความสำคัญโดยเฉพาะไอโอดีนและธาตุเหล็ก ซึ่งแม่ต้องทานตั้งแต่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นด้วยเช่นพื้นฐานของพ่อ-แม่ การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังพบว่า ระบบการศึกษาของไทยยังมีนักเรียนที่มีความบกพร่องของระดับสติปัญญาหรือมีไอคิวต่ำกว่า 70 คะแนน อยู่ร้อยละ 6.5 ซึ่งตามมาตรฐานสากลกำหนดไว้ว่าไม่ควรเกินร้อยละ 2ที่น่าตกใจคือพบว่าเด็กในจังหวัดนราธิวาสไอคิวเพียง 22 คะแนน ซึ่งถือว่าป่วยและบกพร่องทางปัญญา เด็กไทยที่เกิดก่อนช่วง 10 ปี ไอคิวต่ำกว่า 100 อยู่มาก พบว่าอยู่ในช่วงยุคไอเอ็มเอฟ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กมี 3 ส่วน คือ ด้านภาวะโภชนาการ ตัวเด็กและครอบครัว การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพ่อแม่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่ลูกจะมีไอคิวสูงกว่าลูกของพ่อแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า เด็กยากจนจะมีคะแนนเฉลี่ยไอคิวประมาณ 100 คะแนน ส่วนเด็กที่อยู่ในสถานะทางสังคมสูงสุดพบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยไอคิวประมาณ 119 คะแนน
ขณะที่รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ภาวะโภชนาการมีความสำคัญต่อไอคิวเด็กมาก จากการสำรวจของยูนิเซฟพบว่า เด็กบางคนมีไอคิวดี แต่ไปไม่ถึงไหน เพราะความยากจนด้อยโอกาส ภาวะสุขภาพไม่ดี มีอยู่ 3 ประการคือ เตี้ยแคระแกร็น ขาดธาตุไอโอดีน โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก ทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นปัจจัยหลักที่ป้องกันได้ ปี 2554 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ อาหารของแม่ตั้งครรภ์ได้รับไม่เพียงพอ
วันนี้ (12 ต.ค) คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง “สุขภาวะของเด็กไทย การพัฒนาทางสติปัญญาเพื่อก้าวไปสู่โลกแห่งการแข่งขัน” โดยนพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขฯกล่าวว่า ปัจจุบันโลกก้าวหน้าไปมากกว่า 30-40 ปีก่อน มีไอทีเจริญก้าวหน้า โลกติดต่อกันไร้ขอบเขต มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ขณะที่เด็กทั่วโลกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ไอคิวเด็กไทยด้อยกว่าปกติ แทนที่่จะเก่งกว่ารุ่นหลังแต่กลับไม่ทันต่างประเทศ ดังนั้น เด็กไทยต้องมีปัญหาผิดปกติที่ไอคิวไม่ทันโลก ภาพรวมของเด็กไทยมีผลสำรวจออกมาแล้วต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานสากล การเสวนาวันนี้สำคัญมากเพราะมีการศึกษามาแล้ว ผลของการเสวนาจะส่งรายงานไปให้สมาชิกวุฒิสภารับรองด้วย เป็นรายงานฉบับใหญ่ส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.)ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อตระหนักเรื่องนี้ให้มากขึ้น
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วุฒิสภา กล่าวว่า ผลสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทย (ไอคิว) ปี 2554 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้สำรวจไอคิวเด็กไทยอายุ 6-15 ปีจากโรงเรียนทั่วประเทศ พบว่า นักเรียนหลายหมื่นคนไอคิวเฉลี่ยไม่ถึง 100 คะแนน ถือว่าไอคิวที่ต่ำ เพราะปกติแล้วไอคิวจะต้องเกิน 100 คะแนน หากเปรียบเทียบไอคิวของเด็กไทยเมื่อ 10 ปีก่อนเฉลี่ยไม่ถึง 100 คะแนน สะท้อนว่าแม้ผ่านมาถึง 10 ปี แต่ระดับไอคิวของเด็กไทยก็ยังไม่ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เด็กไทยไอคิวต่ำส่งผลด้านการศึกษาด้วย เพราะจะทำให้การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาลดน้อยลง ซึ่งยังส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ก็จะต่ำด้วย หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้การแข่งขัน และพัฒนากับนานาชาติก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะทรัพยากรบุคคลของเรามีไอคิวที่ต่ำกว่าประเทศอื่น หากเทียบกับไอคิวของเด็กในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เฉลี่ยสูงกว่าเด็กไทยมาก นอกจากนี้การวัดความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ของเด็กไทยก็มีแนวโน้มต่ำลงเช่นกัน เช่น เรื่องของจริยธรรมการปรับตัว และการเข้าใจคนอื่น จึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขและหาทางออกอย่างจริงจัง
“ยกตัวอย่างประเทศภูฏาน แม้จะมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่าประเทศไทย แต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระดับสติปัญญาของเด็กมาก โดยรัฐบาลมีนโยบายสอนภาษาอังกฤษให้เด็กตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น อีกทั้งในช่องฟรีทีวีทุกรายการจะมีคำแปลภาษาอังกฤษด้านล่างเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมกัน เพราะภาษาอังกฤษถือเป็นประตูไปสู่วิชาการด้านต่างๆ ในโลก ขณะเดียวกัน รายการส่วนใหญ่เน้นสาระประโยชน์ เช่น BBC CNN สามารรถรับชมได้โดยไม่เสียค่าบริการ ขณะที่ประเทศไทยรายการที่มีสาระความรู้ ที่ผู้ปกครองควรต้องส่งเสริมให้บุตรหลานได้ดู ต้องเสียค่าบริการ ขณะเดียวกัน เด็กไทยมีทั้งอินเทอร์เน็ต และ แท็บเล็ต แต่ก็นิยมนำมาใช้เล่นเกมส์มากกว่า” พญ.พรพันธุ์ กล่าว
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการอภิปรายหัวข้อ “สถานการณ์ด้านสติปัญญาของเด็กไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง” ว่า การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาของเด็กนักเรียนไทย ในปี 2554 ของกรมสุขภาพจิต สุ่มสำรวจนักเรียนจำนวน 72,780 คน ภาพรวมของประเทศพบว่ามีเด็กที่ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ คือ ไอคิวต่ำกว่า 90 คะแนน ประมาณร้อยละ 28.4 หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของเด็กไทย หากแบ่งเป็นระดับจังหวัดพบว่าเด็กไอคิวมากกว่า 100 มี 18จังหวัดอันดับหนึ่ง คือ นนทบุรี ระดับไอคิวที่ 108.91 อันดับสอง จังหวัดระยอง ระดับไอคิวที่ 107.52 อันดับสาม จังหวัดลำปาง ระดับไอคิวที่ 106.62อันดับสี่คือกทม.ระดับไอคิวที่ 104.50 นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กไอคิวเท่ากับ 100 มี 20 จังหวัด และไอคิวที่ต่ำกว่า 100 มีถึง 38 จังหวัดส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส รั้งท้ายด้วย ส่วนปัจจัยที่ทำให้เด็กไทยไอคิวต่ำพบว่าเด็กที่ดื่มนมแม่มากกว่า6 เดือนมีไอคิวสูงกว่าดื่มนมแม่ 3 เดือน ส่วนอาหารก็มีความสำคัญโดยเฉพาะไอโอดีนและธาตุเหล็ก ซึ่งแม่ต้องทานตั้งแต่ตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นด้วยเช่นพื้นฐานของพ่อ-แม่ การเลี้ยงดู และสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังพบว่า ระบบการศึกษาของไทยยังมีนักเรียนที่มีความบกพร่องของระดับสติปัญญาหรือมีไอคิวต่ำกว่า 70 คะแนน อยู่ร้อยละ 6.5 ซึ่งตามมาตรฐานสากลกำหนดไว้ว่าไม่ควรเกินร้อยละ 2ที่น่าตกใจคือพบว่าเด็กในจังหวัดนราธิวาสไอคิวเพียง 22 คะแนน ซึ่งถือว่าป่วยและบกพร่องทางปัญญา เด็กไทยที่เกิดก่อนช่วง 10 ปี ไอคิวต่ำกว่า 100 อยู่มาก พบว่าอยู่ในช่วงยุคไอเอ็มเอฟ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กมี 3 ส่วน คือ ด้านภาวะโภชนาการ ตัวเด็กและครอบครัว การเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพ่อแม่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่ลูกจะมีไอคิวสูงกว่าลูกของพ่อแม่ที่มีการศึกษาน้อยกว่า เด็กยากจนจะมีคะแนนเฉลี่ยไอคิวประมาณ 100 คะแนน ส่วนเด็กที่อยู่ในสถานะทางสังคมสูงสุดพบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยไอคิวประมาณ 119 คะแนน
ขณะที่รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ภาวะโภชนาการมีความสำคัญต่อไอคิวเด็กมาก จากการสำรวจของยูนิเซฟพบว่า เด็กบางคนมีไอคิวดี แต่ไปไม่ถึงไหน เพราะความยากจนด้อยโอกาส ภาวะสุขภาพไม่ดี มีอยู่ 3 ประการคือ เตี้ยแคระแกร็น ขาดธาตุไอโอดีน โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก ทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นปัจจัยหลักที่ป้องกันได้ ปี 2554 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ อาหารของแม่ตั้งครรภ์ได้รับไม่เพียงพอ