ยังไม่ชัดเจน! หญิงฆ่าผัวป่วยทางจิตหรือไม่ เหตุมีประวัติการเสพยา ตำรวจยังไม่ส่งวิเคราะห์ ขอรอดูอาการ 2-3 วัน ด้าน กรมสุขภาพจิต ชี้ ก่อเหตุจากเสพยา โทษต่างจากผู้ป่วยทางจิต
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณี น.ส.พรสุรีย์ ดีแผ่ว ก่อเหตุฆ่าหั่นศพสามี ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีอาญา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังไม่ได้ส่งตัวต่อมายังโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต เพื่อตรวจสอบอาการทางจิต แต่ขอดูอาการ 2-3 วัน ก่อน เนื่องจากพบว่า ผู้ต้องหามีประวัติการเสพยาเสพติด ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การก่อเหตุภายใต้ฤทธิ์ยาเสพติดจะมีความผิดต่างจากผู้ต้องหาที่ก่อเหตุด้วยการเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาในฐานะผู้ป่วยคดี ส่วนผู้ต้องหาที่ก่อเหตุภายใต้ฤทธิ์ยาเสพติด เมื่อหยุดยาเสพติดประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีอาการถอนฤทธิ์ยาและรู้สึกตัว จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
“การใช้ยาเสพติดจะก่อให้เกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ทำให้สามารถทำร้ายผู้อื่น หรือตัวเองได้ แต่เมื่อหยุดเสพยาจะเริ่มรู้สึกตัว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตทั่วไป สาเหตุการเกิดโรคจะมาจากหลายปัจจัย เช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง แต่อาจมีสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดอาการเป็นยาเสพติด หรือ เหล้าได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการเบื้องต้นของผู้ก่อเหตุก่อน หากไม่สามารถแยกแยะได้ว่า เจ็บป่วย หรือ ก่อเหตุจากฤทธิ์ยา ก็จะมีการส่งตัวให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาการต่อไป” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณี น.ส.พรสุรีย์ ดีแผ่ว ก่อเหตุฆ่าหั่นศพสามี ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีอาญา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังไม่ได้ส่งตัวต่อมายังโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต เพื่อตรวจสอบอาการทางจิต แต่ขอดูอาการ 2-3 วัน ก่อน เนื่องจากพบว่า ผู้ต้องหามีประวัติการเสพยาเสพติด ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การก่อเหตุภายใต้ฤทธิ์ยาเสพติดจะมีความผิดต่างจากผู้ต้องหาที่ก่อเหตุด้วยการเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาในฐานะผู้ป่วยคดี ส่วนผู้ต้องหาที่ก่อเหตุภายใต้ฤทธิ์ยาเสพติด เมื่อหยุดยาเสพติดประมาณ 2-3 วัน จะเริ่มมีอาการถอนฤทธิ์ยาและรู้สึกตัว จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
“การใช้ยาเสพติดจะก่อให้เกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน ทำให้สามารถทำร้ายผู้อื่น หรือตัวเองได้ แต่เมื่อหยุดเสพยาจะเริ่มรู้สึกตัว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตทั่วไป สาเหตุการเกิดโรคจะมาจากหลายปัจจัย เช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง แต่อาจมีสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดอาการเป็นยาเสพติด หรือ เหล้าได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการเบื้องต้นของผู้ก่อเหตุก่อน หากไม่สามารถแยกแยะได้ว่า เจ็บป่วย หรือ ก่อเหตุจากฤทธิ์ยา ก็จะมีการส่งตัวให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์อาการต่อไป” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว