“ชินภัทร” แนะแก้ไขศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรเพิ่มจุดเน้นเรื่องการออกเสียงที่ถูกต้อง ชี้ ภาษาอังกฤษมีการสเตรทเสียง หากปรับให้เหมาะสมจะทำให้เด็กออกเสียงได้ถูกต้อง ระบุ ควรจัดประชุมระดมความเห็นคนภายนอกด้วย
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ราชบัณฑิตเสนอให้มีการแก้ไขคำศัพท์ ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย โดยระบุว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือ ตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย อย่างเช่นคำว่า “แคลอรี” การเขียนให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็น “แคลอรี่” หรือว่าคำว่า “โควตา” ถ้าจะให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็นคำว่า “โควต้า” ซึ่งการเสนอแก้ไขนั้น เพื่อให้เขียนถูกต้องตามเสียงของคำนั้น ว่า ตนเห็นด้วยกับความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี และอยากให้เน้นในเรื่องของการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันวิธีการเขียนของเรานั้นเป็นยืมคำ หรือถอดภาษาอังกฤษออกมาเป็นคำๆ มาใช้เขียน สำหรับแนวทางใหม่ที่ราชบัณฑิตจะเปลี่ยน ตนเข้าใจว่าเพื่อการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งตนอยากให้ข้อสังเกตว่า แม้จะเปลี่ยนโดยเพิ่มวรรณยุกต์ให้การอ่านออกเสียงมีความใกล้เคียงกับภาษาที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่ 100% เพราะภาษาอังกฤษจะมีตัวสเตรท หรือพยางค์ที่เน้น อยู่ด้วย ดังนั้น หากจะเปลี่ยนแล้วก็ควรเพิ่มเรื่องจุดเน้นและการออกเสียงสั้น เสียงยาว เพื่อให้เด็กได้อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องด้วย
“ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ควรจะไปให้สุดทาง คือ เน้นตรงพยางค์ที่ควรต้องเน้น รวมถึงการออกเสียงสั้นยาวเพื่อทำให้เด็กสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องมากขึ้น และหากจะเป็นเช่นนี้ได้ก็น่าจะมีการประชุมระดมความคิดเห็น แม้ราชบัณฑิตจะเป็นผู้ทรงความรู้ แต่ก็ต้องรับฟังเสียงจากคนภายนอกด้วย เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง จะกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นหากจะปรับจริง ก็ควรจะให้สมประโยชน์กับทุกฝ่าย” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่ราชบัณฑิตเสนอให้มีการแก้ไขคำศัพท์ ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย โดยระบุว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือ ตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย อย่างเช่นคำว่า “แคลอรี” การเขียนให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็น “แคลอรี่” หรือว่าคำว่า “โควตา” ถ้าจะให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็นคำว่า “โควต้า” ซึ่งการเสนอแก้ไขนั้น เพื่อให้เขียนถูกต้องตามเสียงของคำนั้น ว่า ตนเห็นด้วยกับความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี และอยากให้เน้นในเรื่องของการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันวิธีการเขียนของเรานั้นเป็นยืมคำ หรือถอดภาษาอังกฤษออกมาเป็นคำๆ มาใช้เขียน สำหรับแนวทางใหม่ที่ราชบัณฑิตจะเปลี่ยน ตนเข้าใจว่าเพื่อการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ซึ่งตนอยากให้ข้อสังเกตว่า แม้จะเปลี่ยนโดยเพิ่มวรรณยุกต์ให้การอ่านออกเสียงมีความใกล้เคียงกับภาษาที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่ 100% เพราะภาษาอังกฤษจะมีตัวสเตรท หรือพยางค์ที่เน้น อยู่ด้วย ดังนั้น หากจะเปลี่ยนแล้วก็ควรเพิ่มเรื่องจุดเน้นและการออกเสียงสั้น เสียงยาว เพื่อให้เด็กได้อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องด้วย
“ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ควรจะไปให้สุดทาง คือ เน้นตรงพยางค์ที่ควรต้องเน้น รวมถึงการออกเสียงสั้นยาวเพื่อทำให้เด็กสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องมากขึ้น และหากจะเป็นเช่นนี้ได้ก็น่าจะมีการประชุมระดมความคิดเห็น แม้ราชบัณฑิตจะเป็นผู้ทรงความรู้ แต่ก็ต้องรับฟังเสียงจากคนภายนอกด้วย เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง จะกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นหากจะปรับจริง ก็ควรจะให้สมประโยชน์กับทุกฝ่าย” นายชินภัทร กล่าว