เครือข่ายรักรามฯ ยื่น 23,129 รายชื่อ ถอดถอน รมว.พัฒนาสังคมฯ ใช้ตำแหน่งแทรกแซงการเคหะแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายเดชาธร สงศรี ประธานเครือข่ายรักรามฯ และนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง กว่า 10 คน เข้ายื่นรายชื่อประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 23,129 คน ต่อ นายนิคม ไวยารัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งได้แสดงตนต่อประธานวุฒิสภาแล้ว เมื่อวันที่ 25 เมษายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.นายสันติ ได้กระทำการฝ่าฝืน ไม่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม การเป็นข้าราชการการเมืองที่ดี 2.ไม่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมือง ทั้งยังไม่วางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน 3.ใช้ตำแหน่งหน้าที่ แทรกแซง ครอบงำ การทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหารหารเคหะแห่งชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ทั้งนี้ จึงขอให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่ง
ด้านนายนิคม กล่าวว่า ดูข้อกล่าวหาแล้วไม่ชัดเจน ขอให้ยื่นข้อกล่าวหาที่ชัดเจนกว่านี้เข้ามา เพื่อให้เรื่องดังกล่าวมีน้ำหนัก แต่ทั้งนี้จะรับเรื่องไว้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ที่ ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากนี้วุฒิสภาจะส่งเรื่องให้สำนักทะเบียนกลาง ตรวจสอบคุณสมบัติบุคคล และเมื่อแล้วเสร็จจะส่งรายชื่อไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อตรวจสอบว่ารายชื่อดังกล่าวได้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบไม่เกิน 30 วัน เมื่อวุฒิสภาเห็นว่ามีมูลความผิดระบุชัดเจน ก็จะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าข้อกล่าวหามีมูลความผิดจริง ทาง ป.ป.ช.ก็จะส่งเรื่องกลับมายังวุฒิสภา เพื่อดำเนินการถอดถอนโดยใช้เสียงของสมาชิก 3 ใน 5 หรือ 89 เสียง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายเดชาธร สงศรี ประธานเครือข่ายรักรามฯ และนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง กว่า 10 คน เข้ายื่นรายชื่อประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 23,129 คน ต่อ นายนิคม ไวยารัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งได้แสดงตนต่อประธานวุฒิสภาแล้ว เมื่อวันที่ 25 เมษายน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.นายสันติ ได้กระทำการฝ่าฝืน ไม่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม การเป็นข้าราชการการเมืองที่ดี 2.ไม่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมือง ทั้งยังไม่วางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน 3.ใช้ตำแหน่งหน้าที่ แทรกแซง ครอบงำ การทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหารหารเคหะแห่งชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ทั้งนี้ จึงขอให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่ง
ด้านนายนิคม กล่าวว่า ดูข้อกล่าวหาแล้วไม่ชัดเจน ขอให้ยื่นข้อกล่าวหาที่ชัดเจนกว่านี้เข้ามา เพื่อให้เรื่องดังกล่าวมีน้ำหนัก แต่ทั้งนี้จะรับเรื่องไว้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ที่ ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากนี้วุฒิสภาจะส่งเรื่องให้สำนักทะเบียนกลาง ตรวจสอบคุณสมบัติบุคคล และเมื่อแล้วเสร็จจะส่งรายชื่อไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อตรวจสอบว่ารายชื่อดังกล่าวได้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาตรวจสอบไม่เกิน 30 วัน เมื่อวุฒิสภาเห็นว่ามีมูลความผิดระบุชัดเจน ก็จะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าข้อกล่าวหามีมูลความผิดจริง ทาง ป.ป.ช.ก็จะส่งเรื่องกลับมายังวุฒิสภา เพื่อดำเนินการถอดถอนโดยใช้เสียงของสมาชิก 3 ใน 5 หรือ 89 เสียง