กรมวิทย์ เปิดศูนย์เครื่องยาสมุนไพร หลังทำการศึกษาวิจัยแล้ว พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมและศึกษาเรียนรู้ หวังให้นำเครื่องยามาใช้ได้อย่างถูกต้อง
วันนี้ (27 ก.ย.) ที่ศูนย์เครื่องยาสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี นพ.สมชัย นิจพานิช รองปลัด สธ.กล่าวภายหลังเป็นประธานร่วมเปิดศูนย์เครื่องยาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า ไทยมีการสืบทอดภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรมาแล้วหลายรุ่น แต่ไม่มีการรวบรวมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบให้สืบค้นง่าย นอกจากนี้ เครื่องยาสมุนไพรแห้งมีการแปรสภาพไปจากเดิม ทำให้การจำแนกชนิดของเครื่องยาทำได้ยาก มีโอกาสผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนไปจากเดิม ซึ่งเป็นปัญหามากในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับพืชที่เป็นแหล่งที่มาของเครื่องยา เนื่องจากการเรียกชื่อสมุนไพรที่แต่ละท้องถิ่นอาจพ้องกันแต่ต่างชนิดกัน หรือเรียกต่างกันแต่เป็นชนิดเดียวกัน รวมไปถึงการนำสมุนไพรชนิดอื่นมาใช้แทนสมุนไพรหายาก ซึ่้งล้วนแต่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดถึงที่มาของเครื่องยาสมุนไพร ทำให้ใช้เครื่องยาผิดชนิดในการปรุง การรักษาก็จะไม่ได้ผลและอาจเกิดอันตรายกับผู้ใช้
นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า สธ.สนับสนุนพัฒนายาสมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาล ขณะนี้มีสมุนไพรถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว เกือบ 100 รายการ มูลค่าการใช้ในสถานบริการสังกัด สธ.ปีละกว่า 300 ล้านบาท โดยให้สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นแหล่งรวบรวมเครื่องยาสมุนไพรที่ได้ทำการศึกษาวิจัยไปแล้ว จัดทำเป็นศูนย์เครื่องยาสมุนไพร และเปิดโอกาสให้ประชาชน หรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพรได้เข้าชมและศึกษาเรียนรู้
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เมื่อปี 2554 สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ปรับปรุงสถานที่รวบรวมตัวอย่างพืชและส่วนของพืชที่เป็นแหล่งที่มาของเครื่องยาสมุนไพร โดยเก็บมาจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย นำมาศึกษารายละเอียดลักษณะของพืช ต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด จัดทำพรรณไม้แห้ง ตรวจสอบชื่อลาตินตามหลักอนุกรมวิธาน นำส่วนของพืชที่จะใช้เป็นเครื่องยามาศึกษารายละเอียด จัดทำเป็นตัวอย่างเครื่องยาสมุนไพร ใช้สำหรับการอ้างอิงชื่อเครื่องยาสมุนไพรและชื่อลาตินของพืช เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับผู้สนใจ ได้รู้จักเครื่องยา สามารถนำเครื่องยาสมุนไพรมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามที่ต้องการ โดยเปิดให้ประชาชน ผู้สนใจเข้าชมและศึกษาเรียนรู้ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น.ที่ห้อง 411 อาคาร 9 ชั้น 4 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.
วันนี้ (27 ก.ย.) ที่ศูนย์เครื่องยาสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จ.นนทบุรี นพ.สมชัย นิจพานิช รองปลัด สธ.กล่าวภายหลังเป็นประธานร่วมเปิดศูนย์เครื่องยาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า ไทยมีการสืบทอดภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรมาแล้วหลายรุ่น แต่ไม่มีการรวบรวมองค์ความรู้อย่างเป็นระบบให้สืบค้นง่าย นอกจากนี้ เครื่องยาสมุนไพรแห้งมีการแปรสภาพไปจากเดิม ทำให้การจำแนกชนิดของเครื่องยาทำได้ยาก มีโอกาสผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนไปจากเดิม ซึ่งเป็นปัญหามากในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับพืชที่เป็นแหล่งที่มาของเครื่องยา เนื่องจากการเรียกชื่อสมุนไพรที่แต่ละท้องถิ่นอาจพ้องกันแต่ต่างชนิดกัน หรือเรียกต่างกันแต่เป็นชนิดเดียวกัน รวมไปถึงการนำสมุนไพรชนิดอื่นมาใช้แทนสมุนไพรหายาก ซึ่้งล้วนแต่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดถึงที่มาของเครื่องยาสมุนไพร ทำให้ใช้เครื่องยาผิดชนิดในการปรุง การรักษาก็จะไม่ได้ผลและอาจเกิดอันตรายกับผู้ใช้
นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า สธ.สนับสนุนพัฒนายาสมุนไพรเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาล ขณะนี้มีสมุนไพรถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว เกือบ 100 รายการ มูลค่าการใช้ในสถานบริการสังกัด สธ.ปีละกว่า 300 ล้านบาท โดยให้สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นแหล่งรวบรวมเครื่องยาสมุนไพรที่ได้ทำการศึกษาวิจัยไปแล้ว จัดทำเป็นศูนย์เครื่องยาสมุนไพร และเปิดโอกาสให้ประชาชน หรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสมุนไพรได้เข้าชมและศึกษาเรียนรู้
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เมื่อปี 2554 สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ปรับปรุงสถานที่รวบรวมตัวอย่างพืชและส่วนของพืชที่เป็นแหล่งที่มาของเครื่องยาสมุนไพร โดยเก็บมาจากแหล่งต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย นำมาศึกษารายละเอียดลักษณะของพืช ต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด จัดทำพรรณไม้แห้ง ตรวจสอบชื่อลาตินตามหลักอนุกรมวิธาน นำส่วนของพืชที่จะใช้เป็นเครื่องยามาศึกษารายละเอียด จัดทำเป็นตัวอย่างเครื่องยาสมุนไพร ใช้สำหรับการอ้างอิงชื่อเครื่องยาสมุนไพรและชื่อลาตินของพืช เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับผู้สนใจ ได้รู้จักเครื่องยา สามารถนำเครื่องยาสมุนไพรมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามที่ต้องการ โดยเปิดให้ประชาชน ผู้สนใจเข้าชมและศึกษาเรียนรู้ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น.ที่ห้อง 411 อาคาร 9 ชั้น 4 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.