อย.พบสถิติการร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพเดือน ส.ค.มากสุดคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาเกินจริง พร้อมแฉ “วิตามินลดน่อง” อวดสรรพคุณเกินจริง ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า การรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า มีผู้บริโภคร้องเรียนทั้งสิ้น 125 เรื่อง โดยร้องเรียนเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่างๆ มากที่สุด มีทั้งการโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถทำให้ผิวขาวขึ้น ลดความอ้วน ลดไขมันส่วนเกิน หรือรักษาโรคได้ เป็นต้น ซึ่ง อย.มิได้นิ่งนอนใจได้ทำการตรวจสอบตามข้อร้องเรียน และดำเนินคดีกับผู้โฆษณา และสื่อที่เผยแพร่โฆษณาอย่างเข้มงวด
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ อย.ยังได้ตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผิดกฎหมายทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าว พบว่าขณะนี้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นวิตามินลดน่อง ทางเว็บไซต์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งใช้ข้อความหลากหลายในการโฆษณา อาทิ “วิตามินลดขา ลดน่อง สะโพก ไฮเกรดพรีเมี่ยม สำหรับคนที่ต้องการลดตั้งแต่หน้าท้อง สะโพก บั้นท้าย ต้นขา น่อง สลายไขมันส่วนเกิน ให้ท่อนขาเรียวงามเหมือนนางแบบ ผ่าน GMP” “ปรับปรุงสูตรใหม่ แรงกว่าเดิม Slim Pure Vitamin Japan ผ่าน GMP ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น” “วิตามินลดขา ลดน่อง ลดสะโพก ลดเฉพาะช่วงล่าง ขาวส้มเท่านั้น เห็นผลจริง...” “วิตามินลดน่อง ของแท้จากอเมริกา” “อาหารเสริมเพื่อเรียวขาที่สวยพร้อมดีท็อกซ์ทำความสะอาดลำไส้ พร้อมบำรุงผิวให้มีสุขภาพดี......... สกัดจากพืชพันธุ์ธรรมชาติประเภทถั่วชนิดหนึ่ง......ลดกระชับสัดส่วน น่อง สะโพก ไม่มีผลข้างเคียง ปลอดภัย 100%” และมีการใช้ภาพที่แสดงผลการรับประทานผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเม็ดแคปซูลหลากสี แบ่งขายในราคาเม็ดละประมาณ 25 บาท
“อย.ขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อหามารับประทานเด็ดขาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย.ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีส่วนผสมใดในผลิตภัณฑ์ อาจมีการปนเปื้อน หรืออาจลักลอบใส่ตัวยาที่เป็นอันตราย และที่สำคัญการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ เป็นเท็จ เกินจริง หากผู้บริโภคหลงเชื่อ นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินทองโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ อย.จะดำเนินการกวาดล้าง และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ผู้ประกอบการทุกรายขอให้มีจริยธรรม และเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่างๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย สำหรับผู้บริโภค อย.ขอให้ใช้วิจารณญาณในการรับชมรับฟังโฆษณา และหากพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง ขอให้แจ้งร้องเรียนได้ที่ศูนย์เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชั้น 1 ตึก อย.หรือสายด่วน อย.1556 หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า การรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรร.) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า มีผู้บริโภคร้องเรียนทั้งสิ้น 125 เรื่อง โดยร้องเรียนเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่างๆ มากที่สุด มีทั้งการโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถทำให้ผิวขาวขึ้น ลดความอ้วน ลดไขมันส่วนเกิน หรือรักษาโรคได้ เป็นต้น ซึ่ง อย.มิได้นิ่งนอนใจได้ทำการตรวจสอบตามข้อร้องเรียน และดำเนินคดีกับผู้โฆษณา และสื่อที่เผยแพร่โฆษณาอย่างเข้มงวด
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ อย.ยังได้ตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผิดกฎหมายทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าว พบว่าขณะนี้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นวิตามินลดน่อง ทางเว็บไซต์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งใช้ข้อความหลากหลายในการโฆษณา อาทิ “วิตามินลดขา ลดน่อง สะโพก ไฮเกรดพรีเมี่ยม สำหรับคนที่ต้องการลดตั้งแต่หน้าท้อง สะโพก บั้นท้าย ต้นขา น่อง สลายไขมันส่วนเกิน ให้ท่อนขาเรียวงามเหมือนนางแบบ ผ่าน GMP” “ปรับปรุงสูตรใหม่ แรงกว่าเดิม Slim Pure Vitamin Japan ผ่าน GMP ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น” “วิตามินลดขา ลดน่อง ลดสะโพก ลดเฉพาะช่วงล่าง ขาวส้มเท่านั้น เห็นผลจริง...” “วิตามินลดน่อง ของแท้จากอเมริกา” “อาหารเสริมเพื่อเรียวขาที่สวยพร้อมดีท็อกซ์ทำความสะอาดลำไส้ พร้อมบำรุงผิวให้มีสุขภาพดี......... สกัดจากพืชพันธุ์ธรรมชาติประเภทถั่วชนิดหนึ่ง......ลดกระชับสัดส่วน น่อง สะโพก ไม่มีผลข้างเคียง ปลอดภัย 100%” และมีการใช้ภาพที่แสดงผลการรับประทานผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเม็ดแคปซูลหลากสี แบ่งขายในราคาเม็ดละประมาณ 25 บาท
“อย.ขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อหามารับประทานเด็ดขาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย.ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีส่วนผสมใดในผลิตภัณฑ์ อาจมีการปนเปื้อน หรืออาจลักลอบใส่ตัวยาที่เป็นอันตราย และที่สำคัญการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ เป็นเท็จ เกินจริง หากผู้บริโภคหลงเชื่อ นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินทองโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ อย.จะดำเนินการกวาดล้าง และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ผู้ประกอบการทุกรายขอให้มีจริยธรรม และเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่าโฆษณาด้วยวิธีต่างๆ ในลักษณะที่เกินเลยความเป็นจริง มิฉะนั้น จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย สำหรับผู้บริโภค อย.ขอให้ใช้วิจารณญาณในการรับชมรับฟังโฆษณา และหากพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง ขอให้แจ้งร้องเรียนได้ที่ศูนย์เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชั้น 1 ตึก อย.หรือสายด่วน อย.1556 หรือ E-mail : 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004