“ดร.อานนท์” ชี้ ภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต รัฐบาลต้องเตรียมรับมืออย่าประมาท แต่มั่นใจปีนี้น้ำไม่ท่วม ซ้ำรอยปีที่แล้ว เหตุรัฐบาลเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย กล่าวในเวทีสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “การเปลี่ยนโลกกับการจัดการน้ำของประเทศไทย” ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจะมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต หากมีปัจจัยอ่อนไหวก็อาจเกิดขึ้นได้อีก โดยเฉพาะคนเมืองที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การแก้ปัญหาต้องรับฟังเสียงของประชาชนด้วย
“น้ำท่วมไทยปีที่แล้วเพราะฝนและพายุที่ผ่านไทยหลายครั้งมาก แต่ไม่ใช่สาเหตุเดียว เพราะไทยได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมและความกดอากาศต่ำที่เปลี่ยนแปลง ผลจากโลกร้อนและในอนาคตมีความรุนแรงมากขึ้นไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลจึงต้องเตรียมรับมือเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องของภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และภูมิสังคม ที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันด้วยความเข้าใจ ซึ่งรัฐบาลต้องเน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนทางธรรมชาติมากขึ้น โดยบริหารจัดการให้ให้สอดคล้องอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ และปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา”ดร.อานนท์ กล่าว
ดร.อานนท์ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการจะต้องให้รองรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน เนื่องจากหากเกิดสิ่งใดขึ้นในประเทศหนึ่ง ประเทศอื่นๆ จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ จะต้องไม่ประมาทกับภาวะการถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะเหตุการณ์ต่างๆ อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก ทั้งนี้ รัฐบาลพยายามพัฒนาระบบเตือนภัยให้สมบูรณ์มากขึ้น ทั้งเรื่องสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา รวมทั้งบริหารจัดการการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบภาคการเกษตร แต่ยอมรับว่าบางพื้นที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้
“อย่างไรก็ตาม ขอให้นักลงทุนมั่นใจว่าขณะนี้พื้นที่รับน้ำมีความพร้อม และปัญหาน้ำท่วมขนาดใหญ่เหมือนปีทีผ่านมาคงเป็นไปได้ยาก เพราะสถานการณ์น้ำต่างจากปีที่แล้ว แต่การหวังพึ่งรัฐบาล และกรรมการชุดต่างๆ อย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะทุกพื้นที่ต้องประสานการทำงานเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น” ดร.อานนท์ กล่าว
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย กล่าวในเวทีสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “การเปลี่ยนโลกกับการจัดการน้ำของประเทศไทย” ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภาวะโลกร้อนจะมีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต หากมีปัจจัยอ่อนไหวก็อาจเกิดขึ้นได้อีก โดยเฉพาะคนเมืองที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การแก้ปัญหาต้องรับฟังเสียงของประชาชนด้วย
“น้ำท่วมไทยปีที่แล้วเพราะฝนและพายุที่ผ่านไทยหลายครั้งมาก แต่ไม่ใช่สาเหตุเดียว เพราะไทยได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมและความกดอากาศต่ำที่เปลี่ยนแปลง ผลจากโลกร้อนและในอนาคตมีความรุนแรงมากขึ้นไทยจะได้รับผลกระทบมากขึ้นด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลจึงต้องเตรียมรับมือเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องของภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และภูมิสังคม ที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันด้วยความเข้าใจ ซึ่งรัฐบาลต้องเน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนทางธรรมชาติมากขึ้น โดยบริหารจัดการให้ให้สอดคล้องอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ และปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา”ดร.อานนท์ กล่าว
ดร.อานนท์ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการจะต้องให้รองรับกับการเป็นประชาคมอาเซียน เนื่องจากหากเกิดสิ่งใดขึ้นในประเทศหนึ่ง ประเทศอื่นๆ จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ จะต้องไม่ประมาทกับภาวะการถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะเหตุการณ์ต่างๆ อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก ทั้งนี้ รัฐบาลพยายามพัฒนาระบบเตือนภัยให้สมบูรณ์มากขึ้น ทั้งเรื่องสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา รวมทั้งบริหารจัดการการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบภาคการเกษตร แต่ยอมรับว่าบางพื้นที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้
“อย่างไรก็ตาม ขอให้นักลงทุนมั่นใจว่าขณะนี้พื้นที่รับน้ำมีความพร้อม และปัญหาน้ำท่วมขนาดใหญ่เหมือนปีทีผ่านมาคงเป็นไปได้ยาก เพราะสถานการณ์น้ำต่างจากปีที่แล้ว แต่การหวังพึ่งรัฐบาล และกรรมการชุดต่างๆ อย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะทุกพื้นที่ต้องประสานการทำงานเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น” ดร.อานนท์ กล่าว