วธ.เล็งต่อยอดเอกลักษณ์ไทย “อาคม” แนะแปลละครไทย เป็นภาษาต่างชาติ ชูท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดึงเงินเข้าประเทศ
วันนี้ (23 ส.ค.) นางปริศนา พงศ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในการสัมมนาเผยแพร่องค์ความรู้ ก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียน ว่า ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ทาง สวธ.ได้เชิญผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพื้นบ้าน และอุตสาหกรรมการให้บริการ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ มุ่งหวังให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ อนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ลดช่องว่างการพัฒนา โดยได้มีการเสนอให้นำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน และนำมาสร้างรายได้ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
“ในประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงเป็นโอกาสที่ดีจะได้พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของประเทศ เพราะถือเป็นการเปิดโอกาสได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรม และให้ความรู้ที่สมัยใหม่ เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์และผลิตผลงานในอนาคต” นางปริศนา กล่าว
ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในอนาคตอำนาจทางเศรษฐกิจจะมาอยู่ทางเอเชีย และการผลิตสินค้าส่วนใหญ่ของโลกมาจากประเทศในเอเชีย คนไทยอาจจะมองข้ามไป โดยเฉพาะวิถีการปรุงอาหาร ผ้าไทย ถ้านำมาต่อยอดทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ จะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมต่อยอดเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ยกตัวอย่าง ละครไทยปัจจุบันเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศอาเซียน ควรแปลเป็นภาษาต่างๆ ส่วนการท่องเที่ยวในอาเซียนส่วนใหญ่ทำคล้ายๆกัน เที่ยวทะเล ภาษีสินค้าถูก ซึ่งในอนาคตนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มหันมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เราจะต้องปรับตัว แล้วเปิดพื้นที่เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของอาเซียน
วันนี้ (23 ส.ค.) นางปริศนา พงศ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวในการสัมมนาเผยแพร่องค์ความรู้ ก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียน ว่า ประเทศไทยจะเข้าร่วมประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ทาง สวธ.ได้เชิญผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพื้นบ้าน และอุตสาหกรรมการให้บริการ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ มุ่งหวังให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ อนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ลดช่องว่างการพัฒนา โดยได้มีการเสนอให้นำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตแบบยั่งยืน และนำมาสร้างรายได้ในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
“ในประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงเป็นโอกาสที่ดีจะได้พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของประเทศ เพราะถือเป็นการเปิดโอกาสได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการผลิตและด้านการตลาด โดยการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรม และให้ความรู้ที่สมัยใหม่ เพื่อใช้ในการสร้างสรรค์และผลิตผลงานในอนาคต” นางปริศนา กล่าว
ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ในอนาคตอำนาจทางเศรษฐกิจจะมาอยู่ทางเอเชีย และการผลิตสินค้าส่วนใหญ่ของโลกมาจากประเทศในเอเชีย คนไทยอาจจะมองข้ามไป โดยเฉพาะวิถีการปรุงอาหาร ผ้าไทย ถ้านำมาต่อยอดทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ จะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมต่อยอดเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ยกตัวอย่าง ละครไทยปัจจุบันเป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศอาเซียน ควรแปลเป็นภาษาต่างๆ ส่วนการท่องเที่ยวในอาเซียนส่วนใหญ่ทำคล้ายๆกัน เที่ยวทะเล ภาษีสินค้าถูก ซึ่งในอนาคตนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มหันมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เราจะต้องปรับตัว แล้วเปิดพื้นที่เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของอาเซียน