ลาดกระบังฯ เตรียมยกระดับบัณฑิตรองรับอาเซียน “ถวิล” เน้นสร้างความคุ้นเคย พร้อมปรับหลักสูตรสอดรับมาตรฐานสากล ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษา พร้อมสอนเสริมวิชาพิเศษแก้ปัญหาติดขัดข้อกำหนดสภาวิชาชีพ แนะสภาวิชาชีพ ปรับเกณฑ์เอื้ออุดมศึกษาพัฒนาหลักสูตรสอดรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในและต่างประเทศ
ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยหลังเข้ารับตำแหน่งอธิการ สจล.คนล่าสุด ว่า เป้าหมายที่สำคัญ ของ สจล.ที่ต้องก้าวไปให้ถึง คือ การพัฒนาให้ สจล.เป็นสถาบันชั้นแนวหน้า 1 ใน 3 ของประเทศไทย และเป็น 1ใน 10 ของสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าแห่งประชาคมอาเซียนในปี 2563 โดยจะเริ่มต้นในการพัฒนาสถาบันด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มาใช้ เนื่องจากทางสถาบันมีคณาจารย์และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการผลิตผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้จำนวนมาก ดังนั้น อนาคตจะต้องมีการส่งเสริม ต่อยอดผลงานของอาจารย์ เพื่อให้เกิดปรโยชน์สูงสุด และเป็นที่พึ่งของสังคมได้
สำหรับการพัฒนาบัณฑิตนั้น ได้มีการกำหนดแผนไว้ 3 แนวทาง คือ 1.สร้างความคุ้นเคยในการใช้ภาษา สภาพแวดล้อมความเป็นนานาชาติให้แก่นักศึกษาไทย โดยทางสถาบันได้มอบหมายให้ทางคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ไปจัดโรดโชว์ในประเทศต่างๆ เพื่อเผยแพร่การเรียนการสอน หลักสูตร ทุนการศึกษา แนะนำให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนที่ สจล.โดยตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ 50% จากเดิมที่มีนักศึกษาต่างชาติเรียนที่วิทยาลัยนานาชาติเพียง 10% ทั้งนี้ ในการเรียนการสอนภาษา ปัจจุบันวิทยาลัยนานาชาติ ได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และภาษาจีน ซึ่งในอนาคตจะมีการเปิดสอนภาษาของฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมถึงภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้
2.จัดทำหลักสูตร ให้สอดคล้องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพิ่มเติมการเรียนการสอนวิชาพิเศษในหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของในประเทศและต่างประเทศ จัดทำหลักสูตรนานาชาติอย่างจริงจังโดยเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐาน เพื่อให้นักศึกษาได้ซึมซับกับภาษาอังกฤษ และสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ รวมถึงจัดทำหลักสูตร พื้นฐานทางวิชาการและหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อวิชาชีพให้แก่นักศึกษาทุกระดับชั้น และ 3.การทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการ งานวิจัย นักศึกษา และบุคลากรร่วมกัน รวมถึงอาจจะมีการทำปริญญา 2 ใบร่วมกัน ซึ่งตอนนี้ทาง สจล.มีการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ประมาณ 100 กว่าแห่ง
“ตอนนี้การเรียนการสอน ส่วนใหญ่จะยึดตามมาตรฐานภายในประเทศ ซึ่งหากเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเรียนการสอนที่ยึดตามหลักมาตรฐานภายในประเทศนั้นไม่เพียงพอต้องยึดตามมาตรฐานระดับนานาชาติ สถาบันการศึกษาถึงจะสามารถผลิตบัณฑิตแข่งขันในระดับนานาชาติได้ นอกจากนั้น สภาวิชาชีพทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะสภาวิศวกร คุรุสภา ฯลฯ จะต้องมีการปรับกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อเอื้อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ เพราะปัจจุบันกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของสภาวิชาชีพ ยังบังคับว่าต้องเรียนตามลำดับขั้นตอนและวิชา ไม่สามารถข้ามขั้นตอนได้ ทำให้การปรับหลักสูตรมีปัญหา ติดขัด ไม่สามารถทำได้ทันที ซึ่งหากทางสภาวิชาชีพยังไม่มีการปรับเปลี่ยนจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และเมื่อบัณฑิตจบออกไปก็ไม่สามารถทำงานในประเทศอาเซียนได้” อธิการบดี สจล.กล่าว
ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยหลังเข้ารับตำแหน่งอธิการ สจล.คนล่าสุด ว่า เป้าหมายที่สำคัญ ของ สจล.ที่ต้องก้าวไปให้ถึง คือ การพัฒนาให้ สจล.เป็นสถาบันชั้นแนวหน้า 1 ใน 3 ของประเทศไทย และเป็น 1ใน 10 ของสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าแห่งประชาคมอาเซียนในปี 2563 โดยจะเริ่มต้นในการพัฒนาสถาบันด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มาใช้ เนื่องจากทางสถาบันมีคณาจารย์และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการผลิตผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้จำนวนมาก ดังนั้น อนาคตจะต้องมีการส่งเสริม ต่อยอดผลงานของอาจารย์ เพื่อให้เกิดปรโยชน์สูงสุด และเป็นที่พึ่งของสังคมได้
สำหรับการพัฒนาบัณฑิตนั้น ได้มีการกำหนดแผนไว้ 3 แนวทาง คือ 1.สร้างความคุ้นเคยในการใช้ภาษา สภาพแวดล้อมความเป็นนานาชาติให้แก่นักศึกษาไทย โดยทางสถาบันได้มอบหมายให้ทางคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ไปจัดโรดโชว์ในประเทศต่างๆ เพื่อเผยแพร่การเรียนการสอน หลักสูตร ทุนการศึกษา แนะนำให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนที่ สจล.โดยตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ 50% จากเดิมที่มีนักศึกษาต่างชาติเรียนที่วิทยาลัยนานาชาติเพียง 10% ทั้งนี้ ในการเรียนการสอนภาษา ปัจจุบันวิทยาลัยนานาชาติ ได้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และภาษาจีน ซึ่งในอนาคตจะมีการเปิดสอนภาษาของฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมถึงภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้
2.จัดทำหลักสูตร ให้สอดคล้องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพิ่มเติมการเรียนการสอนวิชาพิเศษในหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับนานาชาติ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของในประเทศและต่างประเทศ จัดทำหลักสูตรนานาชาติอย่างจริงจังโดยเริ่มใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐาน เพื่อให้นักศึกษาได้ซึมซับกับภาษาอังกฤษ และสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ รวมถึงจัดทำหลักสูตร พื้นฐานทางวิชาการและหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อวิชาชีพให้แก่นักศึกษาทุกระดับชั้น และ 3.การทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิชาการ งานวิจัย นักศึกษา และบุคลากรร่วมกัน รวมถึงอาจจะมีการทำปริญญา 2 ใบร่วมกัน ซึ่งตอนนี้ทาง สจล.มีการทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ประมาณ 100 กว่าแห่ง
“ตอนนี้การเรียนการสอน ส่วนใหญ่จะยึดตามมาตรฐานภายในประเทศ ซึ่งหากเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเรียนการสอนที่ยึดตามหลักมาตรฐานภายในประเทศนั้นไม่เพียงพอต้องยึดตามมาตรฐานระดับนานาชาติ สถาบันการศึกษาถึงจะสามารถผลิตบัณฑิตแข่งขันในระดับนานาชาติได้ นอกจากนั้น สภาวิชาชีพทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะสภาวิศวกร คุรุสภา ฯลฯ จะต้องมีการปรับกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เพื่อเอื้อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในและต่างประเทศ เพราะปัจจุบันกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของสภาวิชาชีพ ยังบังคับว่าต้องเรียนตามลำดับขั้นตอนและวิชา ไม่สามารถข้ามขั้นตอนได้ ทำให้การปรับหลักสูตรมีปัญหา ติดขัด ไม่สามารถทำได้ทันที ซึ่งหากทางสภาวิชาชีพยังไม่มีการปรับเปลี่ยนจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และเมื่อบัณฑิตจบออกไปก็ไม่สามารถทำงานในประเทศอาเซียนได้” อธิการบดี สจล.กล่าว