กทม.รับแม้อัตราป่วยโรคมือเท้าใน กทม.น้อยกว่าพื้นที่อื่น แต่กลับมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 54 ที่มีผู้ป่วยอยู่ที่ 35 รายต่อประชากร 1 แสนคน
นางวันทนีย์ วัฒนะ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวว่า ทาง กทม.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปกติของโรคดังกล่าวที่จะเกิดการระบาดในช่วงฤดูฝน และจะติดต่อได้ง่ายในกรณีของเด็กเล็กที่มีการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือติดต่อทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือการใช้ห้องน้ำไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น ซึ่งทาง กทม.มีมาตรการควบคุมโดยกรณีที่พบเด็กมีอาการของโรคมากกว่า 2 คน ภายใน 1 ห้อง จะขอให้ทางผู้บริหารโรงเรียนหยุดการเรียนการสอนในห้องที่มีเด็กป่วย เพื่อทำความสะอาด และหากมีแนวโน้มการระบาดจะขอให้พิจารณาปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดใหญ่ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก็มีรายงานการเกิดโรค และมีการหยุดการเรียนการสอน เป็นระยะๆ เนื่องจากโรคดังกล่าวที่พบใน กทม.เป็นเชื้อคนละกลุ่มกับที่ระบาดในกัมพูชา ใน กทม.เป็นเชื้อที่มีความรุนแรงน้อยกว่า และไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และการกำจัดเชื้อโรคก็สามารถฆ่าเชื้อได้ง่าย เช่น ของเล่นที่เด็กใช้ร่วมกันต้องล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ กรณีพื้นห้อง ลูกบิด ราวบันได ก็ให้กลุ่มของน้ำยาคลอรีนสัดส่วน 1 ต่อ 50 ส่วนในห้องน้ำ ก็ต้องใช้ในสัดส่วนที่เข้มข้นขึ้น รวมทั้งในส่วนของโรงเรียนที่มีสระว่ายน้ำ ก็ต้องมีการตรวจเช็กโดยละเอียดเช่นกัน
นางวันทนีย์ กล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.มีอัตราป่วยโรคมือเท้าปาก อยู่ที่ 35 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งเป็นอัตราการระบาดที่รุนแรงน้อยกว่าในจังหวัดอื่นที่มีประชากรน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบจำนวนผู้ป่วยกับปี 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ปีนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
นางวันทนีย์ วัฒนะ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวว่า ทาง กทม.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปกติของโรคดังกล่าวที่จะเกิดการระบาดในช่วงฤดูฝน และจะติดต่อได้ง่ายในกรณีของเด็กเล็กที่มีการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือติดต่อทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือการใช้ห้องน้ำไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น ซึ่งทาง กทม.มีมาตรการควบคุมโดยกรณีที่พบเด็กมีอาการของโรคมากกว่า 2 คน ภายใน 1 ห้อง จะขอให้ทางผู้บริหารโรงเรียนหยุดการเรียนการสอนในห้องที่มีเด็กป่วย เพื่อทำความสะอาด และหากมีแนวโน้มการระบาดจะขอให้พิจารณาปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดใหญ่ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ก็มีรายงานการเกิดโรค และมีการหยุดการเรียนการสอน เป็นระยะๆ เนื่องจากโรคดังกล่าวที่พบใน กทม.เป็นเชื้อคนละกลุ่มกับที่ระบาดในกัมพูชา ใน กทม.เป็นเชื้อที่มีความรุนแรงน้อยกว่า และไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และการกำจัดเชื้อโรคก็สามารถฆ่าเชื้อได้ง่าย เช่น ของเล่นที่เด็กใช้ร่วมกันต้องล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ กรณีพื้นห้อง ลูกบิด ราวบันได ก็ให้กลุ่มของน้ำยาคลอรีนสัดส่วน 1 ต่อ 50 ส่วนในห้องน้ำ ก็ต้องใช้ในสัดส่วนที่เข้มข้นขึ้น รวมทั้งในส่วนของโรงเรียนที่มีสระว่ายน้ำ ก็ต้องมีการตรวจเช็กโดยละเอียดเช่นกัน
นางวันทนีย์ กล่าวต่อว่า ในพื้นที่ กทม.มีอัตราป่วยโรคมือเท้าปาก อยู่ที่ 35 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งเป็นอัตราการระบาดที่รุนแรงน้อยกว่าในจังหวัดอื่นที่มีประชากรน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบจำนวนผู้ป่วยกับปี 2554 ที่ผ่านมา พบว่า ปีนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น