ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกปี 2555 เพิ่ม 26 แหล่ง ไทยโล่งอยุธยาหลุดโผขึ้นบัญชีเสี่ยงอันตราย
วันนี้ (11 ก.ค.) นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 36 ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกใหม่ 26 แหล่ง ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรม 20 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 5 แหล่ง และมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 1 แหล่ง ส่งผลให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น 962 แหล่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม 745 แหล่ง มรดกธรรมชาติ 188 แหล่ง และมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 23 แหล่ง ใน 157 ประเทศที่เป็นประเทศภาคีสมาชิกองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
นางโสมสุดา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาขึ้นบัญชีมรดกโลกในภาวะอันตราย ซึ่งไม่มีรายชื่อของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาของไทย ติดบัญชีดังกล่าวตามที่หลายฝ่ายกังวล แต่มีมรดกโลก 5 แห่ง ถูกขึ้นบัญชีภาวะอันตราย ได้แก่ มรดกโลกประเทศมาลี 2 แห่ง คือ สุสานแห่งอัสเกีย และทิมบักตู, สถานที่ประสูติพระเยซู เมืองเบธเลเฮม ประเทศปาเลสไตน์, ป้อมบนฝั่งทะเลคาริเบียน ประเทศปานามา, เมืองพาณิชย์นาวี ลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนี้มีมรดกโลกที่ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกในภาวะอันตรายทั้งหมด 38 แหล่ง อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีมติถอนรายชื่อเมืองลาฮอร์ประเทศปากีสถาน และนาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ ออกจากบัญชีมรดกโลกในภาวะอันตรายแล้ว
คณะกรรมการมรดกโลก กล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้มีมติรับรองแหล่งมรดกโลกในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ที่ศูนย์มรดกโลกเสนอมาทั้งหมด 1,541 แหล่ง จาก 168 ประเทศ โดยพิจารณารับรองแหล่งมรดกในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น 103 แหล่ง อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 จะจัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา เนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่แสดงความจำนงขอเป็นเจ้าภาพการประชุม ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติมอบให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ
“ความคืบหน้าหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้เสนอพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อเสนอให้ประกาศเป็นมรดกโลกนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมเอกสาร เพื่อส่งใบสมัครต่อศูนย์มรดกโลก คาดว่าภายในเร็วๆ นี้ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ หลังจากมีการตอบรับใบสมัครของไทยแล้ว ชื่อของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ ก็จะอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นทันที หลังจากนั้น กรมศิลปากร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องช่วยทำเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศจะเป็นผู้พิจารณารับรองเป็นมรดกโลก ซึ่งหากเอกสารเสร็จทันเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ก็จะเสนอให้พิจารณาเป็นมรดกโลกได้ในเดือนมิถุนายน 2557 แต่หากเสร็จไม่ทันก็จะเลื่อนออกไปอีก” นางโสมสุดา กล่าว
แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
1.Pearling Testimony of an Island Economy (Bahrain)
2.Major Mining Sites of Wallonia (Belgium)
3.Rio de Janeiro Carioca Landscapes between the Mountain and the sea (Brazil)
4.The Landscape of Grand-Pre (Canada)
5.Site of Xanadu (China)
6.Historic Town Grand-Bassam (Cote d'lvoire)
7.Nord-Pas de Calais Mining Basin (France)
8.Margravial Opera House Bayreuth (Germany)
9.Cultural Landscape of Bali Province the Subak System as a Manitestion of Tri Hita Karano Philosophy (Indonesia)
10.Masjed e Jame of Isfahan (Islarnic Rcpublic of Iran)
11.Gonbad-e Qabus (Islarnic Rcpublic of Iran)
12.Sites of Human Evolution at Mount Carmcl The Nahal Me'arot/Wadiel-Mughara caves (Israel)
13.Archaelogical Heritage of the I enggong Valley (malaysia)
14.Rabat Modern Capital and Hisloric City a Shared Heritage (Morocco)
15.Birthplace of jesus Churc of the Nativity and the Pilgrimage Route Bethlehem (palestine)
16.Garrison Border Town of Elvas and its Fortifications (Portugal)
17.Bassari country Bassari Fula and Bedik Cultural Landscapes (Senegal)
18.Heritage of Mercury Almaden and Idrija (Slovenia/spain)
19.Decorated Farmhouses of HaIsingland (sweden)
20.NeoIithic Site of CataIhoyuk (turkey)
แหล่งมรดกทางธรรมชาติ
1.Lakes of Ounianga (Chad)
2.Sangha Trinational (Cameroon Central African RepubIic Congo)
3.Chengjiang Fossil Site (china)
4.Western Ghats (India)
5.lena Pillars Nature Park (Russian Federation)
แหล่งมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
1.Rock Islands Southern Lagoon (Palau)
วันนี้ (11 ก.ค.) นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 36 ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย โดยที่ประชุมได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกใหม่ 26 แหล่ง ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรม 20 แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ 5 แหล่ง และมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 1 แหล่ง ส่งผลให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น 962 แหล่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม 745 แหล่ง มรดกธรรมชาติ 188 แหล่ง และมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 23 แหล่ง ใน 157 ประเทศที่เป็นประเทศภาคีสมาชิกองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
นางโสมสุดา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาขึ้นบัญชีมรดกโลกในภาวะอันตราย ซึ่งไม่มีรายชื่อของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาของไทย ติดบัญชีดังกล่าวตามที่หลายฝ่ายกังวล แต่มีมรดกโลก 5 แห่ง ถูกขึ้นบัญชีภาวะอันตราย ได้แก่ มรดกโลกประเทศมาลี 2 แห่ง คือ สุสานแห่งอัสเกีย และทิมบักตู, สถานที่ประสูติพระเยซู เมืองเบธเลเฮม ประเทศปาเลสไตน์, ป้อมบนฝั่งทะเลคาริเบียน ประเทศปานามา, เมืองพาณิชย์นาวี ลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ซึ่งขณะนี้มีมรดกโลกที่ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกในภาวะอันตรายทั้งหมด 38 แหล่ง อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีมติถอนรายชื่อเมืองลาฮอร์ประเทศปากีสถาน และนาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ ออกจากบัญชีมรดกโลกในภาวะอันตรายแล้ว
คณะกรรมการมรดกโลก กล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้มีมติรับรองแหล่งมรดกโลกในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ที่ศูนย์มรดกโลกเสนอมาทั้งหมด 1,541 แหล่ง จาก 168 ประเทศ โดยพิจารณารับรองแหล่งมรดกในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น 103 แหล่ง อย่างไรก็ตาม การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 จะจัดขึ้นที่ประเทศกัมพูชา เนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่แสดงความจำนงขอเป็นเจ้าภาพการประชุม ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติมอบให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพ
“ความคืบหน้าหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้เสนอพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อเสนอให้ประกาศเป็นมรดกโลกนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมเอกสาร เพื่อส่งใบสมัครต่อศูนย์มรดกโลก คาดว่าภายในเร็วๆ นี้ จะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ หลังจากมีการตอบรับใบสมัครของไทยแล้ว ชื่อของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ ก็จะอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นทันที หลังจากนั้น กรมศิลปากร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องช่วยทำเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศจะเป็นผู้พิจารณารับรองเป็นมรดกโลก ซึ่งหากเอกสารเสร็จทันเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ก็จะเสนอให้พิจารณาเป็นมรดกโลกได้ในเดือนมิถุนายน 2557 แต่หากเสร็จไม่ทันก็จะเลื่อนออกไปอีก” นางโสมสุดา กล่าว
แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
1.Pearling Testimony of an Island Economy (Bahrain)
2.Major Mining Sites of Wallonia (Belgium)
3.Rio de Janeiro Carioca Landscapes between the Mountain and the sea (Brazil)
4.The Landscape of Grand-Pre (Canada)
5.Site of Xanadu (China)
6.Historic Town Grand-Bassam (Cote d'lvoire)
7.Nord-Pas de Calais Mining Basin (France)
8.Margravial Opera House Bayreuth (Germany)
9.Cultural Landscape of Bali Province the Subak System as a Manitestion of Tri Hita Karano Philosophy (Indonesia)
10.Masjed e Jame of Isfahan (Islarnic Rcpublic of Iran)
11.Gonbad-e Qabus (Islarnic Rcpublic of Iran)
12.Sites of Human Evolution at Mount Carmcl The Nahal Me'arot/Wadiel-Mughara caves (Israel)
13.Archaelogical Heritage of the I enggong Valley (malaysia)
14.Rabat Modern Capital and Hisloric City a Shared Heritage (Morocco)
15.Birthplace of jesus Churc of the Nativity and the Pilgrimage Route Bethlehem (palestine)
16.Garrison Border Town of Elvas and its Fortifications (Portugal)
17.Bassari country Bassari Fula and Bedik Cultural Landscapes (Senegal)
18.Heritage of Mercury Almaden and Idrija (Slovenia/spain)
19.Decorated Farmhouses of HaIsingland (sweden)
20.NeoIithic Site of CataIhoyuk (turkey)
แหล่งมรดกทางธรรมชาติ
1.Lakes of Ounianga (Chad)
2.Sangha Trinational (Cameroon Central African RepubIic Congo)
3.Chengjiang Fossil Site (china)
4.Western Ghats (India)
5.lena Pillars Nature Park (Russian Federation)
แหล่งมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
1.Rock Islands Southern Lagoon (Palau)