อธิการ มก.แจง หักเงินอาจารย์ไปเพื่อจัดสวัสดิการ การฟ้องถือเป็นสิทธิ์ทำได้ ส่วนกรณีพนักงานมหา'ลัย พร้อมโบ้ยไปเอาคำตอบจากรัฐบาลมีงบหนุนหรือไม่ กรณีเรียกร้องเงินประจำตำแหน่งเท่าข้าราชการ ด้าน อาจารย์ ม.ราชภัฏ ทวงถามความชัดเจนเรื่องเงินประจำตำแหน่งด้วย พร้อมย้ำไม่ต้องการทวงสิทธิ์เป็นข้าราชการ เพราะเวลานี้เดินมาไกลแล้ว
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มอาจารย์จาก มก.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง กรณีการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายอาจารย์ 1.5 เท่า ซึ่งไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า การที่อาจารย์รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมและไปฟ้องศาลปกครองถือเป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ ซึ่งตนก็ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลปกครองไปแล้ว และจากนี้คงต้องรอฟังว่าทางศาลปกครองจะมีคำสั่งอย่างไร ทั้งนี้ สำหรับการให้เงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่ 1.5 นั้น เป็นมติของสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2547 โดยมีเหตุผลว่าต้องการนำเงินที่เหลือ 0.2 ไปจัดสวัสดิการให้กับทุกคน เพราะสายวิชาการหากสามารถขอตำแหน่งทางวิชาการได้จะมีเงินประจำตำแหน่งเพิ่มเข้ามาอยู่แล้ว แต่ในสายสนับสนุนไม่มี ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยขณะนั้นจึงคิดว่าควรจะจัดสวัสดิการต่างๆ ให้มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด คือ ให้สภามหาวิทยาลัยสามารถนำเงินไปจัดสรรสวัสดิการต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยสวัสดิการที่ มก.จัดให้ คือ สิทธิในการรักษาพยาบาล พ่อ แม่ และลูก สูงสุดถึงปีละ 70,000 บาท และที่สำคัญ เรื่องนี้ทาง มก.ไม่ได้ปิดเป็นความลับ เพราะในสัญญาจ้างที่ทุกคนต้องเซ็นต์ก่อนเข้าทำงาน ได้ระบุไว้ชัดเจน และเข้าใจว่าทุกคนรับทราบดีก่อนเข้าทำงานอยู่แล้ว
อธิการบดี มก.กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ทางเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษาเรียกร้องให้พนักงานได้รับเงินประจำตำแหน่งเท่ากับข้าราชการนั้น คงต้องไปถามทางรัฐบาล เพราะในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้ข้าราชการได้เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มเป็น 2 เท่า อาทิ เดิมได้ 10,000 ก็ให้เพิ่มเป็น 20,000 บาท ซึ่งตรงนี้จะถูกปรับลดเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น หากจะถามเรื่องนี้คงต้องไปถามทางรัฐบาลว่ามีงบประมาณจะสนับสนุนเพิ่มหรือไม่ และถ้าจะให้มหาวิทยาลัยจ่าย ก็จะต้องแบ่งจากเงินรายได้ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาในส่วนอื่นตามมา ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นด้วยและสนับสนุนข้อเสนอของเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะต้องมีแนวทางปฏิบัติ หรือเกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน และเห็นด้วยว่าควรปรับแก้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 เป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ....เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติเดียวกันทุกมหาวิทยาลัย
ด้าน นายประทัย พิริยะสุรวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เชียงราย ในฐานะรองประธานเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา กล่าวว่า ที่ผ่านมา อาจารย์ในมรภ.จะมีปัญหาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ช้ากว่ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพราะใน พ.ร.บ.มรภ.ระบุไม่ชัดเจนว่า อาจารย์สัญญาจ้างสามารถขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยเองก็ไม่ยอมให้เงินประจำแหน่งกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งทางวิชากา ทำให้อาจารย์ไม่มีกำลังใจ จนกระทั่ง สกอ.ออกหลักเกณฑ์ให้มหาวิทยาลัยต้องมีอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยจึงเกิดการตื่นตัวเร่งให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้ตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด
“ขณะนี้ เฉพาะใน มรภ.เชียงราย เองมีอาจารย์ที่เสนอผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการค้างอยู่เกือบ 200 คน แต่ที่ยังเป็นข้อกังวลอยู่ คือ เมื่ออาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการได้แล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะจ่ายเงินประจำตำแหน่งให้หรือไม่ เพราะเงินจำนวนนี้จะต้องมาจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย และการเพิ่มเงินเดือนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) เดือนละ ประมาณ 3,500 บาท ตลอดไปก็ถือว่าไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ ดังนั้น ตนจึงอยากให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทุกแห่งมีความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ทางเครือข่ายฯ ไม่ต้องการกลับไปเป็นข้าราชการ เพราะระบบพนักงานมหาวิทยาลัยเดินหน้ามาไกลแล้ว” นายประทัย กล่าว
รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มอาจารย์จาก มก.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง กรณีการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายอาจารย์ 1.5 เท่า ซึ่งไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า การที่อาจารย์รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมและไปฟ้องศาลปกครองถือเป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ ซึ่งตนก็ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลปกครองไปแล้ว และจากนี้คงต้องรอฟังว่าทางศาลปกครองจะมีคำสั่งอย่างไร ทั้งนี้ สำหรับการให้เงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการที่ 1.5 นั้น เป็นมติของสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2547 โดยมีเหตุผลว่าต้องการนำเงินที่เหลือ 0.2 ไปจัดสวัสดิการให้กับทุกคน เพราะสายวิชาการหากสามารถขอตำแหน่งทางวิชาการได้จะมีเงินประจำตำแหน่งเพิ่มเข้ามาอยู่แล้ว แต่ในสายสนับสนุนไม่มี ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยขณะนั้นจึงคิดว่าควรจะจัดสวัสดิการต่างๆ ให้มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด คือ ให้สภามหาวิทยาลัยสามารถนำเงินไปจัดสรรสวัสดิการต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยสวัสดิการที่ มก.จัดให้ คือ สิทธิในการรักษาพยาบาล พ่อ แม่ และลูก สูงสุดถึงปีละ 70,000 บาท และที่สำคัญ เรื่องนี้ทาง มก.ไม่ได้ปิดเป็นความลับ เพราะในสัญญาจ้างที่ทุกคนต้องเซ็นต์ก่อนเข้าทำงาน ได้ระบุไว้ชัดเจน และเข้าใจว่าทุกคนรับทราบดีก่อนเข้าทำงานอยู่แล้ว
อธิการบดี มก.กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ทางเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษาเรียกร้องให้พนักงานได้รับเงินประจำตำแหน่งเท่ากับข้าราชการนั้น คงต้องไปถามทางรัฐบาล เพราะในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้ข้าราชการได้เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มเป็น 2 เท่า อาทิ เดิมได้ 10,000 ก็ให้เพิ่มเป็น 20,000 บาท ซึ่งตรงนี้จะถูกปรับลดเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น หากจะถามเรื่องนี้คงต้องไปถามทางรัฐบาลว่ามีงบประมาณจะสนับสนุนเพิ่มหรือไม่ และถ้าจะให้มหาวิทยาลัยจ่าย ก็จะต้องแบ่งจากเงินรายได้ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาในส่วนอื่นตามมา ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นด้วยและสนับสนุนข้อเสนอของเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะต้องมีแนวทางปฏิบัติ หรือเกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน และเห็นด้วยว่าควรปรับแก้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 เป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน และพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ....เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติเดียวกันทุกมหาวิทยาลัย
ด้าน นายประทัย พิริยะสุรวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เชียงราย ในฐานะรองประธานเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา กล่าวว่า ที่ผ่านมา อาจารย์ในมรภ.จะมีปัญหาขอตำแหน่งทางวิชาการได้ช้ากว่ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ของรัฐ หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพราะใน พ.ร.บ.มรภ.ระบุไม่ชัดเจนว่า อาจารย์สัญญาจ้างสามารถขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยเองก็ไม่ยอมให้เงินประจำแหน่งกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งทางวิชากา ทำให้อาจารย์ไม่มีกำลังใจ จนกระทั่ง สกอ.ออกหลักเกณฑ์ให้มหาวิทยาลัยต้องมีอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยจึงเกิดการตื่นตัวเร่งให้อาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อให้ตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด
“ขณะนี้ เฉพาะใน มรภ.เชียงราย เองมีอาจารย์ที่เสนอผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการค้างอยู่เกือบ 200 คน แต่ที่ยังเป็นข้อกังวลอยู่ คือ เมื่ออาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการได้แล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะจ่ายเงินประจำตำแหน่งให้หรือไม่ เพราะเงินจำนวนนี้จะต้องมาจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย และการเพิ่มเงินเดือนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) เดือนละ ประมาณ 3,500 บาท ตลอดไปก็ถือว่าไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ ดังนั้น ตนจึงอยากให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทุกแห่งมีความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ทางเครือข่ายฯ ไม่ต้องการกลับไปเป็นข้าราชการ เพราะระบบพนักงานมหาวิทยาลัยเดินหน้ามาไกลแล้ว” นายประทัย กล่าว