“ธีระชน” เผย ตึกอินโดไทย ไม่ได้เอียงตามภาพถ่าย ชี้ ความเอียงอาจมาจากมุมกล้อง แต่สั่งระงับรื้อถอนอาคารอินโดไทย จนกว่าจะดำเนินการถูกต้อง หลังพบไม่มีวิศวกรควบคุมความปลอดภัยระหว่างรื้อถอนอาคาร
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารอินโดไทย โฮลดิ้ง ซ.สุขุมวิท 24 เขตคลองเตย หลังจากได้รับการร้องเรียนทางอินเทอร์เน็ต ว่า อาคารดังกล่าวเอียง และอยู่ระหว่างการรื้อถอน ว่า จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้น พบว่า อาคารดังกล่าวไม่เอียงเหมือนในภาพ คาดว่า เป็นมุมกล้องที่ถ่ายออกมาแล้วอาคารดังกล่าวเอียง ดังนั้น หากประชาชนได้รับข้อมูล หรือภาพใดๆ ในลักษณะนี้ อย่าได้หวั่นไหว ขอให้รอการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน และจากการตรวจสอบใบอนุญาตรื้อถอน พบว่า มีใบอนุญาตรื้อถอนถูกต้อง แต่พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการรื้อถอนไม่ถูกต้องตามมาตรการที่ กทม.กำหนด อาทิ ไม่มีวิศวกรอยู่ควบคุมความปลอดภัยขณะรื้อถอนอาคาร ไม่มีผ้าใบคลุมตึก เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเศษวัสดุตกหล่น เศษวัสดุที่ทุบทิ้งมีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดเสียงดังและมีฝุ่นละออง ทำให้ประชาชนที่อยู่รอบบริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบ จึงได้สั่งการสำนักการโยธา (สนย.) ระงับการรื้อถอนอาคารดังกล่าวชั่วคราว จนกว่าจะดำเนินตามขั้นตอนการรื้อถอนอาคารตามมาตรการที่ กทม.กำหนด พร้อมทั้งกำชับให้สำนักงานเขตตรวจสอบอาคารบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรการความปลอดภัยตามที่กทม.กำหนด โดยเฉพาะผ้าใบคลุมตึก นอกจากนี้ ได้สั่งการเพิ่มเติมให้สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขต ทำการตรวจสอบอาคารในพื้นที่โดยครอบคลุมถึงโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งทุกอาคารต้องมีทางหนีไฟ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ของประชาชนทุกคนในกรุงเทพฯ
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารอินโดไทย โฮลดิ้ง ซ.สุขุมวิท 24 เขตคลองเตย หลังจากได้รับการร้องเรียนทางอินเทอร์เน็ต ว่า อาคารดังกล่าวเอียง และอยู่ระหว่างการรื้อถอน ว่า จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้น พบว่า อาคารดังกล่าวไม่เอียงเหมือนในภาพ คาดว่า เป็นมุมกล้องที่ถ่ายออกมาแล้วอาคารดังกล่าวเอียง ดังนั้น หากประชาชนได้รับข้อมูล หรือภาพใดๆ ในลักษณะนี้ อย่าได้หวั่นไหว ขอให้รอการตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน และจากการตรวจสอบใบอนุญาตรื้อถอน พบว่า มีใบอนุญาตรื้อถอนถูกต้อง แต่พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการรื้อถอนไม่ถูกต้องตามมาตรการที่ กทม.กำหนด อาทิ ไม่มีวิศวกรอยู่ควบคุมความปลอดภัยขณะรื้อถอนอาคาร ไม่มีผ้าใบคลุมตึก เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเศษวัสดุตกหล่น เศษวัสดุที่ทุบทิ้งมีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดเสียงดังและมีฝุ่นละออง ทำให้ประชาชนที่อยู่รอบบริเวณใกล้เคียงได้รับผลกระทบ จึงได้สั่งการสำนักการโยธา (สนย.) ระงับการรื้อถอนอาคารดังกล่าวชั่วคราว จนกว่าจะดำเนินตามขั้นตอนการรื้อถอนอาคารตามมาตรการที่ กทม.กำหนด พร้อมทั้งกำชับให้สำนักงานเขตตรวจสอบอาคารบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรการความปลอดภัยตามที่กทม.กำหนด โดยเฉพาะผ้าใบคลุมตึก นอกจากนี้ ได้สั่งการเพิ่มเติมให้สำนักงานเขต ทั้ง 50 เขต ทำการตรวจสอบอาคารในพื้นที่โดยครอบคลุมถึงโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งทุกอาคารต้องมีทางหนีไฟ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ของประชาชนทุกคนในกรุงเทพฯ