ที่ประชุมโรคติดเชื้อสากล ชู ความก้าวหน้าด้านพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก คาด อีก 1 ปี พัฒนาระยะ 3 สำเร็จ
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงานประชุมย่อย เรื่อง โรคไข้เลือดออก ในการประชุมวิชาการโรคติดเชื้อสากลชั้นนำ (International Congress on Infectious Diseases : ICID) ว่า ในการประชุมครั้งนี้นอกจากการเร่งรายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังได้มีการเผแพร่ความคืบหน้าเรื่องของการพํฒนาวัคซีนไข้เลือดออก หลังจากที่พบว่า มีการระบาดและเผยแพร่ของโรคมานานกว่า 20-30 ปี และเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน เรื่องของวงการแพทย์ ก็ต้องมีการพัฒนาด้วย โดยขณะนี้ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ คือ การพัฒนาวัควีนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ โดยขณะนี้ประเทศไทยเองก็มีการร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยใน 5 ประเทศใกล้เคียง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม เร่งรัดพัฒนาวัควีนไข้เลือดออก โดยผ่านการศึกษาวิจัยมาแล้ว 2 ขั้น ภายใต้การสนับสนุนทุนการวิจัย จาก บ.ซาโนฟี่ ซึ่งในระยะที่ 1 และ 2 นั้น มีการศึกษาในอาสาสมัครประมาณ 28,000 ราย เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว พบว่า มีความปลอดภัย และช่วยกระตั้นภูมิคุ้มกันได้ แต่ต้องรอผลยืนยันประสิทธิภาพของวัคซีนที่แน่ชัด อีกครั้งในระยะที่ 3 ซึ่งทั้ง 5 ประเทศ นี้จะมีการทดลองประสิทธิภาพประมาณ 10, 000 ราย คาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี
นพ.ทวี กล่าวด้วยว่า การทดลองวัคซีนดังกล่าวนั้น กลุ่มประเทศ 5 ประเทศ ไม่ได้พัฒนาอยู่กลุม่เดียว แต่มีประเทศแถบละตินอเมริการ เช่น เมกซิโก ก็อยู่ระหว่างการศึกษา วิจัย เช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ประเทศกลุ่มเอเชียนนั้น จะมีการป่วยมากสุดระหว่าง 5-10 ปี ขณะที่ประเทศแถบละตินอเมริกานั้น จะพบผู้ป่วยที่เป็นวัยรุ่นมากกว่า ดังนั้น หากพัฒนาวัคซีนสำเร็จ อาจจะต้องพิจารณาข้อจำกัดในเรื่องอายุที่ควรรับวัคซีนด้วย