สวทช.จับมือ สสส.พัฒนาเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาพ หวังยกระดับคุณภาพชีวิต เยาวชน-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ นำร่องระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ชุดควบคุมการใช้ไฟฟ้าในบ้าน พัฒนาฯ มือถือให้ข้อมูลสุขภาพทั้งโภชนาการ ออกกำลังกาย การใช้ยา ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนตุลาคมนี้
วันนี้ (13 มิ.ย.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจับมือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการและการดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชน หวังยกระดับคุณภาพชีวิต เยาวชน-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.กล่าวว่า ปัจจุบันการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศเป็นสิ่งสำคัญ แต่เทคโนโลยียังสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับสังคมไทย โดยที่ผ่านมา สวทช.มีพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้วยการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สารสนเทศ และนวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมนำประเทศไปสู่ความยั่งยืน
“การลงนามความร่วมมือระหว่าง สวทช.กับ สสส.ในช่วง 3 ปีนี้ จะมีการพัฒนางานใน 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาเยาวชนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีในการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น โครงการประกวดการพัฒนาโปรแกรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชน (2) การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น การพัฒนาโปรแกรมบนมือถือให้บริการข้อมูลเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยาที่ถูกต้อง และ (3) การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน"
ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า ในด้านของการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ อาทิ เปิดให้ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ใช้งานได้ทั้งจากสวิตช์ปกติ และควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล ภายในรัศมี 20-30 เมตร จากเครื่องติดตั้ง และพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยติดตั้งอุปกรณ์เพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยในรูปแบบของเสียงสัญญาณไซเรน หรือไฟ ในกรณีที่ต้องการขอความช่วยเหลือ เพื่อแจ้งให้คนในครอบครัว หรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงรับทราบ เป็นต้น
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่า มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งเห็นได้จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมากถึงกว่า 1.2 แสนครั้งต่อเดือน เฉลี่ยวันละ 40,600 กว่าครั้ง จากจำนวนประชาชนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ 25 ล้านคน หรือเกือบ 40% ล่าสุดในเดือนมีนาคม ปี 2555 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้ FaceBook มากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก หรือมีผู้ใช้กว่า 14 ล้านคน และมีผู้ใช้ Twitter อีกกว่า 1 ล้านคน
“นอกจากนั้น ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่า ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายด้านสุขภาพสูงมากกว่า ปีละ 400,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีนวัตกรรมที่ช่วยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรได้ ก็จะบรรเทาปัญหาทางสุขภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้นได้ด้วย”
ทพ.กฤษดากล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทาง สวทช. มีหลายโครงการที่ได้ริเริ่มไปแล้ว เช่น “ยากับคุณ” (YaandYou) แอปพลิเคชันสำหรับสืบค้นและบริการข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม, FoodiEat โปรแกรมบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นโปรแกรมสำหรับเก็บประวัติการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อของวัน ทำให้ผู้ใช้สามารถคำนวนปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่รับประทานในแต่ละวันได้ เป็นต้น โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ App Store
“ทาง สสส.จะนำนวัตกรรมหรืองานวิจัยที่ สวทช.ได้คิดค้นมารวบรวมเป็นแพกเกจ เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลสุขภาพของแต่ละคน และทดลองใช้งานกับเครือข่ายต่างๆ ของ สสส.ที่มีแกนนำเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพมากกว่า 30,000 คน โดยจะนำร่องใช้บริการภายในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อนำไปสู่การใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคต เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพบุคคล และโครงการพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีจะสามารถช่วยให้คุณภาพของประชากรดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งยังขาดแคลนบุคลากรแพทย์ พยาบาลที่เพียงพอ” ผู้จัดการ สสส.กล่าว
ตัวอย่างแอปพลิเคชัน
วันนี้ (13 มิ.ย.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจับมือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการและการดำเนินงานส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชน หวังยกระดับคุณภาพชีวิต เยาวชน-ผู้สูงอายุ-ผู้พิการ
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.กล่าวว่า ปัจจุบันการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศเป็นสิ่งสำคัญ แต่เทคโนโลยียังสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม ให้เกิดประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ และเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับสังคมไทย โดยที่ผ่านมา สวทช.มีพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้วยการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สารสนเทศ และนวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมนำประเทศไปสู่ความยั่งยืน
“การลงนามความร่วมมือระหว่าง สวทช.กับ สสส.ในช่วง 3 ปีนี้ จะมีการพัฒนางานใน 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาเยาวชนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีในการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น โครงการประกวดการพัฒนาโปรแกรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของเยาวชน (2) การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ เช่น การพัฒนาโปรแกรมบนมือถือให้บริการข้อมูลเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยาที่ถูกต้อง และ (3) การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน"
ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า ในด้านของการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ อาทิ เปิดให้ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์ควบคุมการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ใช้งานได้ทั้งจากสวิตช์ปกติ และควบคุมผ่านรีโมตคอนโทรล ภายในรัศมี 20-30 เมตร จากเครื่องติดตั้ง และพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยติดตั้งอุปกรณ์เพื่อส่งสัญญาณเตือนภัยในรูปแบบของเสียงสัญญาณไซเรน หรือไฟ ในกรณีที่ต้องการขอความช่วยเหลือ เพื่อแจ้งให้คนในครอบครัว หรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงรับทราบ เป็นต้น
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่า มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งเห็นได้จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพมากถึงกว่า 1.2 แสนครั้งต่อเดือน เฉลี่ยวันละ 40,600 กว่าครั้ง จากจำนวนประชาชนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ 25 ล้านคน หรือเกือบ 40% ล่าสุดในเดือนมีนาคม ปี 2555 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้ FaceBook มากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก หรือมีผู้ใช้กว่า 14 ล้านคน และมีผู้ใช้ Twitter อีกกว่า 1 ล้านคน
“นอกจากนั้น ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่า ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายด้านสุขภาพสูงมากกว่า ปีละ 400,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีนวัตกรรมที่ช่วยเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของประชากรได้ ก็จะบรรเทาปัญหาทางสุขภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้นได้ด้วย”
ทพ.กฤษดากล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ทาง สวทช. มีหลายโครงการที่ได้ริเริ่มไปแล้ว เช่น “ยากับคุณ” (YaandYou) แอปพลิเคชันสำหรับสืบค้นและบริการข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม, FoodiEat โปรแกรมบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เป็นโปรแกรมสำหรับเก็บประวัติการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อของวัน ทำให้ผู้ใช้สามารถคำนวนปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่รับประทานในแต่ละวันได้ เป็นต้น โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ App Store
“ทาง สสส.จะนำนวัตกรรมหรืองานวิจัยที่ สวทช.ได้คิดค้นมารวบรวมเป็นแพกเกจ เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมถึงเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลสุขภาพของแต่ละคน และทดลองใช้งานกับเครือข่ายต่างๆ ของ สสส.ที่มีแกนนำเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพมากกว่า 30,000 คน โดยจะนำร่องใช้บริการภายในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อนำไปสู่การใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคต เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพบุคคล และโครงการพัฒนาระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีจะสามารถช่วยให้คุณภาพของประชากรดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งยังขาดแคลนบุคลากรแพทย์ พยาบาลที่เพียงพอ” ผู้จัดการ สสส.กล่าว
ตัวอย่างแอปพลิเคชัน