มูลนิธิร่มฉัตร จับมือ สสค.สอนภาษาพม่าให้เด็ก เยาวชน และประชาชน เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ด้าน รองปลัด ศธ.ระบุ ศธ.หนุนให้โรงเรียนตะเข็บชายแดนเรียนภาษาเพื่อนบ้าน
วันนี้ (6 มิ.ย.) มูลนิธิร่มฉัตรร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ (สสค.)จัดพิธีเปิด “โครงการพัฒนาต้นแบบสาธิตชุมชนวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” พระธรรมภาวนาวิกรม รองเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ในฐานะประธานมูลนิธิร่มฉัตร กล่าวว่า มูลนิธิร่วมฉัตรร่วมกับ สสค.เปิดห้องศึกษาอาเซียน รวมทั้งมีการเปิดห้องเรียนอาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรภาษาพม่าระยะสั้น เพราะประเทศพม่า เป็นประเทศที่น่าจับตามอง มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และชาวพม่าเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากด้วย ตนเห็นว่าควรส่งเสริมเรื่อง ภาษาเพื่อนบ้าน พร้อมเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมอาเซียน ให้แก่ชุมชนวัดไตรมิตรฯ เพื่อเป็นการสร้างจุดแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ถ้าชุมชนใดตื่นตัว จะเกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างมาก
ด้านดร.วาสนา เลิศศิลป์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กล่าวว่า พระธรรมภาวนาวิกรม ได้ให้คำแนะนำว่า นอกจากภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ย่านนี้ควรเพิ่มภาษาพม่าหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ประชาชน โดยเปิดสอนทุกวันเสาร์ วันละ 3 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง รุ่นละ 30 คน โดยมีอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นผู้สอน ทั้งนี้ จะเน้นการเรียนการสอน 3 ส่วน คือ วัฒนธรรมพม่า วิถีชีวิตสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ และเรื่องของภาษา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าอบรมเมื่อเรียนจบคอร์สจะมีการประเมินผลด้วยว่า ได้รับความรู้มากน้อยแค่ไหนหลังและจะมีการออกเกียรติบัตรให้
ถามว่า จะมีการขยายไปเป็นหลักสูตรในห้องเรียนหรือไม่นั้น ดร. วาสนา กล่าวว่า ขอดูผลประเมินจากเรียนหลักสูตรระยะสั้นก่อน ถ้าประสบผลสำเร็จจะมีการพิจารณาอีกครั้ง
ขณะที่ น.ส.จุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงที่สุดสำหรับเยาวชนไทยในขณะนี้ ก็คือ เรื่องของภาษา เด็กไทยไม่กล้าพูด ที่สำคัญการสอนภาษาจะให้ได้ประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วย ว่าคนนั้นสนใจมากน้อยแค่ไหน เพราะการเรียนภาษานั้นไม่ใช่เรียนจบในห้องเรียน จะต้องกลับมาฝึกฝนต่อที่บ้านด้วย
“ขณะนี้ ศธ.กำลังส่งเสริมให้โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น อย่างเช่น จังหวัดสุรินทร์ จะเรียนภาษาเขมรเพิ่มเติม และเด็กและเยาวชนประเทศเพื่อนบ้าน ก็เรียนภาษาไทย เช่นกัน ถ้าปี 2558 เปิดประชาคมอาเซียน จะเกิดการแข่งขันทางด้านวิชาชีพ ใครสามารถพูด เขียน ได้หลายภาษาจะได้เปรียบ” น.ส.จุไรรัตน์ กล่าว
วันนี้ (6 มิ.ย.) มูลนิธิร่มฉัตรร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ (สสค.)จัดพิธีเปิด “โครงการพัฒนาต้นแบบสาธิตชุมชนวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” พระธรรมภาวนาวิกรม รองเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ในฐานะประธานมูลนิธิร่มฉัตร กล่าวว่า มูลนิธิร่วมฉัตรร่วมกับ สสค.เปิดห้องศึกษาอาเซียน รวมทั้งมีการเปิดห้องเรียนอาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรภาษาพม่าระยะสั้น เพราะประเทศพม่า เป็นประเทศที่น่าจับตามอง มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และชาวพม่าเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากด้วย ตนเห็นว่าควรส่งเสริมเรื่อง ภาษาเพื่อนบ้าน พร้อมเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมอาเซียน ให้แก่ชุมชนวัดไตรมิตรฯ เพื่อเป็นการสร้างจุดแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ถ้าชุมชนใดตื่นตัว จะเกิดประโยชน์กับคนในชุมชนอย่างมาก
ด้านดร.วาสนา เลิศศิลป์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กล่าวว่า พระธรรมภาวนาวิกรม ได้ให้คำแนะนำว่า นอกจากภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ย่านนี้ควรเพิ่มภาษาพม่าหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ประชาชน โดยเปิดสอนทุกวันเสาร์ วันละ 3 ชั่วโมง รวม 30 ชั่วโมง รุ่นละ 30 คน โดยมีอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นผู้สอน ทั้งนี้ จะเน้นการเรียนการสอน 3 ส่วน คือ วัฒนธรรมพม่า วิถีชีวิตสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ และเรื่องของภาษา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าอบรมเมื่อเรียนจบคอร์สจะมีการประเมินผลด้วยว่า ได้รับความรู้มากน้อยแค่ไหนหลังและจะมีการออกเกียรติบัตรให้
ถามว่า จะมีการขยายไปเป็นหลักสูตรในห้องเรียนหรือไม่นั้น ดร. วาสนา กล่าวว่า ขอดูผลประเมินจากเรียนหลักสูตรระยะสั้นก่อน ถ้าประสบผลสำเร็จจะมีการพิจารณาอีกครั้ง
ขณะที่ น.ส.จุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงที่สุดสำหรับเยาวชนไทยในขณะนี้ ก็คือ เรื่องของภาษา เด็กไทยไม่กล้าพูด ที่สำคัญการสอนภาษาจะให้ได้ประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วย ว่าคนนั้นสนใจมากน้อยแค่ไหน เพราะการเรียนภาษานั้นไม่ใช่เรียนจบในห้องเรียน จะต้องกลับมาฝึกฝนต่อที่บ้านด้วย
“ขณะนี้ ศธ.กำลังส่งเสริมให้โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น อย่างเช่น จังหวัดสุรินทร์ จะเรียนภาษาเขมรเพิ่มเติม และเด็กและเยาวชนประเทศเพื่อนบ้าน ก็เรียนภาษาไทย เช่นกัน ถ้าปี 2558 เปิดประชาคมอาเซียน จะเกิดการแข่งขันทางด้านวิชาชีพ ใครสามารถพูด เขียน ได้หลายภาษาจะได้เปรียบ” น.ส.จุไรรัตน์ กล่าว