โดย...สุกัญญา แสงงาม
จักสานทำจากปอกระจูด ผ้าบาติก สินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก หากมองผิวเผินคงเป็นแค่สินค้าพื้นบ้าน สินค้าท้องถิ่น ที่แสนจะธรรมดาๆ ถ้าหากศึกษาให้รู้ถึงรากเหง้า แก่นแท้แล้วล่ะก็ จะรู้ว่าสินค้าเหล่านี้ล้วนมีประวัติความเป็นมา เป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่สำคัญ คนรุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาต่อยอดให้เหมาะกับยุคสมัย แฟชั่น ตลอดจนการใช้งาน อย่างไรก็ดี ยังมีบางชิ้นอนุรักษ์ความดั่งเดิมเอาไว้
ต่อให้สินค้าวัฒนธรรมดีไชน์โมเดิร์นขนาดไหน หากขาดช่องทางจำหน่ายก็ไปไม่รอด สมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รู้ปัญหา รู้ข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นอย่างดี จึงระดมสมองเพื่อหาช่องทางช่วยเหลือ ในที่สุดก็ปิ๊งไอเดีย โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรม ผ่านเว็บไซต์ www.m-culture.go.th เราเรียกว่า “ไซเบอร์มอลล์” ให้ผู้สนใจสินค้าวัฒนธรรมสามารถค้นหาและสั่งซื้อผ่านเน็ตได้ โดยจะเปิดบริการก่อนสิ้นปีนี้
ไซเบอร์มอลล์ ทาง วธ.นำร่องใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ สมชาย ให้เหตุผลว่า จากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ ไม่กล้าเข้าไปเที่ยว ผลที่ตามมา ก็คือ ชาวบ้านขาดรายได้ หลายคนต้องเปลี่ยนอาชีพ
“จุดเด่นของไซเบอร์มอลล์ นอกจากเพิ่มตลาดสินค้าวัฒนธรรมแล้ว ยังลดค่าใช้จ่าย เพราะผู้สั่งซื้อสินค้าไม่ต้องลงพื้นที่ เพียงสั่งซื้อสินค้าผ่านเน็ต จ่ายเงินค่าสินค้าผ่านธนาคารที่ระบุไว้ และจัดส่งสินค้าไปรษณีย์จะเพ็คหีบห่อสินค้าอย่างดีส่งถึงมือลูกค้า” ปลัดสมชาย บอกว่า นี่คือการเปิดพื้นที่สินค้าวัฒนธรรม ในมิติใหม่ ที่สำคัญช่วยให้ชาวบ้าน มีรายได้ และสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษต่อไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีสินค้าวัฒนธรรมแบบใหม่ๆ ให้นักช้อปได้เลือกซื้อ ทาง วธ.ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.และผู้นำท้องถิ่น ในการเข้าไปให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับการขายสินค้าผ่านเน็ต รวมทั้งหาวิทยากรมาช่วยพัฒนาสินค้า เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า แต่ไม่ลืมสอดแทรกเอกลักษณ์พื้นถิ่นไว้บนสินค้าชิ้นนั้นด้วย
“ผมเห็นตัวอย่างสินค้าวัฒนธรรมแล้วรู้สึกทึ่งกับไอเดีย ฝีมือละเอียดประณีต เขาดีไซน์ปอกระจูดเป็นของตกแต่งบ้านได้อย่างเก๋ไก๋ สานกระเป๋า กรุผ้าด้านใน และของใช้ ประดับสัญลักษณ์ท้องถิ่น เรือกอและ ซึ่งไม่เหมือนใคร” สมชาย เผยความรู้สึกว่า ปลื้มแนวคิดของเขา อยากให้คนรุ่นใหม่ ออกแบบให้ทันสมัย อย่างไรก็ดี เพื่อให้คนซื้อสินค้าวัฒนธรรม รู้สึกภาคภูมิใจ ได้มีแนวคิดให้ติดข้อความสั้นๆ ถึงต้นกำเนิด ประวัติความกับสินค้าชิ้นนั้น
ในระยะแรก วธ.จะขอความร่วมมือไปยังรัฐบาล บริษัทเอกชน ช่วยอุดหนุนสินค้าวัฒนธรรมในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ซื้อสินค้าวัฒนธรรม มอบเป็นของขวัญให้ผู้ใหญ่ คนที่เคารพรัก
ผมมองว่า การเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรมผ่านเว็บไซต์ ยังไม่เพียงพอที่จะกระพรื้อให้ชาวไทย ชาวต่างชาติ รู้จักสินค้าวัฒนธรรมอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว ผมมองพื้นที่ไว้อีก 2 แห่ง สนามบิน น่าเป็นจุดโชว์และจำหน่ายสินค้า เพราะแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไป-กลับ เมืองไทยจำนวนมาก กับ ห้างสรรพสินค้า เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสินค้า อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไซเบอร์มอลล์ได้รับการขานรับเป็นอย่างดี วธ.มีโครงการขยายไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป จะได้มีสินค้าวัฒนธรรมหลากหลายให้เลือกเพิ่มมากขึ้น
...รู้อย่างนี้ ปลายปีนี้อย่าลืมอุดหนุนสินค้าวัฒนธรรม
จักสานทำจากปอกระจูด ผ้าบาติก สินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก หากมองผิวเผินคงเป็นแค่สินค้าพื้นบ้าน สินค้าท้องถิ่น ที่แสนจะธรรมดาๆ ถ้าหากศึกษาให้รู้ถึงรากเหง้า แก่นแท้แล้วล่ะก็ จะรู้ว่าสินค้าเหล่านี้ล้วนมีประวัติความเป็นมา เป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่สำคัญ คนรุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาต่อยอดให้เหมาะกับยุคสมัย แฟชั่น ตลอดจนการใช้งาน อย่างไรก็ดี ยังมีบางชิ้นอนุรักษ์ความดั่งเดิมเอาไว้
ต่อให้สินค้าวัฒนธรรมดีไชน์โมเดิร์นขนาดไหน หากขาดช่องทางจำหน่ายก็ไปไม่รอด สมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รู้ปัญหา รู้ข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นอย่างดี จึงระดมสมองเพื่อหาช่องทางช่วยเหลือ ในที่สุดก็ปิ๊งไอเดีย โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรม ผ่านเว็บไซต์ www.m-culture.go.th เราเรียกว่า “ไซเบอร์มอลล์” ให้ผู้สนใจสินค้าวัฒนธรรมสามารถค้นหาและสั่งซื้อผ่านเน็ตได้ โดยจะเปิดบริการก่อนสิ้นปีนี้
ไซเบอร์มอลล์ ทาง วธ.นำร่องใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ สมชาย ให้เหตุผลว่า จากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฯลฯ ไม่กล้าเข้าไปเที่ยว ผลที่ตามมา ก็คือ ชาวบ้านขาดรายได้ หลายคนต้องเปลี่ยนอาชีพ
“จุดเด่นของไซเบอร์มอลล์ นอกจากเพิ่มตลาดสินค้าวัฒนธรรมแล้ว ยังลดค่าใช้จ่าย เพราะผู้สั่งซื้อสินค้าไม่ต้องลงพื้นที่ เพียงสั่งซื้อสินค้าผ่านเน็ต จ่ายเงินค่าสินค้าผ่านธนาคารที่ระบุไว้ และจัดส่งสินค้าไปรษณีย์จะเพ็คหีบห่อสินค้าอย่างดีส่งถึงมือลูกค้า” ปลัดสมชาย บอกว่า นี่คือการเปิดพื้นที่สินค้าวัฒนธรรม ในมิติใหม่ ที่สำคัญช่วยให้ชาวบ้าน มีรายได้ และสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษต่อไป
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีสินค้าวัฒนธรรมแบบใหม่ๆ ให้นักช้อปได้เลือกซื้อ ทาง วธ.ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.และผู้นำท้องถิ่น ในการเข้าไปให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับการขายสินค้าผ่านเน็ต รวมทั้งหาวิทยากรมาช่วยพัฒนาสินค้า เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า แต่ไม่ลืมสอดแทรกเอกลักษณ์พื้นถิ่นไว้บนสินค้าชิ้นนั้นด้วย
“ผมเห็นตัวอย่างสินค้าวัฒนธรรมแล้วรู้สึกทึ่งกับไอเดีย ฝีมือละเอียดประณีต เขาดีไซน์ปอกระจูดเป็นของตกแต่งบ้านได้อย่างเก๋ไก๋ สานกระเป๋า กรุผ้าด้านใน และของใช้ ประดับสัญลักษณ์ท้องถิ่น เรือกอและ ซึ่งไม่เหมือนใคร” สมชาย เผยความรู้สึกว่า ปลื้มแนวคิดของเขา อยากให้คนรุ่นใหม่ ออกแบบให้ทันสมัย อย่างไรก็ดี เพื่อให้คนซื้อสินค้าวัฒนธรรม รู้สึกภาคภูมิใจ ได้มีแนวคิดให้ติดข้อความสั้นๆ ถึงต้นกำเนิด ประวัติความกับสินค้าชิ้นนั้น
ในระยะแรก วธ.จะขอความร่วมมือไปยังรัฐบาล บริษัทเอกชน ช่วยอุดหนุนสินค้าวัฒนธรรมในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ ซื้อสินค้าวัฒนธรรม มอบเป็นของขวัญให้ผู้ใหญ่ คนที่เคารพรัก
ผมมองว่า การเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าวัฒนธรรมผ่านเว็บไซต์ ยังไม่เพียงพอที่จะกระพรื้อให้ชาวไทย ชาวต่างชาติ รู้จักสินค้าวัฒนธรรมอย่างแพร่หลายและรวดเร็ว ผมมองพื้นที่ไว้อีก 2 แห่ง สนามบิน น่าเป็นจุดโชว์และจำหน่ายสินค้า เพราะแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไป-กลับ เมืองไทยจำนวนมาก กับ ห้างสรรพสินค้า เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสินค้า อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไซเบอร์มอลล์ได้รับการขานรับเป็นอย่างดี วธ.มีโครงการขยายไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป จะได้มีสินค้าวัฒนธรรมหลากหลายให้เลือกเพิ่มมากขึ้น
...รู้อย่างนี้ ปลายปีนี้อย่าลืมอุดหนุนสินค้าวัฒนธรรม