กสพท.ยันใช้คะแนนวิชาสามัญ 7 วิชา คัดเลือกแพทย์ ชี้ จากการสอบถามมหา’ลัยส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชันฟอรัม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้สอบถามอธิการบดีหลายแห่งเกี่ยวกับการปรับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางหรือแอดมิชชัน มาใช้การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ โดยใช้คะแนนวิชาสามัญ 7 วิชา แทนคะแนนสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT แทนนั้น พบว่า มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยในส่วนที่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าจะช่วยลดการสอบ ทำให้เด็กสอบน้อยลง และผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงด้วย ขณะที่กลุ่มไม่เห็นด้วยจะมองว่าหากปรับแอดมิชชันในช่วงนี้จะเร็วเกินไป และควรจะศึกษาข้อดีข้อเสียให้ได้คำตอบที่ชัดเจนก่อน ซึ่งตนรับจะนำความคิดเห็นทั้งหมดมาวิเคราะห์ ทั้งนี้ ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ คณะทำงานแอดมิชชันฟอรัมจะมีการประชุมร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยที่ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ในการคัดเลือกนักศึกษา เพื่อสรุปปัญหาในการรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ ซึ่งตนได้มอบหมายให้สมาคมอธิการบดี (ส.อ.ท.) ไปรวบรวมประเด็นต่างๆ ไว้แล้ว แต่เท่าที่ดูเบื้องต้นพบว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง
“อย่างไรก็ตาม กสพท.ได้ยืนยันมาที่ผมแล้ว ว่า ในการรับนักศึกษาแพทย์ปีการศึกษา 2556 จะใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ในการคัดเลือกเด็กต่อไป เพราะมั่นใจในคุณภาพข้อสอบ แต่อยากขอให้ สทศ.ดูแลระบบการสอบให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ส่วนข้อเสนอของที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.) ยังยืนยันที่จะเสนอ ทปอ.เพื่อขอให้แยกข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ในแอดมิชชัน เป็นรายวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แทนการรวมข้อสอบเป็นวิชาเดียวเพราะไม่สามารถวัดความสามารถของเด็กที่จะเข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์ได้ ผมก็จะเสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้ข้อสอบวิชาสามัญ 7 วิชาที่ใช้รับตรงแทน” ประธานแอดมิชชันฟอรัม กล่าวและว่า หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอให้ที่ประชุม ทปอ.พิจารณา เพื่อนำผลไปใช้ในการแอดมิชชันต่อไป
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชันฟอรัม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้สอบถามอธิการบดีหลายแห่งเกี่ยวกับการปรับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางหรือแอดมิชชัน มาใช้การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ โดยใช้คะแนนวิชาสามัญ 7 วิชา แทนคะแนนสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT แทนนั้น พบว่า มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยในส่วนที่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าจะช่วยลดการสอบ ทำให้เด็กสอบน้อยลง และผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงด้วย ขณะที่กลุ่มไม่เห็นด้วยจะมองว่าหากปรับแอดมิชชันในช่วงนี้จะเร็วเกินไป และควรจะศึกษาข้อดีข้อเสียให้ได้คำตอบที่ชัดเจนก่อน ซึ่งตนรับจะนำความคิดเห็นทั้งหมดมาวิเคราะห์ ทั้งนี้ ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ คณะทำงานแอดมิชชันฟอรัมจะมีการประชุมร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยที่ใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ในการคัดเลือกนักศึกษา เพื่อสรุปปัญหาในการรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ ซึ่งตนได้มอบหมายให้สมาคมอธิการบดี (ส.อ.ท.) ไปรวบรวมประเด็นต่างๆ ไว้แล้ว แต่เท่าที่ดูเบื้องต้นพบว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง
“อย่างไรก็ตาม กสพท.ได้ยืนยันมาที่ผมแล้ว ว่า ในการรับนักศึกษาแพทย์ปีการศึกษา 2556 จะใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ในการคัดเลือกเด็กต่อไป เพราะมั่นใจในคุณภาพข้อสอบ แต่อยากขอให้ สทศ.ดูแลระบบการสอบให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ส่วนข้อเสนอของที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.) ยังยืนยันที่จะเสนอ ทปอ.เพื่อขอให้แยกข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ในแอดมิชชัน เป็นรายวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แทนการรวมข้อสอบเป็นวิชาเดียวเพราะไม่สามารถวัดความสามารถของเด็กที่จะเข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์ได้ ผมก็จะเสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้ข้อสอบวิชาสามัญ 7 วิชาที่ใช้รับตรงแทน” ประธานแอดมิชชันฟอรัม กล่าวและว่า หลังจากได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอให้ที่ประชุม ทปอ.พิจารณา เพื่อนำผลไปใช้ในการแอดมิชชันต่อไป