สธ.ชี้ กม.เชื้อโรคฯตกยุคแล้ว แถมไม่ควบคุมภาครัฐ เร่งเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขร่วมประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ใหม่ เพื่อควบคุมเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ไม่ให้ใช้ในทางที่ผิด ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจาย รวมทั้งป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่มีความรุนแรงไปสู่ประชาชน
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกได้เผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเชื้อโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ไข้หวัดนก ฯลฯ และปัญหาของเชื้อโรคอุบัติซ้ำ เช่น วัณโรค มาลาเรีย ไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นการปรับปรุงกฎหมายที่ดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และนานาชาติ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีภารกิจในการกำกับดูแลพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อให้การครอบครอง ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่เป็นระบบที่เหมาะสมเทียบเคียงกับนานาชาติ และเพื่อประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่มีความรุนแรงไปสู่ประชาชน รวมทั้งการป้องกันเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ปนเปื้อนไปสู่สิ่งแวดล้อม
นพ.สุรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2525 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการจึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จึงได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิต ครอบครอง ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีการกำหนดองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ การปรับปรุงการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการขอใบอนุญาตเช่นเดียวกับภาคเอกชน มีบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของเชื้อโรคยิ่งขึ้น
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีผลบังคับใช้เฉพาะกับหน่วยงานภาคเอกชนเท่านั้น ทำให้มีข้อจำกัดในการควบคุมดูแลการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านของเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในหน่วยงานภาครัฐ ประกอบกับการมีเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้น และเชื้อก่อโรคเดิมๆ กลับมาระบาดอยู่เสมอ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 1 ครั้ง สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้แทนจากสภาวิชาชีพต่างๆ มาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ ในวันนี้ (28 พ.ค.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ ดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยจะนำข้อคิดเห็นดังกล่าวไปปรับปรุงพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนำเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ไปใช้ในการดำเนินกิจการด้วยความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด จนเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และความมั่นคงต่อประเทศชาติ
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ที่ สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้ 3 ช่องทาง คือ 1.ทางไปรษณีย์ส่งมาที่ สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 2.ทางโทรสาร ที่หมายเลข 0-2951-1296 และ 3.ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ bpat@dmsc.mail.go.th หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2951-0000 ต่อ 99189
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกได้เผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเชื้อโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ไข้หวัดนก ฯลฯ และปัญหาของเชื้อโรคอุบัติซ้ำ เช่น วัณโรค มาลาเรีย ไข้เลือดออก เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นการปรับปรุงกฎหมายที่ดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และนานาชาติ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีภารกิจในการกำกับดูแลพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อให้การครอบครอง ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่เป็นระบบที่เหมาะสมเทียบเคียงกับนานาชาติ และเพื่อประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่มีความรุนแรงไปสู่ประชาชน รวมทั้งการป้องกันเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ปนเปื้อนไปสู่สิ่งแวดล้อม
นพ.สุรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2525 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการจึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ จึงได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการผลิต ครอบครอง ขาย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ มีการกำหนดองค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ การปรับปรุงการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการขอใบอนุญาตเช่นเดียวกับภาคเอกชน มีบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของเชื้อโรคยิ่งขึ้น
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีผลบังคับใช้เฉพาะกับหน่วยงานภาคเอกชนเท่านั้น ทำให้มีข้อจำกัดในการควบคุมดูแลการผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านของเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในหน่วยงานภาครัฐ ประกอบกับการมีเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ เกิดขึ้น และเชื้อก่อโรคเดิมๆ กลับมาระบาดอยู่เสมอ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องมาร่วมในการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 1 ครั้ง สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้แทนจากสภาวิชาชีพต่างๆ มาร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำ ในวันนี้ (28 พ.ค.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ ดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยจะนำข้อคิดเห็นดังกล่าวไปปรับปรุงพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนำเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ไปใช้ในการดำเนินกิจการด้วยความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด จนเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และความมั่นคงต่อประเทศชาติ
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ที่ สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ได้ 3 ช่องทาง คือ 1.ทางไปรษณีย์ส่งมาที่ สำนักกำกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 2.ทางโทรสาร ที่หมายเลข 0-2951-1296 และ 3.ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ bpat@dmsc.mail.go.th หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0-2951-0000 ต่อ 99189