สปสช.โต้ข่าวล้างไตในช่องท้องทำติดเชื้อเสียชีวิต โวอัตราการติดเชื้อของไทยดีกว่ามาตรฐานสกล ส่วนอัตราเสียชีวิต 4 ปี เฉลี่ยปีละ 10% เท่านั้น
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องติดเชื้อจนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นว่า จากการที่ สปสช.เริ่มบริการล้างไตมาตั้งแต่ปี 2551 จนปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 4 ปี มีผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องทั้งหมด 15,000 ราย พบอัตราการเสียชีวิตร่วมทั้งหมด 40% เฉลี่ยปีละ 10% เท่านั้น โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตนั้น มักเกิดในผู้ที่ป่วยไตและมีสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมมาก ซึ่งธรรมชาติของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาก็ต้องเสียชีวิตภายใน 2-4 เดือนอยู่แล้ว แต่หากได้รับการรักษาก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตที่เหลือได้ดี และหากจะรักษาให้หายขาดก็ต้องเปลี่ยนไต
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ปัจจุบันยืนยันว่า ระบบการบริการล้างไตทางช่องท้อง ตามมาตรฐานสากล หรือระดับโลกระบุว่า ต้องบริการรักษาผู้ป่วย 1 ราย ให้ติดเชื้อได้เฉลี่ย 18 เดือนต่อ 1 ครั้ง หมายความว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ป่วยจะไม่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ แต่ประเทศไทยทำได้ดีกว่าระดับโลกกำหนด คือ ช่วงปีแรกๆ ที่เริ่มโครงการนั้นมีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ย 20 เดือน ต่อ 1 ครั้ง ขณะที่ผลดำเนินการปี 2554 พบว่า มีอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ 24 เดือนต่อครั้ง จึงถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินการเพราะมาตรฐานทางยุโรป ก็ไม่ต่างกัน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องติดเชื้อจนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นว่า จากการที่ สปสช.เริ่มบริการล้างไตมาตั้งแต่ปี 2551 จนปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 4 ปี มีผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องทั้งหมด 15,000 ราย พบอัตราการเสียชีวิตร่วมทั้งหมด 40% เฉลี่ยปีละ 10% เท่านั้น โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตนั้น มักเกิดในผู้ที่ป่วยไตและมีสภาพร่างกายที่เสื่อมโทรมมาก ซึ่งธรรมชาติของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาก็ต้องเสียชีวิตภายใน 2-4 เดือนอยู่แล้ว แต่หากได้รับการรักษาก็จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตที่เหลือได้ดี และหากจะรักษาให้หายขาดก็ต้องเปลี่ยนไต
นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ปัจจุบันยืนยันว่า ระบบการบริการล้างไตทางช่องท้อง ตามมาตรฐานสากล หรือระดับโลกระบุว่า ต้องบริการรักษาผู้ป่วย 1 ราย ให้ติดเชื้อได้เฉลี่ย 18 เดือนต่อ 1 ครั้ง หมายความว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ป่วยจะไม่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ แต่ประเทศไทยทำได้ดีกว่าระดับโลกกำหนด คือ ช่วงปีแรกๆ ที่เริ่มโครงการนั้นมีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ย 20 เดือน ต่อ 1 ครั้ง ขณะที่ผลดำเนินการปี 2554 พบว่า มีอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ 24 เดือนต่อครั้ง จึงถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินการเพราะมาตรฐานทางยุโรป ก็ไม่ต่างกัน