อธิการฯ มศว แนะ รบ.แจกแท็บเล็ตทั้ง ป.1 และ ป.4 อย่างละครึ่ง ชี้ เป็นการทำตามนโยบายหาเสียง และเกิดประโยชน์มากขึ้นตามผลวิจัย พร้อมเสนอแจกแท็บเล็ต นิสิต-นักศึกษา ด้วย เชื่อเกิดการใช้ประโยชน์กว่า
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันจะแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแผนและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แม้ มศว จะได้เสนอผลการศึกษาวิจัยนำร่องแล้ว ปรากฏผลว่า เด็ก ป.4 ใช้ผลคุ้มค่ามากกว่าชั้น ป.1 ว่า ผลการศึกษา และข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นผลงานนำร่อง ก็ระบุว่า เด็ก ป.1 ก็ได้รับประโยชน์จากการใช้แท็บเล็ต หากแต่ประโยชน์ ถ้าเด็ก ป.4 ได้ใช้จะมีประโยชน์เพิ่มมากกว่าเด็กชั้น ป.1 ซึ่งหน้าที่ของ มศว ผู้ทำการศึกษานโยบายสาธารณะในครั้งนี้ จำเป็นต้องบอกข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้รัฐบาลได้ทราบ เพื่อนำข้อเท็จจริงไปประกอบการพิจารณาในการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ เพราะอย่าลืมว่า เราใช้งบประมาณภาษีประชาชนมาดำเนินนโยบาย
นอกจากนี้ ผลการศึกษาก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่ให้รัฐบาลเลิกแจกแท็บเล็ตแก่เด็ก ป.1 แต่หากให้คุ้มค่าแก่แวดวงการศึกษาไทย ควรจะได้พิจารณาการแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.4 ด้วย แม้ว่าการแจกแท็บเล็ตให้ เด็ก ป.1 จะเป็นนโยบายรัฐบาลที่ใช้ในการหาเสียงตั้งแต่ต้น ซึ่งก็เข้าใจว่าต้องแจก เพราะเป็นนโยบายขณะหาเสียง หากแต่ควรจะลดจำนวนการแจกจากที่ต้องแจกเด็ก ป.1 ถึง 8 แสนเครื่อง เพียงชั้นเดียว ก็ให้แบ่งมาแจกให้เด็กชั้น ป.4 ด้วย คือ แบ่งแจก ป.1 จำนวน 4 แสนเครื่อง และแจก ป.4 จำนวน 4 แสนเครื่องเช่นกัน ไม่ควรแจกแค่ ป.1 เพียงชั้นเดียว การแจก ป.1 เพียง 4 แสนเครื่อง ไม่ได้ทำให้เด็ก ป.1 สูญเสียการเรียนรู้ หรือเสียโอกาส แต่เราจัดสรรเวลาโดยแบ่งชั้น ป.1 เรียนในช่วงเช้าและช่วงบ่าย ห้องละประมาณ 3 ชั่วโมง และหมุนเวียนให้ ป.1 อื่นๆ ได้เรียนเป็นการจัดสรรแท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานสูงสุด ทั้งนี้ การแจกในลักษณะที่ มศว เสนอผลการศึกษาไปนั้น เด็ก ป.4 ก็ได้ประโยชน์และได้โอกาสในการเรียนรู้ด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลก็จะไม่เสียคะแนนฐานเสียง อีกทั้งยังได้คะแนนนิยมจากประชาชนอีกด้วย จึงอยากให้รัฐบาลได้นำผลการศึกษาของ มศว ไปช่วยในการพิจารณาการแจกแท็บเล็ตอีกครั้ง
“ผมอยากเห็นผลการศึกษาแท็บเล็ตของ มศว ได้มีส่วนในการช่วยตัดสินใจ หรือต่อยอดความคิดในนโยบายการแจกแท็บเล็ตของรัฐบาล ผมเชื่อว่า รัฐบาลอาจจะมีข้อมูลอื่นๆ ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 แต่รัฐบาลไม่ได้บอกให้สาธารณะได้รับรู้ เลยกลายเป็นว่า รัฐบาลไม่ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ เข้ามาประกอบในการประกาศ หรือดำเนินการนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นนโยบายที่มีผลต่องบประมาณ ความคิด ความรู้สึก ประโยชน์และจุดคุ้มทุน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่กำลังเฝ้าติดตามอยู่” ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าว
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อยากเสนอว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำนโยบายแจกแท็บเล็ตให้แก่นิสิต นักศึกษา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการใช้งานมากกว่า หากนิสิต นักศึกษาคนใดมีแท็บเล็ตใช้แล้วก็ไม่ต้องรับ สละสิทธิ์ให้เพื่อนที่ยังไม่มีได้ใช้ และการแจกก็ควรครอบคลุมถึงนิสิต นักศึกษา ที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน เป็นการแจกที่เกิดประโยชน์สูงกว่าการแจกแท็บเล็ตในเด็กๆ
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันจะแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแผนและนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แม้ มศว จะได้เสนอผลการศึกษาวิจัยนำร่องแล้ว ปรากฏผลว่า เด็ก ป.4 ใช้ผลคุ้มค่ามากกว่าชั้น ป.1 ว่า ผลการศึกษา และข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นผลงานนำร่อง ก็ระบุว่า เด็ก ป.1 ก็ได้รับประโยชน์จากการใช้แท็บเล็ต หากแต่ประโยชน์ ถ้าเด็ก ป.4 ได้ใช้จะมีประโยชน์เพิ่มมากกว่าเด็กชั้น ป.1 ซึ่งหน้าที่ของ มศว ผู้ทำการศึกษานโยบายสาธารณะในครั้งนี้ จำเป็นต้องบอกข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์สูงสุดให้รัฐบาลได้ทราบ เพื่อนำข้อเท็จจริงไปประกอบการพิจารณาในการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ เพราะอย่าลืมว่า เราใช้งบประมาณภาษีประชาชนมาดำเนินนโยบาย
นอกจากนี้ ผลการศึกษาก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่ให้รัฐบาลเลิกแจกแท็บเล็ตแก่เด็ก ป.1 แต่หากให้คุ้มค่าแก่แวดวงการศึกษาไทย ควรจะได้พิจารณาการแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.4 ด้วย แม้ว่าการแจกแท็บเล็ตให้ เด็ก ป.1 จะเป็นนโยบายรัฐบาลที่ใช้ในการหาเสียงตั้งแต่ต้น ซึ่งก็เข้าใจว่าต้องแจก เพราะเป็นนโยบายขณะหาเสียง หากแต่ควรจะลดจำนวนการแจกจากที่ต้องแจกเด็ก ป.1 ถึง 8 แสนเครื่อง เพียงชั้นเดียว ก็ให้แบ่งมาแจกให้เด็กชั้น ป.4 ด้วย คือ แบ่งแจก ป.1 จำนวน 4 แสนเครื่อง และแจก ป.4 จำนวน 4 แสนเครื่องเช่นกัน ไม่ควรแจกแค่ ป.1 เพียงชั้นเดียว การแจก ป.1 เพียง 4 แสนเครื่อง ไม่ได้ทำให้เด็ก ป.1 สูญเสียการเรียนรู้ หรือเสียโอกาส แต่เราจัดสรรเวลาโดยแบ่งชั้น ป.1 เรียนในช่วงเช้าและช่วงบ่าย ห้องละประมาณ 3 ชั่วโมง และหมุนเวียนให้ ป.1 อื่นๆ ได้เรียนเป็นการจัดสรรแท็บเล็ตให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานสูงสุด ทั้งนี้ การแจกในลักษณะที่ มศว เสนอผลการศึกษาไปนั้น เด็ก ป.4 ก็ได้ประโยชน์และได้โอกาสในการเรียนรู้ด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลก็จะไม่เสียคะแนนฐานเสียง อีกทั้งยังได้คะแนนนิยมจากประชาชนอีกด้วย จึงอยากให้รัฐบาลได้นำผลการศึกษาของ มศว ไปช่วยในการพิจารณาการแจกแท็บเล็ตอีกครั้ง
“ผมอยากเห็นผลการศึกษาแท็บเล็ตของ มศว ได้มีส่วนในการช่วยตัดสินใจ หรือต่อยอดความคิดในนโยบายการแจกแท็บเล็ตของรัฐบาล ผมเชื่อว่า รัฐบาลอาจจะมีข้อมูลอื่นๆ ในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจแจกแท็บเล็ตให้เด็ก ป.1 แต่รัฐบาลไม่ได้บอกให้สาธารณะได้รับรู้ เลยกลายเป็นว่า รัฐบาลไม่ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ เข้ามาประกอบในการประกาศ หรือดำเนินการนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นนโยบายที่มีผลต่องบประมาณ ความคิด ความรู้สึก ประโยชน์และจุดคุ้มทุน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่กำลังเฝ้าติดตามอยู่” ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าว
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อยากเสนอว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำนโยบายแจกแท็บเล็ตให้แก่นิสิต นักศึกษา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการใช้งานมากกว่า หากนิสิต นักศึกษาคนใดมีแท็บเล็ตใช้แล้วก็ไม่ต้องรับ สละสิทธิ์ให้เพื่อนที่ยังไม่มีได้ใช้ และการแจกก็ควรครอบคลุมถึงนิสิต นักศึกษา ที่เรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน เป็นการแจกที่เกิดประโยชน์สูงกว่าการแจกแท็บเล็ตในเด็กๆ