ม.ร.สั่งทุกคณะปรับหลักสูตรรับอาเซียน จัดอบรมภาษาเพื่อนบ้าน-คอมพิวเตอร์ เรียนรู้อาเซียนฟรี ชี้ นศ.ไทยยังตื่นตัวน้อย และอ่อนด้อยภาษา
ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้มีการปรับการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยในทุกสาขาวิชา ทุกคณะอาจารย์ผู้สอน ต้องสอดแทรกความเป็นอาเซียน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความตื่นตัว และเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม กฎระเบียบ ภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะสิ่งเหล่านี้ทุกประเทศมีความแตกต่างกัน และการที่นักศึกษาของ ม.ร.ได้เรียนรู้ จะทำให้พวกเขาเข้าใจ สามารถแลกเปลี่ยน ทำธุรกิจ และทำงานในประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้มีโครงการอบรมภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ฯลฯ ฟรีแก่นักศึกษา เปิดอบรมเทคโนโลยีในการค้นคว้า ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านแก่นักศึกษา โดยนักศึกษาสามารถลงสมัครเรียนได้ทันที
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้แต่ละคณะ จัดอบรม และเพิ่มเติมเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน เช่น คณะนิติศาสตร์ เพิ่มเติมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกฎหมายอาเซียนในแต่ละประเทศ คณะรัฐศาสตร์ เปิดศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทั้งในแง่ของแต่ละประเทศ และในแง่การกระทำรวมกันเป็นส่วนร่วม หรือแม้คณะวิศวกรรมศาสตร์ แม้จะไม่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอาเซียนมาก แต่ก็ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเข้าไปทำงานแก่ประเทศในอาเซียน เพราะเป็นอีกอาชีพหนึ่งใน 7 อาชีพที่สามารถเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนได้ เป็นต้น
“ต้องยอมรับว่า นักศึกษาไทยเมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในประเทศอาเซียน ในเรื่องภาษาอังกฤษ ยังไม่รวมภาษาเพื่อนบ้าน เด็กไทยก็ด้อยกว่าอยู่มาก ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษา ต้องทำหน้าที่กระตุ้น สนับสนุนส่งเสริม โดยสอดแทรกลงไปในหลักสูตร จัดกิจกรรม อบรมเพิ่มเติมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะภาษา เทคโนโลยี และการเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณี กฎหมายของประเทศอาเซียน เรียกได้ว่ารู้เขารู้เรา” ผศ.วุฒิศักดิ์ กล่าว
ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้มีการปรับการเรียนการสอนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยในทุกสาขาวิชา ทุกคณะอาจารย์ผู้สอน ต้องสอดแทรกความเป็นอาเซียน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความตื่นตัว และเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม กฎระเบียบ ภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะสิ่งเหล่านี้ทุกประเทศมีความแตกต่างกัน และการที่นักศึกษาของ ม.ร.ได้เรียนรู้ จะทำให้พวกเขาเข้าใจ สามารถแลกเปลี่ยน ทำธุรกิจ และทำงานในประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้มีโครงการอบรมภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ฯลฯ ฟรีแก่นักศึกษา เปิดอบรมเทคโนโลยีในการค้นคว้า ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านแก่นักศึกษา โดยนักศึกษาสามารถลงสมัครเรียนได้ทันที
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้แต่ละคณะ จัดอบรม และเพิ่มเติมเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน เช่น คณะนิติศาสตร์ เพิ่มเติมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกฎหมายอาเซียนในแต่ละประเทศ คณะรัฐศาสตร์ เปิดศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทั้งในแง่ของแต่ละประเทศ และในแง่การกระทำรวมกันเป็นส่วนร่วม หรือแม้คณะวิศวกรรมศาสตร์ แม้จะไม่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอาเซียนมาก แต่ก็ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเข้าไปทำงานแก่ประเทศในอาเซียน เพราะเป็นอีกอาชีพหนึ่งใน 7 อาชีพที่สามารถเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนได้ เป็นต้น
“ต้องยอมรับว่า นักศึกษาไทยเมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในประเทศอาเซียน ในเรื่องภาษาอังกฤษ ยังไม่รวมภาษาเพื่อนบ้าน เด็กไทยก็ด้อยกว่าอยู่มาก ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษา ต้องทำหน้าที่กระตุ้น สนับสนุนส่งเสริม โดยสอดแทรกลงไปในหลักสูตร จัดกิจกรรม อบรมเพิ่มเติมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะภาษา เทคโนโลยี และการเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณี กฎหมายของประเทศอาเซียน เรียกได้ว่ารู้เขารู้เรา” ผศ.วุฒิศักดิ์ กล่าว