กทม.เตรียมตรวจสอบถนนที่เป็นจุดเสี่ยงอีก 155 จุด บนถนน 65 สาย
นายสวันต์ มีวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ถึงการแก้ไขผิวจราจร และทางเท้าชำรุด ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ได้แจงผลการสำรวจมาครบแล้ว พบว่า มีจุดที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมใน 36 เขต จำนวน 155 จุด บนถนน 65 สาย ซึ่งทางสำนักการโยธาฯได้ทำการสำรวจไปแล้ว 4 จุด โดยเครื่อง GPR ได้แก่ ซ.รามคำแหง 24 ถนนหัวหมาก ปากซอยรามคำแหง 68 และ ถนนพระราม 4 แยกมหานาคขาออก ซึ่งได้ดำเนินการซ่อมแซมไปแล้ว 1 จุด โดยสำนักการโยธาได้วางแนวทางการซ่อมแซมถนน และทางเท้า 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 หากไม่พบโพรงใต้ดินจะดำเนินการยาแนวผิวคอนกรีดที่แตกร้าว ระดับที่ 2 หากพบโพรงไม่ใหญ่มากก็จะใช้ปูนซีเมนต์อัดปิดโพรง ระดับที่ 3 ถ้าหากพบโพรงขนาดใหญ่ ก็จะทำการทุบรื้อ เพื่อหาสาเหตุ ก่อนจะมีการซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ กทม.จะทำการปิดซ่อมแซมถนนบริเวณหน้าอาหารอื้อจือเหลียง และบริเวณแยกมหานาค เป็นพื้นที่ต่อไป คาดว่า การซ่อมเบาในจุดเสี่ยงทั้งหมดหลังจากการสำรวจแล้ว จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ส่วนการซ่อมหนักน่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
นายสวันต์ มีวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ถึงการแก้ไขผิวจราจร และทางเท้าชำรุด ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ได้แจงผลการสำรวจมาครบแล้ว พบว่า มีจุดที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมใน 36 เขต จำนวน 155 จุด บนถนน 65 สาย ซึ่งทางสำนักการโยธาฯได้ทำการสำรวจไปแล้ว 4 จุด โดยเครื่อง GPR ได้แก่ ซ.รามคำแหง 24 ถนนหัวหมาก ปากซอยรามคำแหง 68 และ ถนนพระราม 4 แยกมหานาคขาออก ซึ่งได้ดำเนินการซ่อมแซมไปแล้ว 1 จุด โดยสำนักการโยธาได้วางแนวทางการซ่อมแซมถนน และทางเท้า 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 หากไม่พบโพรงใต้ดินจะดำเนินการยาแนวผิวคอนกรีดที่แตกร้าว ระดับที่ 2 หากพบโพรงไม่ใหญ่มากก็จะใช้ปูนซีเมนต์อัดปิดโพรง ระดับที่ 3 ถ้าหากพบโพรงขนาดใหญ่ ก็จะทำการทุบรื้อ เพื่อหาสาเหตุ ก่อนจะมีการซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ กทม.จะทำการปิดซ่อมแซมถนนบริเวณหน้าอาหารอื้อจือเหลียง และบริเวณแยกมหานาค เป็นพื้นที่ต่อไป คาดว่า การซ่อมเบาในจุดเสี่ยงทั้งหมดหลังจากการสำรวจแล้ว จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ส่วนการซ่อมหนักน่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน