แพทย์ แจงอากาศร้อนจัด ไม่ได้ทำให้เสียชีวิต เช็กสาเหตุเสียชีวิตที่แท้จริง
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าว ว่า อากาศร้อนที่ จ.ลำปาง มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส กระทั่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายล่าสุด ว่า จากการรายงานทางจังหวัด พบว่า ไม่ได้เสียชีวิต จากแดดและอากาศร้อนจัด หญิงที่เสียชีวิตนั้นมีอายุ 54 ปี และขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ว่า มีโรคประจำตัวร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากตามปกตินั้น อากาศร้อนในเมืองไทยไม่ได้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เว้นแต่กรณีมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจและหลอดเลือดถุงลมโป่งพอง หรือบางรายอาจมีโรคประจำตัว ประกอบกับมีอาชีพใช้แรงงาน เช่น กรรมกรก่อสร้าง เกษตรกร ที่ต้องทำงานกลางแดดร้อนจัด ก็อาจส่งผลให้ช็อกได้ ทั้งนี้ สำหรับรายงานล่าสุดมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมด 4 ราย เป็นหญิงอายุ 2 ราย ชาว ต.สบตุ๋ย กับ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง เสียชีวิตจากโรคชรา ส่วนอีกรายเป็นโรคหัวใจวาย
นพ.ภาสกร กล่าวด้วยว่า โดยปกติอากาศร้อนจัดในประเทศไทย จะเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 37-39 องศาเซลเซียส ซึ่งหากอุณหภูมิดังกล่าวเกิดขึ้นนานต่อเนื่อง 3-4 ชั่วโมง ก็ยังถือว่าไม่อันตรายมากนัก แต่หากระยะเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง จะถือว่าเสี่ยงมาก ซึ่งผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับประชาชน ก็คือ ภาวะเพลียแดด ทั้งนี้ สำหรับข้อแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปที่กำลังเผชิญกับสภาวะอากาศร้อนจัดนั้น สิ่งเดียวที่ทำให้สามารถป้องกันสุขภาพได้ดีที่สุด คือ การปรับตัวตามสภาพอากาศ โดยจะต้องดื่มน้ำให้มากๆ และพยายามอยู่ในที่ร่ม และควรงดออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นพิเศษ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กต่ำกว่า 5 ปี 2.ผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง 4.คนอ้วน และหญิงตั้งครรภ์
“ส่วนกรณีผู้ใช้แรงงาน ทั้งกรรมกร เกษตรกร ที่ต้องทำงานกลางแดด แนะนำว่า ควรทำงานเป็นกะช่วงเย็นๆ แดดอ่อนๆ จะดีกว่าเพื่อป้องกันปัญหาภาวะเพลียแดดและเป็นชมได้” นพ.ภาสกร กล่าว
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าว ว่า อากาศร้อนที่ จ.ลำปาง มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส กระทั่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายล่าสุด ว่า จากการรายงานทางจังหวัด พบว่า ไม่ได้เสียชีวิต จากแดดและอากาศร้อนจัด หญิงที่เสียชีวิตนั้นมีอายุ 54 ปี และขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ว่า มีโรคประจำตัวร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากตามปกตินั้น อากาศร้อนในเมืองไทยไม่ได้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต เว้นแต่กรณีมีโรคประจำตัว เช่น หัวใจและหลอดเลือดถุงลมโป่งพอง หรือบางรายอาจมีโรคประจำตัว ประกอบกับมีอาชีพใช้แรงงาน เช่น กรรมกรก่อสร้าง เกษตรกร ที่ต้องทำงานกลางแดดร้อนจัด ก็อาจส่งผลให้ช็อกได้ ทั้งนี้ สำหรับรายงานล่าสุดมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมด 4 ราย เป็นหญิงอายุ 2 ราย ชาว ต.สบตุ๋ย กับ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง เสียชีวิตจากโรคชรา ส่วนอีกรายเป็นโรคหัวใจวาย
นพ.ภาสกร กล่าวด้วยว่า โดยปกติอากาศร้อนจัดในประเทศไทย จะเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 37-39 องศาเซลเซียส ซึ่งหากอุณหภูมิดังกล่าวเกิดขึ้นนานต่อเนื่อง 3-4 ชั่วโมง ก็ยังถือว่าไม่อันตรายมากนัก แต่หากระยะเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง จะถือว่าเสี่ยงมาก ซึ่งผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับประชาชน ก็คือ ภาวะเพลียแดด ทั้งนี้ สำหรับข้อแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปที่กำลังเผชิญกับสภาวะอากาศร้อนจัดนั้น สิ่งเดียวที่ทำให้สามารถป้องกันสุขภาพได้ดีที่สุด คือ การปรับตัวตามสภาพอากาศ โดยจะต้องดื่มน้ำให้มากๆ และพยายามอยู่ในที่ร่ม และควรงดออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นพิเศษ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กต่ำกว่า 5 ปี 2.ผู้สูงอายุ 3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง 4.คนอ้วน และหญิงตั้งครรภ์
“ส่วนกรณีผู้ใช้แรงงาน ทั้งกรรมกร เกษตรกร ที่ต้องทำงานกลางแดด แนะนำว่า ควรทำงานเป็นกะช่วงเย็นๆ แดดอ่อนๆ จะดีกว่าเพื่อป้องกันปัญหาภาวะเพลียแดดและเป็นชมได้” นพ.ภาสกร กล่าว