กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนรอบๆ บ่อขยะ หากเกิดไฟไหม้ส่งกลิ่นและควันพิษ ให้ป้องกันตนเองและครอบครัวใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดปิดปากปิดจมูก ปิดประตูหน้าต่าง และที่สำคัญให้ดูแลเด็กเล็ก คนชราและผู้ป่วย เป็นลำดับแรก พร้อมส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ่อขยะอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขอย่างยั่งยืน
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูร้อนอากาศแห้งทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ โดยเฉพาะบ่อขยะซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและสารพิษ หากเกิดเพลิงไหม้บ่อขยะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ทั้งในเรื่องของควันไฟ และสารพิษจากการเผาไหม้หากบ่อขยะดังกล่าวมีการดำเนินการที่ไม่ถูกวิธีและมีการทิ้งขยะมีพิษหรือสารเคมีต่างๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันตนเองและครอบครัว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีข้อแนะนำ 7 ข้อ สำหรับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบๆ บ่อขยะหากเกิดไฟไหม้ ได้แก่ ข้อแรก ให้ประเมินระยะห่างระหว่างบ้านกับบ่อขยะ หากบ้านอยู่ไกลเกิน 10 กิโลเมตรจากจุดที่เกิดไฟไหม้ ควันไฟอาจจะไปไม่ถึงบ้าน เพราะมีแนวโน้มว่าควันไฟกระจายหายไปในอากาศหมด
ข้อที่ 2 กรณีที่บ้านอยู่ห่างจากบ่อขยะน้อยกว่า 10 กิโลเมตร และถ้ามีลมพัดแรงมาทางทิศที่บ้านตั้งอยู่ให้สังเกตว่าควันหนาหรือเบาบาง หรือสังเกตว่าได้รับกลิ่นผิดปกติหรือไม่ ข้อที่ 3 ถ้ามีควันหนา และมีกลิ่นผิดปกติ ให้หาผ้าชุบน้ำสะอาด บิดให้หมาด หรือใช้หน้ากากอนามัยที่ได้รับแจกมาปิดปากปิดจมูกทันที ในแต่ละบ้านให้ดูแลเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด หัวใจ ความดัน โรคปอด ที่อยู่ในบ้านก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับควันแล้วเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป
ข้อที่ 4 ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่จำเป็น งดบุหรี่ ดื่มน้ำ และล้างมือ ล้างหน้าให้บ่อยขึ้น ใช้ฝาชีปิดอาหารหลังทานเสร็จหรือเก็บให้เรียบร้อย และถ้าฝนตกไม่ควรรองน้ำฝนมาใช้ในช่วงนี้ ข้อที่ 5 ติดตามข่าวสารจากเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอว่าต้องอพยพชั่วคราวหรือไม่ ข้อที่ 6 กรณีชาวบ้านไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่แม้ได้รับข่าวเตือนอพยพ ควรปิดประตูหน้าต่าง ซึ่งจะช่วยลดหรือป้องกันควันได้ โดยไม่อึดอัดมากเกินควร ข้อที่ 7ถ้าจำเป็นต้องอยู่อาศัยในบ้าน ในกรณีมีผู้ป่วย และยังไม่สะดวกเคลื่อนย้าย ให้เตรียมยา อุปกรณ์จำเป็นให้พร้อม และควรรีบไปพบแพทย์ หรือติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ชุมชนควรสร้างเครือข่ายเตือนภัยในชุมชนขึ้น โดยกำหนดอาสาสมัครให้เป็นคนเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเพื่อนบ้านหากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้บ่อขยะขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคประชาชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ่อขยะอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาบ่อขยะ เช่น พัฒนาบ่อขยะให้เป็นแหล่งผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ก๊าซมีเทนและอื่นๆ ที่สร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งมีรูปแบบนำร่องที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้อย่างยั่งยืน
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูร้อนอากาศแห้งทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ โดยเฉพาะบ่อขยะซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและสารพิษ หากเกิดเพลิงไหม้บ่อขยะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ทั้งในเรื่องของควันไฟ และสารพิษจากการเผาไหม้หากบ่อขยะดังกล่าวมีการดำเนินการที่ไม่ถูกวิธีและมีการทิ้งขยะมีพิษหรือสารเคมีต่างๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันตนเองและครอบครัว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีข้อแนะนำ 7 ข้อ สำหรับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบๆ บ่อขยะหากเกิดไฟไหม้ ได้แก่ ข้อแรก ให้ประเมินระยะห่างระหว่างบ้านกับบ่อขยะ หากบ้านอยู่ไกลเกิน 10 กิโลเมตรจากจุดที่เกิดไฟไหม้ ควันไฟอาจจะไปไม่ถึงบ้าน เพราะมีแนวโน้มว่าควันไฟกระจายหายไปในอากาศหมด
ข้อที่ 2 กรณีที่บ้านอยู่ห่างจากบ่อขยะน้อยกว่า 10 กิโลเมตร และถ้ามีลมพัดแรงมาทางทิศที่บ้านตั้งอยู่ให้สังเกตว่าควันหนาหรือเบาบาง หรือสังเกตว่าได้รับกลิ่นผิดปกติหรือไม่ ข้อที่ 3 ถ้ามีควันหนา และมีกลิ่นผิดปกติ ให้หาผ้าชุบน้ำสะอาด บิดให้หมาด หรือใช้หน้ากากอนามัยที่ได้รับแจกมาปิดปากปิดจมูกทันที ในแต่ละบ้านให้ดูแลเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด หัวใจ ความดัน โรคปอด ที่อยู่ในบ้านก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับควันแล้วเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป
ข้อที่ 4 ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่จำเป็น งดบุหรี่ ดื่มน้ำ และล้างมือ ล้างหน้าให้บ่อยขึ้น ใช้ฝาชีปิดอาหารหลังทานเสร็จหรือเก็บให้เรียบร้อย และถ้าฝนตกไม่ควรรองน้ำฝนมาใช้ในช่วงนี้ ข้อที่ 5 ติดตามข่าวสารจากเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอว่าต้องอพยพชั่วคราวหรือไม่ ข้อที่ 6 กรณีชาวบ้านไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่แม้ได้รับข่าวเตือนอพยพ ควรปิดประตูหน้าต่าง ซึ่งจะช่วยลดหรือป้องกันควันได้ โดยไม่อึดอัดมากเกินควร ข้อที่ 7ถ้าจำเป็นต้องอยู่อาศัยในบ้าน ในกรณีมีผู้ป่วย และยังไม่สะดวกเคลื่อนย้าย ให้เตรียมยา อุปกรณ์จำเป็นให้พร้อม และควรรีบไปพบแพทย์ หรือติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ชุมชนควรสร้างเครือข่ายเตือนภัยในชุมชนขึ้น โดยกำหนดอาสาสมัครให้เป็นคนเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเพื่อนบ้านหากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้บ่อขยะขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคประชาชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบ่อขยะอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาบ่อขยะ เช่น พัฒนาบ่อขยะให้เป็นแหล่งผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ก๊าซมีเทนและอื่นๆ ที่สร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งมีรูปแบบนำร่องที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้อย่างยั่งยืน