คาด แอดมิชชัน 55 เด็กหันมาเลือกเรียนทางด้านภาษามากขึ้น รับก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ขณะที่คณะยอดฮิต เช่น แพทย์-นิติศาสตร์-วิศวะ-บัญชี เด็กยังเลือกมากที่สุด เพราะจบแล้วมีงานทำ
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่า สำหรับแนวทางการเลือกเลือกคณะในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (แอดมิชชัน) ประจำปี 2555 ของนักเรียนนั้น ส่วนหนึ่งจะเลือกตามค่านิยม และคณะยอดนิยมเดิมๆ เช่น คณะแพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ ที่ยังอาจจะมีเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่แรงเหมือนที่ผ่านมา แต่ที่น่าจับตามอง คือ หลักสูตรด้านภาษาต่างๆ และหลักสูตรอาเซียนศึกษา ความสัมพันธ์ต่างประเทศ รัฐศาสตร์การปกครอง ธุรกิจการบิน ที่ปีนี้น่าจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ เพราะประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเด็กที่เข้าเรียนในปีนี้จะจบในปี 2558 พอดี รวมถึงความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น ที่ผ่านมา เกิดปัญหาขาดแคลนครู ทำให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และครูประถมวัย ที่สามารถดึงคนเก่งคนดีมาเรียนได้จำนวนมากในปีที่ผ่านมา
“แต่เท่าที่ดูกระแสปีนี้ การเลือกเรียนในสาขาที่มีงานทำแน่นอน อาจจะลดน้อยลง เพราะมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเฉพาะทาง และมีงานรองรับทันทีมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายที่เรียนเพื่อมีงานททำ ก็จะไปเลือกช่องทางนั้นแทน แต่เด็กจะมองเป้าหมายที่อนาคตไกลขึ้น เช่น ดูเรื่องประชาคมอาเซียน ขณะที่มหาวิทยาลัยเอง พยายามนำเสนอหลักสูตรด้านธุรกิจบริการหลักสูตรใหม่ๆ ให้กับเด็ก เช่น เลขานุการแพทย์ ที่ยังมีคนเรียนน้อยแม้จะเป็นอาชีพเฉพาะกลุ่ม แต่ก็สามารถแตกยอดไปทำได้ในหลากหลายอาชีพ แต่ถ้ามองในแง่ที่นั่งในมหาวิทยาลัย ผมคิดว่าเด็กสมัยนี้มีทางเลือกมากขึ้นทั้งมหาวิทยาลัยเปิด และปิดเอกชน จึงไม่น่าจะเกิดปัญหาฆ่าตัวตายเพราะสอบแอดมิชชันไม่ได้เหมือนที่ผ่านมา”นายสุขุม กล่าวและว่า สำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกคณะใดเลย และยังไม่ได้มองถึงอนาคตควรจะต้องเริ่มคิดได้แล้ว เพราะเด็กรุ่นนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่เท่านั้นยังมีการเข้าร่วมกับประชาคมต่างๆ อีกทั่วโลก ดังนั้น จะเลือกตามรุ่นพี่ไม่ได้ ต้องมองกระแสปัจจุบันไปถึงอนาคตด้วย รวมทั้งความชอบของตัวเองด้วยว่าสามารถเรียนได้หรือไม่เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาออกกลางคัน
ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า เด็กปีนี้จะเลือกคณะจาก 3 ปัจจัย คือ สาขาที่มีชื่อเสียง และการมีงานทำ ซึ่งเชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ นิติศาสตร์ น่าจะยังติดโผ แม้อาจจะไม่ใช่คณะที่คนเลือกมากที่สุด ปัจจัยที่ 2 คือ จากความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวของนักเรียนและปัจจัยที่ 3 คือ คะแนนที่เด็กได้ ซึ่งคะแนนที่คนเลือกมากในปีที่ผ่านมา ปีนี้อาจจะมีคนเลือกน้อย เพราะคะแนนสูงขึ้น ขณะที่คณะที่คนไม่นิยมเลือกในปีที่แล้ว คะแนนก็จะต่ำลง เด็กก็อาจจะไปเลือกเรียนคณะนั้นมากขึ้นก็ได้ ดังนั้น การที่เด็กเลือกสาขานั้นๆ จำนวนมาก ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดได้เสมอไปว่า สาขานั้นเป็นสาขายอดนิยมที่เด็กชอบจริงๆ รวมถึงต้องดูจากตัวเลขการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย เช่น นิติศาสตร์ มธ.รับตรงไปแล้ว 300-400 คน ดังนั้น ยอดรับแอดมิชชันจะน้อยลงเพราะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ได้ต่ำ เป็นต้น
“ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นิติศาสตร์ และบัญชี ยังเป็นคณะที่มีคนเลือกเรียนจำนวนมาก เพราะจบแล้วมีงานทำแน่นอน และที่สำคัญ เงินเดือนเยอะ ดังนั้น สองคณะนี้จึงคะแนนค่อนข้างสูงมาโดยตลอด ขณะที่แพทย์มีคนเรียนน้อยลง เพราะช่วงหลังมีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบของแพทย์ รวมถึงมีกรณีการฟ้องร้องมาก ประกอบกับคะแนนค่อนข้างสูง และมีบางคณะในสายสังคมศาสตร์ ที่คนหันมาเรียนมาขึ้น เพราะมีงานทำค่อนข้างแน่นอน เช่น คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นต้น ส่วนด้านวารสารศาสตร์นั้นได้รับความนิยมเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมาแล้ว แต่ปัจจุบันคนนิยมน้อยลงเรื่อยๆ”นายสมคิด กล่าว
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เปิดเผยว่า สำหรับแนวทางการเลือกเลือกคณะในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (แอดมิชชัน) ประจำปี 2555 ของนักเรียนนั้น ส่วนหนึ่งจะเลือกตามค่านิยม และคณะยอดนิยมเดิมๆ เช่น คณะแพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ ที่ยังอาจจะมีเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่แรงเหมือนที่ผ่านมา แต่ที่น่าจับตามอง คือ หลักสูตรด้านภาษาต่างๆ และหลักสูตรอาเซียนศึกษา ความสัมพันธ์ต่างประเทศ รัฐศาสตร์การปกครอง ธุรกิจการบิน ที่ปีนี้น่าจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ เพราะประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเด็กที่เข้าเรียนในปีนี้จะจบในปี 2558 พอดี รวมถึงความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น ที่ผ่านมา เกิดปัญหาขาดแคลนครู ทำให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และครูประถมวัย ที่สามารถดึงคนเก่งคนดีมาเรียนได้จำนวนมากในปีที่ผ่านมา
“แต่เท่าที่ดูกระแสปีนี้ การเลือกเรียนในสาขาที่มีงานทำแน่นอน อาจจะลดน้อยลง เพราะมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเฉพาะทาง และมีงานรองรับทันทีมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายที่เรียนเพื่อมีงานททำ ก็จะไปเลือกช่องทางนั้นแทน แต่เด็กจะมองเป้าหมายที่อนาคตไกลขึ้น เช่น ดูเรื่องประชาคมอาเซียน ขณะที่มหาวิทยาลัยเอง พยายามนำเสนอหลักสูตรด้านธุรกิจบริการหลักสูตรใหม่ๆ ให้กับเด็ก เช่น เลขานุการแพทย์ ที่ยังมีคนเรียนน้อยแม้จะเป็นอาชีพเฉพาะกลุ่ม แต่ก็สามารถแตกยอดไปทำได้ในหลากหลายอาชีพ แต่ถ้ามองในแง่ที่นั่งในมหาวิทยาลัย ผมคิดว่าเด็กสมัยนี้มีทางเลือกมากขึ้นทั้งมหาวิทยาลัยเปิด และปิดเอกชน จึงไม่น่าจะเกิดปัญหาฆ่าตัวตายเพราะสอบแอดมิชชันไม่ได้เหมือนที่ผ่านมา”นายสุขุม กล่าวและว่า สำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกคณะใดเลย และยังไม่ได้มองถึงอนาคตควรจะต้องเริ่มคิดได้แล้ว เพราะเด็กรุ่นนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่เท่านั้นยังมีการเข้าร่วมกับประชาคมต่างๆ อีกทั่วโลก ดังนั้น จะเลือกตามรุ่นพี่ไม่ได้ ต้องมองกระแสปัจจุบันไปถึงอนาคตด้วย รวมทั้งความชอบของตัวเองด้วยว่าสามารถเรียนได้หรือไม่เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาออกกลางคัน
ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า เด็กปีนี้จะเลือกคณะจาก 3 ปัจจัย คือ สาขาที่มีชื่อเสียง และการมีงานทำ ซึ่งเชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ นิติศาสตร์ น่าจะยังติดโผ แม้อาจจะไม่ใช่คณะที่คนเลือกมากที่สุด ปัจจัยที่ 2 คือ จากความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัวของนักเรียนและปัจจัยที่ 3 คือ คะแนนที่เด็กได้ ซึ่งคะแนนที่คนเลือกมากในปีที่ผ่านมา ปีนี้อาจจะมีคนเลือกน้อย เพราะคะแนนสูงขึ้น ขณะที่คณะที่คนไม่นิยมเลือกในปีที่แล้ว คะแนนก็จะต่ำลง เด็กก็อาจจะไปเลือกเรียนคณะนั้นมากขึ้นก็ได้ ดังนั้น การที่เด็กเลือกสาขานั้นๆ จำนวนมาก ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดได้เสมอไปว่า สาขานั้นเป็นสาขายอดนิยมที่เด็กชอบจริงๆ รวมถึงต้องดูจากตัวเลขการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย เช่น นิติศาสตร์ มธ.รับตรงไปแล้ว 300-400 คน ดังนั้น ยอดรับแอดมิชชันจะน้อยลงเพราะเห็นว่าเปอร์เซ็นต์ได้ต่ำ เป็นต้น
“ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นิติศาสตร์ และบัญชี ยังเป็นคณะที่มีคนเลือกเรียนจำนวนมาก เพราะจบแล้วมีงานทำแน่นอน และที่สำคัญ เงินเดือนเยอะ ดังนั้น สองคณะนี้จึงคะแนนค่อนข้างสูงมาโดยตลอด ขณะที่แพทย์มีคนเรียนน้อยลง เพราะช่วงหลังมีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบของแพทย์ รวมถึงมีกรณีการฟ้องร้องมาก ประกอบกับคะแนนค่อนข้างสูง และมีบางคณะในสายสังคมศาสตร์ ที่คนหันมาเรียนมาขึ้น เพราะมีงานทำค่อนข้างแน่นอน เช่น คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นต้น ส่วนด้านวารสารศาสตร์นั้นได้รับความนิยมเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมาแล้ว แต่ปัจจุบันคนนิยมน้อยลงเรื่อยๆ”นายสมคิด กล่าว