“ดุสิตโพล” ชี้ เด็ก ม.ปลาย เซ็ง! ข้อสอบ O-Net-GAT-PATยาก แต่ยังมุ่งมั่นตั้งใจสอบให้ได้ คาดหวังว่า หน่วยงานรับผิดชอบ ออกข้อสอบตรงกับเนื้อหาที่เรียนมาบ้าง
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net การทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT ความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT โดยการสำรวจเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ทั้งนี้ ผลการสำรวจ พบว่า นักเรียนให้ความสำคัญต่อการสอบทางการศึกษาแต่ละระดับแตกต่างกัน ดังนี้ 1.O-Net ระบุว่า ให้ความสำคัญมากร้อยละ 63.40 ค่อนข้างให้ความสำคัญ ร้อยละ28.35 2.GAT ระบุว่า ให้ความสำคัญมากร้อยละ 64.94 ค่อนข้างให้ความสำคัญ 25.53 3.PAT ระบุว่า ให้ความสำคัญมากร้อยละ 59.59 ค่อนข้างให้ความสำคัญ 27.93
ส่วนความเห็นในเรื่องของสาเหตุจากการสอบ O-Net-GAT-PAT แล้วได้คะแนนต่ำ มีดังนี้ 1.O-Net ระบุว่า ข้อสอบยาก/เนื้อหาโรงเรียนสอนกับข้อสอบที่ออกมาไม่ตรงกันร้อยละ 70.29, ตัวเด็กเองไม่เต็มที่กับการสอบ ไม่ตั้งใจอ่านหนังสือ ขาดการเอาใจใส่ ร้อยละ 25.94 2.GAT ระบุว่า คำตอบในข้อสอบมีความเป็นไปได้เกือบทุกข้อ โจทย์หลอกเยอะ ร้อยละ 74.50, ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ การทบทวน และพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียนร้อยละ 22.50 3.PATระบุว่า วิชาที่สอบเฉพาะทางยาก เน้นการวิเคราะห์มากเกินไป ร้อยละ 77.07, ในโรงเรียนเน้นวิธีการสอนแบบท่องจำมากกว่าให้เด็กหัดคิดวิเคราะห์เอง ร้อยละ 20.54
สำหรับความเห็นที่ว่า ควรปฏิบัติอย่างไร ให้การทดสอบ O-Net-GAT-PAT จึงจะได้คะแนนสูง มีดังนี้ 1.O-Net ตัวเด็กเองต้องมีความตั้งใจในการทำข้อสอบ ทบทวนบทเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 69.97, ช่วงใกล้สอบ ทางโรงควรจัดให้มีการติวสำหรับเด็ก ร้อยละ 16.31 2.GATพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาของข้อสอบ ค่อยๆ อ่าน ไม่รีบร้อน ร้อยละ 64.50, โรงเรียนควรปรับวิธีการสอน นำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทั่วไปมาสอนเพิ่มเติม ร้อยละ 19.08 3.PAT ระบุว่า ตัวเด็กเองต้องขยัน ตั้งใจเรียน ตั้งใจอ่านหนังสือ หมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 67.52, ทางโรงเรียนควรเชิญเจ้าหน้าที่ของ สทศ.มาให้คำแนะนำหรือการเตรียมตัวก่อนสอบ ร้อยละ 18.31
ความเห็นที่ว่า โรงเรียนควรปฏิบัติอย่างไร ให้การทดสอบ O-Net-GAT-PAT จึงจะได้คะแนนสูง มีดังนี้ 1.O-Net ทางโรงเรียนจัดให้มีการเรียนพิเศษนอกเหนือจากเวลาเรียนร้อยละ 67.53, ตัวครูเองควรทุมเท สละเวลาให้กับเด็กมากกว่านี้/มีความรู้ความสามารถร้อยละ 25.83 2.GAT ทางโรงเรียนต้องหาข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่เน้นการวิเคราะห์มาให้เด็กทำร้อยละ 66.17, โรงเรียนต้องพัฒนา ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้เข้ากับการสอบร้อยละ 22.89 3.ความถนัดทางวิชาการ (แพท) ทางโรงเรียนจัดให้มีการเรียนพิเศษนอกเหนือจากเวลาเรียนร้อยละ 67.53, เชิญผู้มีความรู้ และมีประสบการณ์ในการสอบมาพูดให้ฟัง เช่น รุ่นพี่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร้อยละ 22.92
ความเห็นที่ว่า กระทรวงศึกษาฯ และ สทศ.ควรปฏิบัติอย่างไร การทดสอบ O-Net-GAT-PAT จึงจะได้คะแนนสูง มีดังนี้ 1.O-Net ออกข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียนร้อยละ 47.63, ควรมีนโยบาย หรือมาตรฐานในการสอบให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 42.32 2.GATออกข้อสอบที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนร้อยละ 59.39 จำนวนข้อสอบโจทย์ที่ถามควรมีความเหมาะสมกับเวลาที่กำหนด ให้เด็กมีเวลาทดทวนข้อสอบร้อยละ 33.67 3.PATออกข้อสอบที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์มากเกินไป ร้อยละ 56.03, การบริการด้านข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่การสอบ ร้อยละ 37.35
ความเห็นสุดท้ายในเรื่องของกรณีที่มีกระแสว่า อยากจะให้คะแนนสอบ O-Net แทนคะแนนสอบปลายภาค ม.3-ม.6 1.ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 73.86 โดยให้เหตุผลว่า ข้อสอบยากกว่าข้อสอบปลายภาค ไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียน และกลัวสอบตก 2.เห็นด้วยร้อยละ 26.14 โดยให้เหตุผลว่า เป็นการสอบระดับชาติที่วัดคุณภาพการศึกษาไทย ทุกคนมีโอกาสและสิทธิเท่าเทียมกัน และ จะได้เตรียมสอบได้ถูก
จากความเห็นดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า การสอบ O-Net-GAT-PAT ยังคงมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียนมา ทำให้เด็กสอบได้คะแนนน้อย หรือไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวเด็กเองยังมีความคิดที่จะมุ่งมั่นตั้งใจเรียน และอยากได้ติวเตอร์ หรือให้ทางโรงเรียนจัดการเรียนพิเศษ และยังอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกข้อสอบตรงกับที่เรียนมา ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และยังสามารถให้เด็กมีเวลาทบทวนข้อสอบได้ อย่างไรก็ตาม เด็กๆ ไม่เห็นด้วยที่จะนำเอาการสอบโอเน็ต ไปแทนคะแนนสอบกลางภาค เนื่องส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ข้อสอบโอเน็ตมีความยากกว่า ไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียน จึงกลัวสอบตกนั่นเอง
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net การทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT ความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT โดยการสำรวจเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ทั้งนี้ ผลการสำรวจ พบว่า นักเรียนให้ความสำคัญต่อการสอบทางการศึกษาแต่ละระดับแตกต่างกัน ดังนี้ 1.O-Net ระบุว่า ให้ความสำคัญมากร้อยละ 63.40 ค่อนข้างให้ความสำคัญ ร้อยละ28.35 2.GAT ระบุว่า ให้ความสำคัญมากร้อยละ 64.94 ค่อนข้างให้ความสำคัญ 25.53 3.PAT ระบุว่า ให้ความสำคัญมากร้อยละ 59.59 ค่อนข้างให้ความสำคัญ 27.93
ส่วนความเห็นในเรื่องของสาเหตุจากการสอบ O-Net-GAT-PAT แล้วได้คะแนนต่ำ มีดังนี้ 1.O-Net ระบุว่า ข้อสอบยาก/เนื้อหาโรงเรียนสอนกับข้อสอบที่ออกมาไม่ตรงกันร้อยละ 70.29, ตัวเด็กเองไม่เต็มที่กับการสอบ ไม่ตั้งใจอ่านหนังสือ ขาดการเอาใจใส่ ร้อยละ 25.94 2.GAT ระบุว่า คำตอบในข้อสอบมีความเป็นไปได้เกือบทุกข้อ โจทย์หลอกเยอะ ร้อยละ 74.50, ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ การทบทวน และพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียนร้อยละ 22.50 3.PATระบุว่า วิชาที่สอบเฉพาะทางยาก เน้นการวิเคราะห์มากเกินไป ร้อยละ 77.07, ในโรงเรียนเน้นวิธีการสอนแบบท่องจำมากกว่าให้เด็กหัดคิดวิเคราะห์เอง ร้อยละ 20.54
สำหรับความเห็นที่ว่า ควรปฏิบัติอย่างไร ให้การทดสอบ O-Net-GAT-PAT จึงจะได้คะแนนสูง มีดังนี้ 1.O-Net ตัวเด็กเองต้องมีความตั้งใจในการทำข้อสอบ ทบทวนบทเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 69.97, ช่วงใกล้สอบ ทางโรงควรจัดให้มีการติวสำหรับเด็ก ร้อยละ 16.31 2.GATพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาของข้อสอบ ค่อยๆ อ่าน ไม่รีบร้อน ร้อยละ 64.50, โรงเรียนควรปรับวิธีการสอน นำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทั่วไปมาสอนเพิ่มเติม ร้อยละ 19.08 3.PAT ระบุว่า ตัวเด็กเองต้องขยัน ตั้งใจเรียน ตั้งใจอ่านหนังสือ หมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 67.52, ทางโรงเรียนควรเชิญเจ้าหน้าที่ของ สทศ.มาให้คำแนะนำหรือการเตรียมตัวก่อนสอบ ร้อยละ 18.31
ความเห็นที่ว่า โรงเรียนควรปฏิบัติอย่างไร ให้การทดสอบ O-Net-GAT-PAT จึงจะได้คะแนนสูง มีดังนี้ 1.O-Net ทางโรงเรียนจัดให้มีการเรียนพิเศษนอกเหนือจากเวลาเรียนร้อยละ 67.53, ตัวครูเองควรทุมเท สละเวลาให้กับเด็กมากกว่านี้/มีความรู้ความสามารถร้อยละ 25.83 2.GAT ทางโรงเรียนต้องหาข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่เน้นการวิเคราะห์มาให้เด็กทำร้อยละ 66.17, โรงเรียนต้องพัฒนา ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้เข้ากับการสอบร้อยละ 22.89 3.ความถนัดทางวิชาการ (แพท) ทางโรงเรียนจัดให้มีการเรียนพิเศษนอกเหนือจากเวลาเรียนร้อยละ 67.53, เชิญผู้มีความรู้ และมีประสบการณ์ในการสอบมาพูดให้ฟัง เช่น รุ่นพี่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร้อยละ 22.92
ความเห็นที่ว่า กระทรวงศึกษาฯ และ สทศ.ควรปฏิบัติอย่างไร การทดสอบ O-Net-GAT-PAT จึงจะได้คะแนนสูง มีดังนี้ 1.O-Net ออกข้อสอบให้ตรงกับเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียนร้อยละ 47.63, ควรมีนโยบาย หรือมาตรฐานในการสอบให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละโรงเรียน ร้อยละ 42.32 2.GATออกข้อสอบที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนร้อยละ 59.39 จำนวนข้อสอบโจทย์ที่ถามควรมีความเหมาะสมกับเวลาที่กำหนด ให้เด็กมีเวลาทดทวนข้อสอบร้อยละ 33.67 3.PATออกข้อสอบที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์มากเกินไป ร้อยละ 56.03, การบริการด้านข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่การสอบ ร้อยละ 37.35
ความเห็นสุดท้ายในเรื่องของกรณีที่มีกระแสว่า อยากจะให้คะแนนสอบ O-Net แทนคะแนนสอบปลายภาค ม.3-ม.6 1.ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 73.86 โดยให้เหตุผลว่า ข้อสอบยากกว่าข้อสอบปลายภาค ไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียน และกลัวสอบตก 2.เห็นด้วยร้อยละ 26.14 โดยให้เหตุผลว่า เป็นการสอบระดับชาติที่วัดคุณภาพการศึกษาไทย ทุกคนมีโอกาสและสิทธิเท่าเทียมกัน และ จะได้เตรียมสอบได้ถูก
จากความเห็นดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า การสอบ O-Net-GAT-PAT ยังคงมีความยุ่งยาก ซับซ้อน ไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียนมา ทำให้เด็กสอบได้คะแนนน้อย หรือไม่ได้ตามเป้าหมาย ตัวเด็กเองยังมีความคิดที่จะมุ่งมั่นตั้งใจเรียน และอยากได้ติวเตอร์ หรือให้ทางโรงเรียนจัดการเรียนพิเศษ และยังอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกข้อสอบตรงกับที่เรียนมา ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และยังสามารถให้เด็กมีเวลาทบทวนข้อสอบได้ อย่างไรก็ตาม เด็กๆ ไม่เห็นด้วยที่จะนำเอาการสอบโอเน็ต ไปแทนคะแนนสอบกลางภาค เนื่องส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ข้อสอบโอเน็ตมีความยากกว่า ไม่ตรงกับเนื้อหาที่เรียน จึงกลัวสอบตกนั่นเอง