“วิทยา” เดินหน้าปรับโฉมหน้าบริการของ รพ.สต.9,750 แห่ง ทั่วประเทศ เป็นศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน ใกล้ใจ มีบริการควบคู่ทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนไทย ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภายในปี 2556 เริ่มในปีนี้ 1,000 แห่ง โดยติดตั้งระบบวิดีโอออนไลน์ ให้ผู้ป่วยได้พบแพทย์เฉพาะทาง ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลใหญ่ ขณะนี้พบหลายแห่งใช้ได้ผลดี
วันนี้ (31 มี.ค.) ที่โรงแรมวรบุรีอโยธยา คอนเวนชั่น รีสอร์ท จ.พระนครศรีอยุธยา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมชี้แจง และมอบนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือรพ.สต.และศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองหรือ ศสม.เพื่อยกระดับความเข้มแข็งของระบบบริการขั้นปฐมภูมิของกระทรวงสาธารณสุข แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกระดับ ผู้แทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง หรือ ศสม.ใน 29 จังหวัดภาคกลาง รวมกว่า 1,000 คน เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพบริการแก่ประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วงทศวรรษที่ 2 ให้มีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ ให้เป็นรูปธรรม ประชาชนสัมผัสบริการได้จริง ภายใน 6 เดือนในปีนี้
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ คือ รพ.สต.ที่มี 9,750 แห่ง ทั่วประเทศ และ ศสม.อีก 228 แห่ง ซึ่งเป็นหน่วยบริการในสังกัดที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยนอนรักษา ตั้งอยู่ในเขตชนบท และชุมชนในเขตเมือง เพื่อให้สถานบริการเหล่านี้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2 โรค คือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยจะเน้นหนักการดูแลส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อลดจำนวนผู้เจ็บป่วย ลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาลใหญ่ให้เป็นผลสำเร็จภายในปี 2556 โดยในปี 2555 นี้ มีเป้าหมายพัฒนารพ.สต.ขนาดใหญ่ 1,000 แห่ง
ในการพัฒนาดังกล่าว จะมีการเพิ่มบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตาภิบาล เพิ่มแพทย์แผนไทยให้บริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะเป็นหมอประจำทุกครัวเรือน และมีแพทย์ที่ปรึกษาประจำ รพ.สต. 1,000 แหง และได้ให้รพ.สต.ทุกแห่งติดตั้งสไกป์ (Skype) ซึ่งเป็นระบบวิดีโอออนไลน์ ใช้เงินลงทุนต่ำมาก เชื่อมโยงระบบกับโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อสามารถปรึกษาและสนทนากับแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลใหญ่ ในรายที่มีปัญหาซับซ้อนแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยอาการผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลใหญ่ จากการตรวจเยี่ยม รพ.สต.หลายแห่งที่ จ.นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี และพระนครศรีอยุธยา พบว่าได้ผลดี ประชาชนพึงพอใจมาก การเสริมบริการด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารนี้ จะทำให้สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนแพทย์ได้
ทั้งนี้ ตั้งเป้าในปี 2555 มุ่งหวังจะลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใหญ่ให้ได้ร้อยละ 50 ของที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มั่นใจว่าภายในปี 2556 จะสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มอัตราการใช้บริการของประชาชนให้ได้ร้อยละ 60 และดูแลเยี่ยมบ้านประชาชนได้ร้อยละ 80 ส่วนผู้ป่วยทั้งโรคทั่วไป หรือโรคเรื้อรังที่ป่วยรุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อน จะมีระบบส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล
วันนี้ (31 มี.ค.) ที่โรงแรมวรบุรีอโยธยา คอนเวนชั่น รีสอร์ท จ.พระนครศรีอยุธยา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมชี้แจง และมอบนโยบายการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือรพ.สต.และศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองหรือ ศสม.เพื่อยกระดับความเข้มแข็งของระบบบริการขั้นปฐมภูมิของกระทรวงสาธารณสุข แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกระดับ ผู้แทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต.และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง หรือ ศสม.ใน 29 จังหวัดภาคกลาง รวมกว่า 1,000 คน เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพบริการแก่ประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วงทศวรรษที่ 2 ให้มีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ ให้เป็นรูปธรรม ประชาชนสัมผัสบริการได้จริง ภายใน 6 เดือนในปีนี้
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ คือ รพ.สต.ที่มี 9,750 แห่ง ทั่วประเทศ และ ศสม.อีก 228 แห่ง ซึ่งเป็นหน่วยบริการในสังกัดที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยนอนรักษา ตั้งอยู่ในเขตชนบท และชุมชนในเขตเมือง เพื่อให้สถานบริการเหล่านี้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2 โรค คือ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยจะเน้นหนักการดูแลส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน เพื่อลดจำนวนผู้เจ็บป่วย ลดความแออัดผู้ป่วยในโรงพยาบาลใหญ่ให้เป็นผลสำเร็จภายในปี 2556 โดยในปี 2555 นี้ มีเป้าหมายพัฒนารพ.สต.ขนาดใหญ่ 1,000 แห่ง
ในการพัฒนาดังกล่าว จะมีการเพิ่มบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตาภิบาล เพิ่มแพทย์แผนไทยให้บริการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะเป็นหมอประจำทุกครัวเรือน และมีแพทย์ที่ปรึกษาประจำ รพ.สต. 1,000 แหง และได้ให้รพ.สต.ทุกแห่งติดตั้งสไกป์ (Skype) ซึ่งเป็นระบบวิดีโอออนไลน์ ใช้เงินลงทุนต่ำมาก เชื่อมโยงระบบกับโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อสามารถปรึกษาและสนทนากับแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลใหญ่ ในรายที่มีปัญหาซับซ้อนแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยอาการผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลใหญ่ จากการตรวจเยี่ยม รพ.สต.หลายแห่งที่ จ.นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี และพระนครศรีอยุธยา พบว่าได้ผลดี ประชาชนพึงพอใจมาก การเสริมบริการด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารนี้ จะทำให้สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนแพทย์ได้
ทั้งนี้ ตั้งเป้าในปี 2555 มุ่งหวังจะลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปใช้บริการที่โรงพยาบาลใหญ่ให้ได้ร้อยละ 50 ของที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มั่นใจว่าภายในปี 2556 จะสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มอัตราการใช้บริการของประชาชนให้ได้ร้อยละ 60 และดูแลเยี่ยมบ้านประชาชนได้ร้อยละ 80 ส่วนผู้ป่วยทั้งโรคทั่วไป หรือโรคเรื้อรังที่ป่วยรุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อน จะมีระบบส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล